ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย 2566

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2566         

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจการของมหาวิทยาลัย จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการด้านต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยในด้านการวิจัย ได้กำหนดระบบและกลไกในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

 

แผนผังแสดงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กระบวนงาน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ระบบและกลไก

กิจกรรมและผลการดำเนินงาน

1) การจัดทำคำของบประมาณ

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • คณะกรรมการบริหารโครงการวิจัยและบริการวิชาการ 
  • การจัดประชุมหรือหารือเพื่อรับฟังความเห็นความต้องการ และปัญหา จากกลุ่มเป้าหมาย และส่วนราชการในพื้นที่
  • การประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย
1) คณะกรรมการบริหารโครงการวิจัยและบริการวิชาการ 
ก.บ.ว. (เดิม คณะกรรมการบริหารงานวิจัย) มีการประชุมกำหนดแนวทางการเสนอของบประมาณจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการจัดทำคำของบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 โดยยังคงให้ความสำคัญกับกรอบการวิจัย (ปี 2564-2567) เพื่อความต่อเนื่องและผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้ง ให้ความสำคัญในการทำงานวิจัยที่มีลักษณะชุดโครงการขนาดใหญ่ที่มีการบูรณาการงานวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชาการ และในลักษณะการทำงานแบบแผนงาน และได้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กรอบการวิจัย เพื่อเสนอของบประมาณ Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยมีกรอบการวิจัย ดังนี้
 
2) การรับฟังความเห็น ความต้องการและปัญหาจากกลุ่มเป้าหมาย/ส่วนราชการในพื้นที่  
มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารของมหาวิทยาลัย รองคณบดีที่กำกับดูแลงานด้านการวิจัย การบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ผู้บริหารและผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่งรอบมหาวิทยาลัย ได้แก่ เทศบาลตำบลเมืองศรีไค เทศบาลตำบลธาตุ เทศบาลตำบลคำขวางและองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีหน้าที่ เสนอกิจกรรม โครงการ เพื่อผลักดันให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น  ติดตามให้คำปรึกษา แนะนำ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการให้เกิดการนำความรู้ไปปฏิบัติ ประเมินผลกระทบการดำเนินงาน 
ซึ่งคณะกรรมการมีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 และ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 ซึ่งในการประชุมได้มีการเสนอข้อมูลปัญหาความต้องการของพื้นที่ในการพัฒนา โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ (1) การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก (2) การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดี (3) การจัดการสิ่งแวดล้อม และ (4) การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประชุม มหาวิทยาลัยจะนำมาพิจารณาเพื่อจัดทำโครงการต่อไป
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00008f2023041116504317.pdf
 
3) กิจกรรมการชี้แจงกรอบการวิจัย/การเสนอของบประมาณ
     มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรม  Research café เพื่อสร้างบรรยากาศด้านการวิจัย และเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการวิจัย ในปีงบประมาณ 2566 ไตรมาสที่ 2 ได้จัดกิจกรรม 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่  8 มีนาคม 2566 มีการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและการเตรียมนักวิจัยเพื่อเสนอขอทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรม 2567 จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง (เช้า) คือ เส้นทางสู่แวดวงวิจัย กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ใหม่ที่บรรจุในปีงบประมาณ 2564 - 2565 และนักวิจัยที่สนใจ โดยมีการชี้แจงและการเตรียมความพร้อมสำหรับอาจารย์ใหม่ในบทบาทของนักวิจัย 
 
และช่วงที่ 2 (บ่าย) คือ การเตรียมเสนอขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2566-2567 และการประชุมพัฒนาข้อเสนอโครงการ เพื่อเสนอขอทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรม 2567 จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
 
4) การประเมินข้อเสนอโครงการ สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ ใช้ระบบผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินข้อเสนอโครงการก่อนจัดส่งคำของบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (กองทุน ววน.) และประเมินข้อเสนอโครงการทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 (เงินรายได้มหาวิทยาลัย) 
 

2) การดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • พี่เลี้ยง และคณะกรรมการบริหารงานวิจัย
  • การเปิดเวทีชี้แจงโครงการวิจัย และการประชุมกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  • การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
 
      การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัย นักวิจัยที่ดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ ได้มีการลงเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย และรับฟังข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งหน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการวิจัย ดังนี้

      โครงการการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จัดกิจกรรมปิดโครงการ "ฟื้นใจเมืองเขมราฐ" ต้นแบบการดำเนินงานพันธกิจที่ 4 การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2566 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการทำงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินโครงการเป็นอย่างดียิ่ง และเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 – 2565 ณ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในพื้นที่อำเภอเขมราฐ เป็นการใช้ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้สามารถยกระดับคุณค่าทุนทางวัฒนธรรม นำไปสู่มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และเป็นต้นแบบการดำเนินงานพันธกิจที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอีกด้านหนึ่ง
ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/news.php?id=22092
 

3) การติดตามการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น  ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
  • พี่เลี้ยง และผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัย

     การติดตามและการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย

     1. สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ จัดประชุมร่วมกับนักวิจัยที่ได้รับทุน Fundamental Fund (FF) ปีงบประมาณ 2566 เพื่อชี้แจงแผนการทำงาน และสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน ในวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมพิบูลมังสาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
     2. จัดการประชุมนำเสนอผลการดำเนินโครงการวิจัย “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี” ภายใต้กรอบการวิจัย "มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยนำเสนอ (ร่าง) รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ต่อผู้บริหาร บพท. และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมบุณฑริก ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี
ภาพกิจกรรม 
 

4) การประเมินผลการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  • การรายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัย 

1. มีระบบการประเมินรายงานการวิจัย โดยจัดส่งรายงานการวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินก่อนจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

2. เผยแพร่ผลงานวิจัยโดยใช้สื่อออนไลน์ ทางเว็บไซต์  http://www.ubu.ac.th/web/research

แฟนเพจ (Fanpage) Research UBU และ ABC Research

5.ขยายผล ต่อยอดการนำไปผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม
  • นักวิจัย
  • ภาคเอกชน

 

 
     มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการวิจัยพัฒนา และนำองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาไปต่อยอดและนำไปใช้ประโยชน์ เช่น 
 
     1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือน” ภายใต้โครงการ “การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อการผลิตมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์เกรดพรีเมี่ยมในโรงเรือนของจังหวัดอุบลราชธานี” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้แก่ เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เมื่อวันที่ 21 – 22 ตุลาคม 2565 โดยมี ผศ.ดร.ทินน์  พรหมโชติ คณะเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ
ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/news.php?id=21710
 
     2. การอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ  ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน และผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เข้าร่วมโครงการ  เพื่อส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนทำให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชนเพิ่มศักยภาพของคนในท้องถิ่นและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความรู้ทักษะทั้งด้านวิชาการ ประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงด้วยเกม Augmented Reality (AR) &Virtual Reality (VR) เพื่อส่งเสริมความจำ ป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ  การใช้แอปพลิเคชันประเมินคัดกรองภาวะสมองเสื่อม หลักในการดูแลและบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่บ้านและในชุมชน ระหว่างวันที่  26-27 ธันวาคม 2565 ณ ชมรมผู้สูงอายุ กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานีและชมรมผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
โดยมี ผศ.สาวิตรี สิงหาด คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ 
ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/news.php?id=22055
 
     3. โครงการวิจัย “การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการทำเทียนจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างมูลค่าใหม่บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ย่านเมืองเก่า” ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย ผศ.กมลพร นครชัยกุล จัดอบรมยกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่ย่านเมืองเก่า เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานศิลปวัฒนธรรมของชุมชน  ระหว่างวันที่ 24 - 25 ธันวาคม 2565 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี หัวข้อการอบรมประกอบไปด้วย   
1) Content marketing: หลักการพัฒนา Content Marketing และการสร้างและพัฒนาเนื้อหาประเภทรูปภาพและวีดิโอเพื่อการตลาด  
2) Story telling: การเล่าเรื่องอย่างไรให้ได้เงินล้าน และการเล่าเรื่องเพื่อการสร้างแบรนด์ 
3) Shopee: เทคนิคการขายผ่าน Shopee และการสร้างเนื้อหาให้โดนใจผู้ซื้อใน Shopee 
4) Tiktok: ขายอย่างไรให้ได้วันละล้านผ่าน Tiktok และเทคนิคการขายผ่าน Tiktok 
ภาพกิจกรรม