ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย 2564

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2564

    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจการของมหาวิทยาลัย จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการด้านต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยในด้านการวิจัย ได้กำหนดระบบและกลไกในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

แผนผังแสดงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

กระบวนงาน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ระบบและกลไก

กิจกรรมและผลการดำเนินงาน

1) การจัดทำคำของบประมาณ

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • คณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • การจัดประชุมรับฟังความเห็นความต้องการ และปัญหา จากกลุ่มเป้าหมาย และส่วนราชการในพื้นที่
  • การประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย
1) คณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
คณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ได้มีการประชุมกำหนดแนวทางการเสนอของบประมาณจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2565 (fundamental fund) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2563 วาระพิเศษ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 โดยให้ความสำคัญในการทำงานวิจัยที่มีลักษณะชุดโครงการขนาดใหญ่ที่มีการบูรณาการงานวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชาการ และได้กำหนดกรอบการวิจัย Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2565 ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ดังนี้ https://drive.google.com/drive/folders/1XfdFD70oBqv9Rao37RcX9w_72bhdBrGQ
 
2) กิจกรรมพัฒนาโจทย์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้ความสำคัญในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ท้องถิ่นและพัฒนาสู่ระดับสากล โดยมีเป้าประสงค์ให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่และยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ได้จริง ซึ่งในระบบการบริหารจัดการงานวิจัย ช่วงต้นน้ำของการพัฒนาโจทย์วิจัยจึงมีความสำคัญที่จะทำให้งานวิจัยนั้น สามารถตอบโจทย์ท้องถิ่นและสามารถไปใช้ประโยชน์ได้จริง 
มหาวิทยาลัยสนับสนุนการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเน้นการสร้างชุดโครงการวิจัยบูรณาการขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาพื้นที่และสนองนโยบายของประเทศ อาทิ
 
2.1) ชุดโครงการ การประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและการทำเกษตรอัจฉริยะสำหรับเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อยอดจากชุดโครงการวิจัย การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการจับคู่อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้แผนงาน มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ Program 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม Platform  4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ  ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอขอทุนวิจัยประจำปีงบประมาณ 2564 ในแผนงานหลักชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ชุดโครงการวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาและผลิตเกษตรกรอัจฉริยะ (smart farmer) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลและติดตามกระบวนการเพาะปลูกผลิตผลทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักการเกษตรอัจฉริยะ (smart agriculture) ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวมถึงอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (internet of things) และหลักการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และมุ่งเน้นไปที่การทำเกษตรอินทรีย์ (organic agriculture) ในการพัฒนาโจทย์วิจัย นักวิจัยได้มีการเก็บข้อมูล จากการประชุมหารือกับหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการในปีแรกเพื่อนำมาต่อยอด ได้แก่ กลุ่ม/เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ  สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ
 
2.2) โครงการ การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่อง ปีที่ 5 และในปีงบประมาณ 2564 ได้เสนอขอทุนวิจัยจาก Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ Program 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อนำแผนที่วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น เพื่อจัดการทุนวัฒนธรรมไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรม พื้นที่วัฒนธรรม  และการบริการทางวัฒนธรรม ในการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการวัฒนธรรมอำเภอเขมราฐ และส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อำเภอเขมราฐ 
การพัฒนาโจทย์วิจัยและจัดทำข้อเสนอการวิจัยนั้น นักวิจัยได้มีการเก็บข้อมูลจากปีที่ผ่านมา รวมทั้งจากการประชุมร่วมวางแผนกับหน่วยงานราชการ อันประกอบด้วย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขมราฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ในอำเภอเขมราฐ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี ซึ่งจะเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินโครงการร่วมในการพัฒนาด้านศิลปะและวัฒนธรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาผู้ประกอบการวัฒนธรรม ตลอดจนการจำหน่ายสินค้าวัฒนธรรม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จะร่วมต่อยอดการพัฒนาพื้นที่เทศบาลตำบลเขมราฐทุกมิติแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งชุมชน ประกอบด้วย ชมรมถ่ายภาพเขมราฐ ชมรมผู้สูงอายุออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอำเภอเขมราฐ ชมรมรัก(ษ์)วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอำเภอเขมราฐ ชมรมร้องเล่นเต้นรำถนนคนเดินเขมราฐ ชมรมศิลปวัฒนธรรมคนสามวัยใส่ใจสุขภาพ ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล
 
2.3) จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยด้านโคเนื้อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาแผนงานวิจัยและเพื่อจัดทำข้อเสนอการวิจัย เพื่อเสนอของบประมาณ ในการพัฒนาด้านโคเนื้อของจังหวัด เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งนักวิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ เกษตรกรกลุ่มโคเนื้อ ปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอาหารสัตว์อำนาจเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ประธานสหกรณ์โค  ได้ร่วมจัดทำข้อเสนอการวิจัยเรื่อง โครงการการพัฒนาธุรกิจโคเนื้อภายใต้บริบทจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเสนอขอทุนวิจัยแผนงานหลักสัตว์เศรษฐกิจเพื่อสร้างขีดความสามารถการแข่งขัน จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) 
3) กิจกรรมการชี้แจงกรอกบการวิจัย/การเสนอของบประมาณ

สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงกรอบการวิจัย รวมทั้งเชิญแหล่งทุนให้ข้อมูลกับนักวิจัยในการเตรียมข้อเสนอการวิจัย ดังนี้

3.1) การประชุมชี้แจงแผนงานเป้าหมายโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อวันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อชี้แจงแผนงานเป้าหมายโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสร้างแผนงานวิจัยใหม่เพื่อเสนอของบประมาณประจำปี 2565โดยมีเอกสารประกอบการประชุม ดังนี้ https://drive.google.com/drive/folders/1gNSAUANt9bjJeLwYyWmMfl6NCi1-mIJv

ภาพกิจกรรม

3.2) การประชุมชี้แจงนโยบายและหลักเกณฑ์การของบประมาณและการจัดสรรงบประมาณการวิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2565ของหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) วันอังคารที่ 3พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ U Place มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยากรโดย โดย  รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ โดย  ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)  ภาพกิจกรรม

2) การดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • พี่เลี้ยง และคณะกรรมการบริหารงานวิจัย
  • การเปิดเวทีชี้แจงโครงการวิจัย และการประชุมกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  • การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัย นักวิจัยที่ดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ ได้มีการลงเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย และรับฟังข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งหน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการวิจัย ดังนี้
 
1) ชุดโครงการเครือข่ายคุณค่าและความเป็นท้องถิ่นสู่การสร้างระบบนิเวศอาหารปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นชุดโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก บพท. ประจำปี 2563 โดยวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์อาหารปลอดภัยเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรจากฐานข้อมูลและองค์ความรู้  การดำเนินงานประกอบด้วย 8 โครงการย่อย ดังนี้  
(1) โครงการการพัฒนาระบบและการประยุกต์ใช้หลักการข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการบริหารจัดการข้อมูลอาหารปลอดภัย 
(2) โครงการการพัฒนาโซ่อุปทานสินค้าเกษตรอินทรีย์สำหรับตลาดปลอดภัย
(4) โครงการการพัฒนาระบบตลาดดิจิทัลและเกษตรอัจฉริยะสำหรับเกษตรอินทรีย์ 
โดยการทำงานวิจัยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการวิจัย ทั้งจากการรับฟังข้อมูล รวมทั้งเป็นผู้ร่วมดำเนินงานวิจัย อาทิ โครงการลำดับที่ (3) (5) (6) (7) และ (8)  [ภาพกิจกรรมกิจกรรมการดำเนินงานวิจัยร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คลิกที่ชื่อโครงการ]
 
2) ชุดโครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการจับคู่อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ เป็นชุดโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก  บพท. ประจำปี 2564 โดยวัตถุประสงค์  เพื่อรวบรวมข้อมูลกำลังการผลิตผลิตผลทางการเกษตร (เกษตรอินทรีย์) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการผลิตผลทางการเกษตร (เกษตรอินทรีย์) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการซื้อขายผลิตผลทางการเกษตร (เกษตรอินทรีย์) 
 

3) การติดตามการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น  ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
  • พี่เลี้ยง และผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัย
การติดตามและการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย
1) กิจกรรมนำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย รอบ 6 เดือน ภายใต้โครงการ “เครือข่ายคุณค่าและความเป็นท้องถิ่นสู่การสร้างระบบนิเวศอาหารปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี” เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.330-16.30 น. ณ ห้องปทุมมาศ ชั้น 5 โรงแรมสุนีย์แกรนด์ โฮเทล แอน คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสรุปผลกการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน และเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน และขยายผลสร้างเครือข่าย เพื่อให้การดำเนินงานมีผลกระทบและเป็นประโยชน์ในวงกว้าง โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและภาคีเครือข่าย นักวิจัย และ นักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย รวมจำนวน 60 คน
 
2) กิจกรรมเวทีนำเสนอความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของชุดโครงการวิจัย “โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการจับคู่อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ” ได้จัดกิจกรรมเวทีนำเสนอความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของชุดโครงการวิจัย วันที่ 8 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี โดยนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการวิจัย เกษตรกรผู้ผลิต หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจากพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, โรงพยาบาล (หน่วยโภชนศาสตร์ รพ.สรรพสิทธิ์ประสงค์, รพ. 50 พรรษาฯ), โรงเรียน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฯ), หอการค้าจังหวัด, สำนักงานเกษตรจังหวัด, สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด, สำนักงานพาณิชย์จังหวัด, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลสาขาภาคอีสานตอนล่าง,บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี อุบลฯ, ชมรมผู้ประกอบการ 2001 อุบลฯ, เครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ PGS อุบลฯ, โครงการกินสบายใจ, สำนักงานสภาเกษตรกร ศรีสะเกษ และเกษตรกรอินทรีย์
 
3) การประชุมนำเสนอรายงานความก้าวหน้าด้วยวาจา /นำเสนอผลการดำเนินงานด้วยวาจาโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณเงินรายได้ 2 ครั้ง ดังนี้
     3.1) วันที่ 7 ต.ค. 2563 ณ ห้องประชุมบุณฑริก มีโครงการที่ได้รับทุนวิจัยสถาบันมานำเสนอผลการดำเนินงาน 2 โครงการ 
     3.2) วันที่ 10 พ.ย.2563 ณ ห้องประชุมบุณฑริก มีโครงการที่ได้รับทุนวิจัยสร้างนวัตกรรมมานำเสนอความก้าวหน้า 3 แผนงาน
ภาพกิจกรรม และภาพข่าว เผยแพร่ทางเว็บเพจ
วันที่ 10  พ.ย. 2563
 
 

4) การประเมินผลการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  • การรายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัย 
1) มีระบบการประเมินรายงานการวิจัย โดยจัดส่งรายงานการวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินก่อนจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
 
2) เผยแพร่ผลงานวิจัยโดยใช้สื่อออนไลน์ 
ทางเว็บไซต์  http://www.ubu.ac.th/web/research
แฟนเพจ (Fanpage) Research UBU และ ABC Research
Youtube เช่น  https://www.youtube.com/watch?v=mZWbebM03nI&feature=youtu.be  เป็นต้น

5.ขยายผล ต่อยอดการนำไปผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม
  • นักวิจัย
  • ภาคเอกชน

 

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้การพัฒนาพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตในโรงเรือนจนประสบผลสำเร็จจากบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายสาขาที่เกี่ยงข้องกับการผลิตพืช จึงได้ดำเนินโครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกและการแปรรูปมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์สำหรับชุมชนฐานราก จังหวัดอุบลราชธานี” เป็นการดำเนินงานเพื่อนำผลงานวิจัยมาถ่ายทอดความรู้ และส่งเสริมทักษะอาชีพการปลูกมะเขือเทศเชอรี่ในโรงเรือน และนอกโรงเรือน การแปรรูปเบื้องตันอันเป็นการก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเกษตรกร ประชาชนที่ร่วมโครงการมีอาชีพเสริม สามารถสร้างรายได้เพิ่มต่อเดือน ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท โดยโครงการมีการจัดฝึกอบรมการปลูกและแปรรูปมะเขือเทศอินทรีย์ ระยะเวลาการอบรม จำนวน 4 วัน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชุมชนฐานรากที่สนใจด้านการเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี  40 คน แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ดำเนินการอบรมระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2563 อบรมการปลูกมะเขือเทศเชอรีอินทรีย์ในสภาพโรงเรือน และ 12-13 กันยายน 2563 อบรมการแปรรูปและการตลาดมะเขือเทศเชอรีอินทรีย์ โดยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ serial bar นูกัด และมะเขือเทศเชอรีอบแห้ง
ภาพกิจกรรม เผยแพร่ทางเว็บไซต์