ชื่อผลงาน : การแปลงข้อมูลสู่สื่อในรูปแบบ Infographic
ผู้ถ่ายทอด : ชูไท วอทอง | ถ่ายทอด : วันที่ 17 กันยายน 2563 |
1. บทนำ
ในยุคการสื่อสารออนไลน์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาล การสื่อสารด้วยภาพมีบทบาทอย่างมากต่อการรับรู้และความเข้าใจของผู้คนปัจจุบัน โดยเฉพาะสื่อ Infographicที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการนำข้อมูลจำนวนมากมาทำให้เข้าใจได้ง่าย และสื่อออกมาในลักษณะของภาพกราฟิก ที่นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังเข้าใจได้ง่ายในเวลาอันรวดเร็ว และเหมาะสำหรับการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนจำนวนมากในเวลาอันจำกัด สำหรับองค์ความรู้ด้านการสร้างสื่อ Infographicเกิดจากการสร้างสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์แก่นักศึกษา เนื่องจากการประชาสัมพันธ์แบบเดิม ประกอบด้วยตัวอักษรและข้อความเป็นหลัก สื่อบางประเภท มีเนื้อหามาก เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจยาก และไม่ตอบโจทย์ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้คนในยุคปัจจุบัน ดังนั้น หากสามารถนำข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ มาสื่อสารในรูปแบบ Infographicได้ จะช่วยให้คณาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างง่าย ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Infographicย่อมาจาก “Information+ Graphic” หมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศในลักษณะของข้อมูลและกราฟิกที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลารวดเร็วและชัดเจน เพื่อนำเสนอข่าวสารข้อมูล ขั้นตอนการดำเนินงาน (How to) ให้ความรู้ ข้อบังคับ กฎระเบียน ตลอดจนการประกาศแจ้งเตือนสื่อ Infographic จึงมีอิทธิพลมากในการประชาสัมพันธ์และการนำเสนอ ประโยชน์ของ Infographicสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าถึง เข้าใจเนื้อหาสาระที่ต้องการสื่อได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น เนื่องจากข้อมูล Infographicผ่านการสรุป เรียบเรียงให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และนำเสนอข้อมูลปริมาณมาก ด้วยแผนภาพภาพเดียว ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่าน เข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์
2. กระบวนการแปลงข้อมูลและการสร้างสื่อ Infographic
2.1 ทำความเข้าใจจุดประสงค์ในการทำ
ในการทำ Infographic เป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้จัดทำจะต้องเข้าใจจุดประสงค์ในการจัดทำ ซึ่งควรตอบคำถามนี้ให้ได้ว่า ทำไมต้องทำ ทำเพื่ออะไร และนำเสนอที่ไหน เพื่อเป็นการวางขอบเขตให้กับรูปแบบหรือหน้าตา Infographic ที่นำเสนอออกมา เช่น เพื่ออธิบายข้อมูลสถิติ เพื่ออธิบายวิธีการ หรือแนวปฏิบัติ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ต่างๆ เป็นต้น
2.2 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การรับรู้เนื้อหาแตกต่างกันด้วย ดังนั้น ผู้จัดทำจึงต้องออกแบบหน้าตา Infographic ให้เหมาะสมกับการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษา อาจจะต้องออกแบบให้มีสีสันที่ดึงดูดใจ ให้สายตาอยู่กับเนื้อหาได้นาน แต่ถ้าหากเป็นอาจารย์ อาจจะต้องออกแบบให้มีความเป็นวิชาการ เนื้อหาเข้าใจง่าย กระชับ เป็นต้น
2.3 กำหนดหัวข้อ รวบรวมข้อมูล และจัดลำดับข้อมูล
เมื่อทราบจุดประสงค์ในการนำเสนอ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการกำหนดหัวข้อที่ต้องการจะนำเสนอ โดยควรกำหนดหัวข้อที่จำเป็นเท่านั้น และตัดส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่จำเป็นออก เนื่องจากจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจว่าต้องการเน้นในส่วนใด แล้วจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้แล้ว ลำดับต่อมาคือการนำข้อมูลมาจัดลำดับว่าข้อมูลใดควรนำเสนอ ก่อน หลัง ข้อมูลใดสำคัญที่สุด และสำคัญรองลงมา หรือข้อมูลใดควรนำเสนอก่อน เพราะมีผลต่อการนำเสนอข้อมูลในส่วนถัดมา เป็นต้น เพื่อจัดลำดับการรับรู้ของผู้อ่านให้เข้าใจง่ายที่สุด
2.4 ออกแบบและจัดทำ
1) การค้นหาวิธีการเล่าเรื่อง
การทำ Infographic ที่ดี จะต้องสร้างเนื้อเรื่อง (Story) หรือค้นหาวิธีการนำเสนอข้อมูลเหล่านั้นให้เข้าใจง่าย และน่าสนใจ เช่น ต้องการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปฏิทินการดำเนินการ อาจจะนำเสนอเป็นแบบ Timeline เพราะเป็นการแสดงกำหนดการตามลำดับเวลาต่างๆ ในแต่ละข่วงเวลานั้น ซึ่งจะทำให้เห็นภาพได้อย่างต่อเนื่อง และเข้าใจได้ง่าย หรือต้องการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบหรือวแนวปฏิบัติต่างๆ อาจจะนำเสนอในรูปแบบ Flowchart แยกให้เห็นองค์ประกอบต่างๆ ได้ชัดเจน และรับรู้ได้อย่างรวดเร็วในภาพเดียว
2) การออกแบบหน้าตาของ Infographic
สิ่งสำคัญของ Infographic คือการแปลงข้อมูลตัวอักษร ออกมาให้เป็นรูปภาพ ดังนั้น ในการออกแบบจึงจำเป็นจะต้องออกแบบภาพให้เข้าใจง่าย และสื่อความหมาย ไม่ควรใช้ภาพที่มีรายละเอียดมากจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้ยากต่อการจดจำ ซึ่งรูปแบบภาพที่เป็นที่นิยม คือการใช้ไอคอน หรือภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน ในการสื่อความหมาย และใช้สีในการออกแบบไม่เยอะจนเกินไป ประมาณ 3-4 สี เท่านั้น
3) เทคนิคการเลือกใช้สีในการสร้างInfographic
การใช้สีในการสร้าง Infographicมีความสําคัญในการออกแบบ Infographic หากใช้สีเยอะเกินไปใน จะทำให้ผู้อ่านเกิดการสับสนและอาจไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ต้องการเน้นในสื่อ Infographicได้ โดยสามารถแบ่งสีได้ดังนี้
2.5 ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย
หลังจากออกแบบ Infographic ฉบับร่างเสร็จแล้ว ให้นำไปให้กลุ่มเป้าหมายพิจารณาเบื้องต้น เพื่อให้ข้อคิดเห็นในรายละเอียด และสะท้อนในกรณีหากมีส่วนไหนที่ควรปรับปรุง เพื่อให้การออกแบบสื่อ Infographicตรงกับความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
2.6 เผยแพร่
ในการเผยแพร่ Infographic ในปัจจุบันก็มักจะนำเสนอในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเข้าถึงได้ง่าย สามารถ Like หรือ Share ข้อมูลไปได้อย่างรวดเร็วผ่านทาง Social Media ดังนั้น เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ควรมีการตั้งชื่อเรื่อง Caption หรือคำโปรยภาพให้น่าสนใจ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาดูเนื้อหา
3. เครื่องมือในการสร้างสื่อ Infographic
3.1 โปรแกรม Canva
เป็นเครื่องมือในการออกแบบที่สามารถออกแบบได้หลากหลายประเภทตั้งแต่ Facebook Coverจนถึงการ์ดแต่งงาน และสามารถใช้ Canva เป็นโปรแกรมทำ Infographic ได้ ซึ่ง Canva จะมีแบบของ Infographic จำนวนมาก และแบบสามารถใช้งานได้ฟรี แต่บางแบบอาจมีค่าใช้จ่าย การใช้งานโปรแกรมดังกล่าวสามารถใช้งานผ่านเว็บไซด์ www.canva.com
3.2 โปรแกรม Piktochart
เป็นเครื่องมือในการสร้าง Infographic และ Presentation โดยมีแบบให้เลือกใช้งานจำนวนมาก และสามารถใช้งานได้ฟรี (แต่จะมีโลโก้ของ Piktochart ติดอยู่) ข้อด้อยของ Piktochart ก็คือไม่สามารถอัพโหลดฟอนต์ของตัวเองขึ้นไปได้ การใช้งานโปรแกรมดังกล่าวสามารถใช้งานผ่านเว็บไซด์ www.piktochart.com
4. รูปภาพ
รูปภาพที่ 1 Model การสร้างสื่อ Infographic
5. สรุป
จะเห็นได้ว่าการใช้ Infographic ในงานประชาสัมพันธ์หรือการนำเสนอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการสรุปข้อมูลในปริมาณมากให้เข้าใจได้ง่าย ผู้อ่านรับรู้ข้อมูลได้ง่าย มีความสวยงาม น่าสนใจ มีการใช้ภาพช่วยให้น่าสนใจและจดจำได้ดี เหมาะสำหรับการให้ข้อมูลในหลากหลายประเภทและสะดวกในการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ
6. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างสื่อ Infographic ให้มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ