ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การสร้างความผูกพันของบุคลากรในองค์กร by พรนเรศ มูลเมืองแสน

ชื่อผลงาน : การสร้างความผูกพันของบุคลากรในองค์กรด้วยการปรับปรุงกระบวนการทํางาน แบบเรียนรู้ร่วมมือ (Collaborative Learning)

                               ผู้ถ่ายทอด : นายพรนเรศ มูลเมืองแสน                          ถ่ายทอด : วันที่ 9 กันยายน 2564
   

1. บทคัดย่อ

     การสร้างความผูกพันของบุคลากรในองค์กรด้วยการปรับปรุงกระบวนการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือ (Collaborative Learning) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างความผูกพันของบุคลากรในสังกัดงานมาตรฐานหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา และ 2) ปรับปรุงกระบวนการทํางานการตรวจสอบรายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2) แบบเรียนรู้ร่วมมือ (Collaborative Learning) ประชากรที่ใช้ดําเนินการ คือ บุคลากรงานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา จํานวน 5 คน และรายละเอียดหลักสูตร (มคอ. 2) จํานวน 18 หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้คือ Fault Three Analysis (FTA) วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) การเรียนรู้แบบร่วมมือ และแบบสอบถามความผูกพันของบุคลากรในองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าความถี่และร้อยละ

     ผลการศึกษาพบว่า การปรับปรุงกระบวนการทํางานการตรวจสอบ มคอ. 2 ด้วยวิธีการลดขั้นตอนและระยะเวลา การดําเนินการโดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA (Plan Do Check Act) ในการแก้ไขปัญหาและบูรณา การการทํางาน(Do) แบบเรียนรู้ร่วมมือ ทําให้ได้ขั้นตอนการตรวจสอบ มคอ. 2 วิธีใหม่ 6 ขั้นตอน ใช้ระยะเวลาตลอด กระบวนการ 5 วันทําการ ซึ่งลดระยะเวลาจากวิธีการเดิม 10 วันทําการ บุคลากรทั้งหมดเห็นด้วยกับสิ่งที่ดําเนินการเป็น วิธีการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือ ซึ่งส่งผลทําให้บุคลากรมีความผูกพันในองค์กรเพิ่มขึ้น

2. บทนํา

     ความผูกพันต่อองค์กร หมายถึง ความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อองค์กรซึ่งมีลักษณะของความสัมพันธ์อันเหนียวแน่น และเป็นไปในทิศทางที่ดีโดยแสดงออกมาในรูปของการกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร เพราะมีความเชื่อมั่นต่อเป้าหมาย ขององค์กร และทุ่มเทด้วยความเต็มใจในการปฏิบัติงานเพื่อองค์กรอันเกิดจากการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร การ มีส่วนร่วมและต้องการเป็นสมาชิกขององค์กร บุคคลที่มีความผูกพันต่อองค์กรจะมีความภาคภูมิใจในองค์กรของตนเองและจะมี สัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานในองค์กร รวมถึงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรเสมอ (ชญานุช วุฒิศักดิ์, 2563) ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งให้ความสําคัญกับการลงทุน เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งแท้จริงแล้วการทําให้ พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรก็คือ การสร้างความสุขและบรรยากาศที่ดีในการทํางาน หากพนักงานรู้ว่าองค์กรกําลัง ดําเนินการไปในทิศทางใดและรับรู้ได้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นกําลังสําคัญสําหรับองค์กร สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะเป็นผลดีต่อ องค์กรในภาพรวมและในระยะยาว (ประไพศรีธรรมวิริยะวงศ, 2562 อ้างถึง Stairs, and Galpin, 2011) ความผูกพันต่อ องค์กรตามแนวคิดของ Steers (ณัชชา ธงชัย, 2563) เป็นแสดงออกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์กรและเต็มใจที่จะ อุทิศกําลังกายและกําลังใจด้วยความเต็มใจ ประกอบด้วย 1) ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยม ขององค์กร 2) ความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อองค์กร 3) ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาไว้ซึ่งความ เป็นสมาชิกขององค์กร

     การพัฒนาบุคลากรเป็นปัจจัยหลักที่ส่งเสริมให้การสร้างองค์กรมีผลการดําเนินงานที่ดีเลิศ (High Performance Organization : HPO) กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรจึงต้องปรับรูปแบบจากเดิมที่มงเนุ่ ้นการอบรมควรมีรูปแบบการเรียนรู้แบบ อื่น ๆ รูปแบบการเรียนรู้ของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพไม่ไดม้ีเพียงแค่การเข้าอบรม แต่ความสําเร็จของการเรียนรู้ต้องขึ้นอยู่กับ การลงมือทําและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลรอบข้างจึงจะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ สนับสนุนให้องคกรเป ์ ็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง การเรียนรู้แบบร่วมมือ หรือ (Collaborative Learning) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ ที่อาศัยกระบวนการทางสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์กันด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างกัน มุ่งเน้นให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการ ตําหนหริ ือวากล ่ ่าวกัน (อาภรณ์ภู่วิทยพันธ์, 2559)

     งานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา มีภารกิจหนึ่งคือ การดําเนินงานด้านหลักสูตรให้ได้ตาม เกณฑ์มาตรฐาน โดยตรวจสอบกํากับหลักสูตรและรายวิชาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและ/หรือกรอบมาตรฐานสาขา รวบรวม/จัดทําวาระเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัย คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยฯ และเสนอสํานักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และสภาวิชาชีพรับทราบให้ความเห็นชอบหลักสูตร ซึ่ง ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีหลักสูตรที่ต้องดําเนินการ จํานวนทั้งสิ้น 41 หลักสูตร จําแนกเป็นหลักสูตร ครบรอบปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร จํานวน 39 และหลักสูตรใหม่ จํานวน 3 หลักสูตร

     ดังนั้น เพื่อเป็นส่งเสริมให้การสร้างองค์กรมีผลการดําเนินงานที่ดีเลิศ (High Performance Organization : HPO) โดยมุ่งเน้นรูปแบบการเรียนรู้ของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การลงมือทําและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลรอบข้าง ซึ่งเป็น รูปแบบการเรียนรู้ที่สนับสนุนให้องค์กรเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง บุคลากรแสดงออกถึงความเชื่อและความรู้สึกที่มีองค์กรใน ทิศทางบวก รวมทั้งความรู้สึกเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับองค์กร มีความเต็มใจที่จะยอมสละความสุขบางส่วนของตน โดยปรารถนา ถึงความสําเร็จและความก้าวหน้าขององค์กรเป็นสําคัญ ประกอบกับเพื่อให้การเตรียมการดําเนินงานด้านหลักสูตรให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการปรับปรุงกระบวนการการตรวจสอบ มคอ.2 โดยบูรณาการทํางานแบบเรียนรู้ ร่วมมือเพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากร

3. วัตถุประสงค์

     3.1 เพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากรในสังกัดงานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา

     3.2 เพื่อปรับปรุงกระบวนการทํางานการตรวจสอบรายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2) แบบเรียนรู้ร่วมมือ (Collaborative Learning)

4.วิธีการ / เครื่องมือ

     การสร้างความผูกพันของบุคลากร งานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตรด้วยการปรับปรุงกระบวนการทํางานตรวจสอบ รายละเอียดหลักสูตร (มคอ. 2) แบบเรียนรู้ร่วมมือ (Collaborative Learning) มีระเบียบวิธีการดําเนินการและเครื่องมือ ดังนี้

     4.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา มีดังนี้

          1) ประชากรที่ใช้ในศึกษาความผูกพัน คือ บุคลากรงานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา จํานวน 5 คน

          2) ประชากรที่ใช้ในศึกษาการปรับปรุงกระบวนการทํางาน คือ รายละเอียดหลักสูตร (มคอ. 2) จํานวน 18 หลักสูตร

     4.2 เครื่องมือที่ใช้ มีดังนี้

          1) Fault Three Analysis (FTA) สําหรับในการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหา

          2) วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA (Plan Do Check Act) สําหรับในการวางแผนหาวิธีแก้ปัญหา ทดลอง ตามแผนที่วางไว้ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน นําข้อผิดพลาดและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข เปรียบเทียบขั้นตอน และระยะเวลาการให้บริการระหว่างวิธีเก่าและวิธีใหม

          3) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) สําหรับใช้เป็นรูปแบบการทํางานในลักษณะการเรียนรู้ ประกอบด้วย การเรียนรู้ที่อาศัยการพึ่งพาซึ่งกันและกัน การมีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงบวก เป็นความสัมพันธ์ที่สมาชิกในกลุ่มต้อง ให้ความช่วยเหลือ ให้คําแนะนําและให้ความร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ภารกิจของกลุ่มที่ได้รับมอบหมายประสบ ความสําเร็จ การเรียนรู้ที่เกิดจากความรับผิดชอบส่วนบุคคล การเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีความเชื่อมั่นและศรัทธากันและกัน การ เรียนรู้ที่เกิดจากการให้แรงเสริมบวก และการเรียนรู้ที่อาศัยผู้สอนเป็นผู้ให้คําแนะนํา การเรียนรู้ที่เกิดจากการแก้ไขปัญหา

          4) แบบสอบถามความผูกพันของบุคลากรในองค์กร โดยประยุกต์ข้อคําถามจากแบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง ลักษณะงานและความผูกพันต่อองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตการทํางาน ของพนักงานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ของณัชชา ธงชัย (2563) ส่วนที่ 3 ด้านความผูกพันต่อองค์กร

     4.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

          1) การบันทึกระยะเวลาดําเนินการตรวจสอบ มคอ. 2 โดยใช้ข้อมูลจากระบบ DMS

          2) ให้บุคลากรประเมินความผูกพันในองค์กรกับประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมกันของ บุคลากรผ่าน Google Form

     4.4 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

          1) วิเคราะห์ขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการทั้งวิธีเก่าและใหม่ ด้วยคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction)

          2) วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรด้วยค่าความถี่ และร้อยละ

          3) วิเคราะห์ความคิดเห็นความผูกพันต่อองค์กรด้วยค่าความถี่และร้อยละ

5.ผลการดําเนินงาน

     5.1 การปรับปรุงกระบวนการทํางานการตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) ได้วิเคราะห์หาสาเหตุของ การตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) มีความล่าช้าใช้เวลาประมาณ 10 วันทําการต่อ 1 หลักสูตร ผู้รับบริการจึง จะสามารถรับเอกสารไปปรับปรุงได้และการให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงของเจ้าหน้าที่ไม่คงที่เนื่องจากไม่มีความเชี่ยวชาญ และเข้าใจคลาดเคลื่อน ทําให้ผู้รับบริการเกิดความสับสน จึงได้ทําการประยุกต์ใช้ Fault Three Analysis (FTA) ในการ วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาได้ 2 ด้านหลัก ดังนี้

          1) การกําหนดแบ่งหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

              ผู้รับผิดชอบมีจํานวนหลักสูตรของแต่ละคณะ/วิทยาลัยที่ครบรอบการปรับปรุงไม่เท่ากัน ทําให้แต่ละปีบุคลากร มีภาระงานในการตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) ไม่เท่ากัน การมีภาระงานที่มากจะต้องใช้ระยะเวลาในการ ดําเนินงาน ส่งผลให้ใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) ล่าช้า

         2) วิธีการดําเนินการตรวจ

             2.1) การจัดลําดับการตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) โดยกําหนดใหผู้้รับผิดชอบคณะ/วิทยาลัย เป็นผู้ตรวจสอบทั้งเล่มก่อน และให้เพื่อนร่วมงานอีก 2 คนตรวจสอบซ้ําทั้งเล่มอีกครั้ง ทําใหใช้ ้ระยะเวลาในการตรวจสอบ เพิ่มขึ้น

            2.2) บุคลากรที่ตรวจสอบซ้ําคนที่ 1 และคนที่ 2 ไม่ค่อยให้ความเห็นเพิ่มเติมหรือแย้งกับสิ่งที่ผู้ที่รับผิดชอบได้ ตรวจคนแรกเนื่องจากไม่ชํานาญพอในเรื่องนั้นๆ หรือไม่กล้าให้ความเห็น ทําให้การให้ข้อเสนอแนะไม่คงที่

     5.2) วิธีการแก้ปัญหาหลังจากประยุกต์ใช้ Fault Three Analysis (FTA) ในการวิเคราะห์หาสาเหตการให ุ ้บริการ ตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) ล่าช้า และบุคลากรงานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร ได้ระดมสมองและเลือก วิธีการแก้ปัญหาจากรากของปัญหา ดังนี้

1) การกําหนดแบ่งหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

     ผู้รับผิดชอบมีจํานวนหลักสูตรของแต่ละคณะ/วิทยาลัยที่ครบรอบการปรับปรุงไม่เท่ากัน ทําให้แต่ละปีบุคลากรมี ภาระงานในการตรวจไม่เท่ากัน การมีภาระงานที่มากจะต้องใช้ระยะเวลาในการดําเนินงานส่งผลให้ใช้ระยะเวลาในการตรวจ ล่าช้า แก้ปัญหาโดยการแบ่งหน้าที่ในการตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) ใหม่ โดยแบ่งหมวดใน มคอ. 2 ออกเป็น 5 กลุ่ม(ฐาน) และมอบหมายบุคลากรแต่ละคนให้รับผิดชอบตรวจสอบในหมวดที่ได้รับมอบหมาย

2) วิธีการดําเนินการตรวจ มคอ 2

     2.1) การกําหนดให้ผู้รับผิดชอบคณะ/วิทยาลัย เป็นผู้ตรวจสอบทั้งเล่มก่อน และให้เพื่อนร่วมงานอีก 2 คน ตรวจสอบซ้ํา ซึ่งเป็นการตรวจสอบ 3 รอบ ทําให้ใช้ระยะเวลาในการตรวจมาก แก้ปัญหาโดย การแบ่งแต่ละหมวดให้บุคลากรที่ รับผิดชอบแต่ละหมวดตรวจสอบก่อน เมื่อผู้รับผิดชอบแต่ละหมวดตรวจสอบเสร็จแล้วจะส่งให้ผู้รับผิดชอบหลักของคณะ/ วิทยาลัยนั้น ๆ เป็นผู้รวบรวมและตรวจซ้ําทั้งเล่มอีกครั้ง

     2.2) บุคลากรที่ตรวจสอบซ้ําไม่ค่อยให้ความเห็นเพิ่มเติมหรือแย้งกับสิ่งที่ผู้ที่รับผิดชอบได้ตรวจ เนื่องจากไม่ ชํานาญพอในเรื่องนั้น ๆ ทําให้การให้ข้อเสนอแนะไม่คงที่ แก้ปัญหาโดยการแบ่งหมวดของ มคอ 2 ในการตรวจสอบและให้ผู้ที่ รับผิดชอบหลักในหมวดนั้น ๆ ดําเนินการตรวจสอบก่อน โดยมีพี่เลี้ยงที่มีความถนัดหรือชํานาญในเรื่อง/หมวดนั้น ๆ เป็นที่ ปรึกษา ทั้งนี้กําหนดให้มีการหมุนเวียนการตรวจสอบแต่ละหมวดทุก 2 เดือน

         หลังจากที่ได้ประยุกต์ใช Fault Three Analysis (FTA) ้ ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการให้บริการตรวจ มคอ.2 ล่าช้าทําให้ได้ทราบรากของปัญหา ซึ่งเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1) การกําหนดแบ่งหนาท้ ี่ผู้รับผิดชอบ และ 2)วิธีการ ดําเนินการตรวจ และได้หาวิธีการแก้ไขปัญหาตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงรายละเอียดเป็นภาพที่ 1

 

     5.3 การนําวิธีการแก้ปัญหาไปทดลองปฏิบัติโดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA (Plan Do Check Act) ในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทํางานการตรวจสอบ มคอ. 2 ซึ่งได้ดําเนินงานแต่ละขั้นตอนตาม แนวทางดังนี้

          1) การวางแผนการปฏิบัติงาน (Plan) ในส่วนของขั้นตอนการวางแผนก่อนการปฏิบัติงานเริ่มจากการ วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยการประยุกต์ใช้ Fault Three Analysis (FTA) ซึ่งทราบว่ารากของปญหาท ั ี่ทําให้การบริการมี ความล่าช้าและการให้ข้อเสนอแนะไม่คงที่เกิดจาก 2 กรณีคือ 1) การกําหนดแบ่งหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และ 2) วิธีการ ดําเนินการตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ 2) บุคลากรในงานจึงได้ระดมสมองและวางแผนขั้นตอน ดังนี้

           1.1) รายงานปัญหาการดําเนินงานตามวิธีเก่าให้ผู้บังคับบัญชาทราบและขออนุญาตปรับปรุง กระบวนการทํางาน

          1.2) สํารวจหลักสูตรที่ครบรอบการปรับปรุงที่ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีการศึกษา 2564

          1.3) จัดทําปฏิทินการดําเนินการตรวจสอบเล่ม มคอ 2 ของแต่ละหลักสูตร โดยสํารวจความ ประสงค์ในการเสนอหลักสูตรต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรฯ ของแต่ละหลักสูตร และจัดลงตารางปฏิทินการ เสนอวาระ

          1.4) กําหนดผู้รับผิดชอบในการประสานและกํากับให้กับแต่ละคณะ/วิทยาลัย ดังนี้คนที่ 1 รับผิดชอบคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์คนที่ 2 รับผิดชอบคณะบริหารศาสตร์คณะศิลปประยุกต์และ สถาปัตยกรรมศาสตร์คณะนิติศาสตร์คณะรัฐศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์คนที่ 3 รับผิดชอบคณะศิลปศาสตร์คนที่ 4 รับผิดชอบคณะวิทยาศาสตร์และคนที่ 5 รับผิดชอบคณะเกษตรศาสตร์และวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

          1.5) แบ่งหมวดในมคอ 2.เพื่อมอบหมายเป็นภาระหน้าที่ในการตรวจสอบออกเป็น 5 กลุ่ม/ฐาน ดังนี้ ฐานที่ 1 ประกอบด้วย หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ฐานที่ 2 ประกอบด้วย หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดําเนินการและ โครงสร้างของหลักสูตร(ตั้งแต่ระบบการจัดการศึกษาจนถึงแผนการศึกษา) ฐานที่ 3 ประกอบด้วย หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดําเนินการและ โครงสร้างของหลักสูตร (ตั้งแต่คําอธิบายรายวิชาจนถึงข้อกําหนดเกี่ยวกับการทําวิจัย) ฐานที่ 4 ประกอบด้วย หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา และหมวดที่ 6 การพัฒนาอาจารย์ ฐานที่ 5 ประกอบด้วย หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร และหมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของหลักสูตร

          1.6) กําหนดผู้รับผิดชอบแต่ละฐานโดยการจับฉลากและกําหนดระยะเวลาในการตรวจสอบ ประจําฐาน ๆ ละ 2 เดือนแล้วหมุนเวียนตรวจสอบฐานอื่น

          1.7) มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการตรวจสอบ มคอ.2 ในหมวดต่าง ๆ โดยพิจารณาผู้ที่มี ความชํานาญหรือถนัดในแต่ละเรื่องเป็นพี่เลี้ยงทําหน้าที่ให้คําปรึกษาแนะนําและกํากับดูแล

          1.8) จัดทําคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction) วิธีใหม่ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้

               (ก) ผู้รับบริการ (คณะ) เสนอหลักสูตรต่องานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการ การศึกษาเพื่อตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ 2) ก่อนเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการมหาวิทยาลัย

               (ข) ผู้ที่รับผิดชอบประจําคณะ/วิทยาลัย ดําเนินการแบ่งเอกสาร มคอ 2 ออกเป็นฐาน และมอบให้กับผู้รับผิดชอบแต่ละฐาน โดยนําไฟล์ต้นฉบับแชร์บน MS TEAM เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 

               (ค) ผู้รับผิดชอบแต่ละหมวดตรวจสอบความสมบูรณ์ความถูกต้องของรูปแบบและ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่คณะกรรมการพิจารณาและกลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัย พิจารณา

               (ง) ผู้รับผิดชอบประจําคณะ/วิทยาลัยรวบรวบการตรวจสอบจากผู้รับผิดชอบแต่ละฐาน แล้วดําเนินตรวจสอบซ้ําอีกครั้ง 

              (จ) เสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาตรวจสอบความเรียบร้อยสมบูรณ์และให้ข้อเสนอแนะ

              (ฉ) ผู้รับบริการรับเอกสารไปดําเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ

          1.9) กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานร่วมกัน และทดลอง ปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถทํางานแทนกันได้หากผู้ปฏิบัติงานหลักไม่อยู่ โดยกําหนดมอบหมายผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน

     2) การลงมือปฏิบัติตามแผนที่กําหนดไว้ (Do) เมื่อกําหนดขั้นตอนการให้บริการตรวจสอบ มคอ. 2 วิธีใหม่ จํานวน 6 ขั้นตอนแล้วให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานทุกคนได้เรียนรู้การตรวจสอบ มคอ. 2 แบบร่วมมือ ดังนี้

          2.1) ให้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบในแต่ละหมวดโดยที่อาศัยการพึ่งพาซึ่งกันและกันกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งต้อง ให้ความช่วยเหลือ ให้คําแนะนําและให้ความร่วมมือกัน เพื่อให้การตรวจสอบบรรลุเป้าหมายตามที่กําหนด

          2.2) ให้นําความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน

          2.3) ให้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบในแต่ละหมวดและให้ความร่วมมือในการทํางานตามเป้าหมายที่ได้รับด้วย ความเลื่อมใส ศรัทธาและเชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่น

          2.4) ให้แรงเสริมทางบวกซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นคําชม การเคารพยกย่อง หรือการให้รางวัลกับ พฤติกรรมที่ดีและความสําเร็จที่เพื่อนร่วมงานทําได้

          2.5) ให้หัวหน้างานทําหน้าที่เป็นผู้ให้คําแนะนํา ให้คําปรึกษาและให้แนวทางเป้าหมายที่ต้องการจาก บุคลากร

          2.6) ให้นําปัญหาของผู้ปฏิบัติงานมาอภิปรายพูดคุยและหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีหัวหน้างานทําหน้าที่ กระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานร่วมแสดงความคิดเห็น ฝึกการรับฟังและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกนั

     โดยทดลองปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้สามารถทํางานแทนกันได้และนําวิธีการให้บริการตามวิธีใหม่ทดลองใช้ งานจริงกับผู้รับบริการ

     3) การติดตามประเมินผล (Check) หลังจากที่ได้กําหนดขั้นตอนการให้บริการตรวจสอบ มคอ. 2 วิธีใหม่ และจัดทําคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction) ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบร่วมมือและลงมือ ปฏิบัติงานร่วมกันแล้ว หลังจากนั้นได้เริ่มนําวิธีการใหม่ทดลองใช้งานจริงกับผู้รับบริการ แล้วติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติงานสรุปได้ดังนี้

          3.1) ผู้ปฏิบัติงานทุกคนให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรให้ฐาน 2 เพิ่มขอบเขตในการตรวจสอบ โดยใหร้ับผิดชอบตรวจภาคผนวกเพิ่มเติม เนื่องจากข้อมูลมีความเชื่อมโยงกัน

          3.2) ทดลองใช้วิธีการให้บริการตรวจสอบ มคอ. 2 วิธีใหม่กับผู้รับบริการจริง และจับเวลาในการ ให้บริการตลอด 6 ขั้นตอน สามารถใช้ระยะเวลาในการให้บริการไม่เกิน 5 วันทําการ

          3.3) นําเสนอขั้นตอนวิธีการให้บริการใหม่ให้ผู้บังคับบัญชาทราบและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทํางานให้ดีขึ้น

     4) การปรับปรุงการแก้ไข (Check) หลังจากที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้เรียนรู้และทดลองการปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานได้รับทราบ และมีข้อเสนอแนะให้ผู้รับผิดชอบประจําคณะ/วิทยาลัยบันทึกรายละเอียดข้อเสนอแนะ ของผู้บังคับบัญชาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบต่อไป สรุปเปรียบเทียบกระบวนการทํางานตามวิธีใหม่ 6 ขั้นตอน โดยใช้ ระยะเวลาตลอดกระบวนการรวม 5 วันทําการ จากวิธีการเดิม มี 7 ขั้นตอน ใช้ระยะเวลาตลอดกระบวนการรวม 10 วันทํา การ รายละเอียดดังตารางที่ 1 

ตารางที่ 1 เปรียเทียบขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการตรวจสอบ มคอ. 2 ระหว่างวิธีเดิมกับวิธีใหม่ 

     5.4 ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือของบุคลากร

          การปรับปรุงกระบวนการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือได้บูรณาการการเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ การเรียนรู้แบบร่วมมือกับการทํางาน ผู้วิจัยได้ศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทํางานของบุคลากรมีลักษณะการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ โดยพบว่าบุคลากรทั้งหมดเห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลจากวิธีการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือ รายละเอียดตามตาราง ที่ 2

ตารางที่ 2 ค่าความถี่ ร้อยละระดับความคิดเห็นต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมกันของบุคลการ

     5.5 ผลการวิเคราะห์ความผูกพันของบุคลากรในองค์กร

          ผู้วิจัยได้ดําเนินการศึกษาความผูกพันของบุคลากรใน 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าและ การยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร (2) ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อองค์กรและ (3) ด้าน ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกขององค์กร ภายหลังที่มีการปรับปรุงกระบวนการทํางาน แบบเรียนรู้ร่วมมือ พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ร้อยละ 75 มีความผูกพันกับองค์กรเพิ่มขึ้น รายละเอียดดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ค่าความถี่ ร้อยละระดับความคิดเห็นความผูกพันต่อองค์กร

6.สรุป

     การปรับปรุงกระบวนการทํางานการตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) โดยวิธีการลดขั้นตอนและ ระยะเวลาการดําเนินการโดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA (Plan Do Check Act) ในการแก้ไขปัญหา และบูรณาการการทํางาน(Do) แบบเรียนรู้ร่วมมือ ทําให้ได้ขั้นตอนการตรวจสอบ มคอ. 2 วิธีใหม่ 6 ขั้นตอน ใช้ระยะเวลา ตลอดกระบวนการจํานวน 5 วันทําการ ซึ่งลดระยะเวลาจากวิธีการเดิมที่ใช้ระยะเวลาจํานวน 10 วันทําการ บุคลากรทั้งหมด เห็นด้วยกับสิ่งที่ดําเนินการเป็นการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือ และการปรับปรุงกระบวนการทํางานโดยบูรณาการวิธีการทํางาน แบบเรียนรู้ร่วมมือนั้นได้สร้างความผูกพันของบุคลากรในองค์กรให้เพิ่มขึ้นได้

7. ความสามารถในการนําผลงานไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดเพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานอื่นไปใช้ ประโยชน์ได้ในวงกว้าง (impact)

     วิธีการสร้างความผูกพันของบุคลากรในองค์กรด้วยการปรับปรุงกระบวนการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือ (Collaborative Learning) ดังนี้

          7.1 การวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทํางานโดยบุคลากรมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สาเหตุและ วิธีการแก้ไขปัญหา 

          7.2 การนําวิธีการแก้ปัญหาไปทดลองปฏิบัติโดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA (Plan Do Check Act) โดยให้บุคลากรงานระดมสมองร่วมกันในการทํางาน

          7.3 กําหนดแนวทางการการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือ ดังนี้

                1) ให้บุคลากรเรียนรู้วิธีการทํางานโดยที่อาศัยการพึ่งพาซึ่งกันและกันกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งต้องให้ความ ช่วยเหลือ ให้คําแนะนําและให้ความร่วมมือกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนด

                2) ให้นําความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน

               3) ให้ความร่วมมือในการทํางานตามเป้าหมายที่ได้รับด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาและเชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่น

               4) ให้แรงเสริมทางบวกซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นคําชม การเคารพยกย่อง หรือการให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดี และความสําเร็จที่เพื่อนร่วมงานทําได้

               5) ผู้บังคับบัญชา/หัวหน้างานทําหน้าที่เป็นผู้ให้คําแนะนํา ให้คําปรึกษาและให้แนวทางเป้าหมายที่ต้องการ จากบุคลากร

              6) นําปัญหาของผู้ปฏิบัติงานมาอภิปรายพูดคุยและหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีผู้บังคับบัญชา/หัวหน้างานทํา หน้าที่กระตุ้นให้สมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็น ฝึกการรับฟังและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบวิธีการสร้างความผูกพันของบุคลากรในองค์กรด้วยการปรับปรุงกระบวนการทํางานแบบเรียนรู้ร่วมมือ ดังกล่าวนั้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการทํางานอื่น ๆ ได้ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างองค์กรให้มีผลการ ดําเนินงานที่ดีเลิศ (High Performance Organization : HPO) มุ่งเน้นรูปแบบการเรียนรู้ของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การลง มือปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลรอบข้าง ซึ่งเป็นปัจจัยทีส่งผลทําให้บุคลากรมีความผูกพันกับองค์กรเพิ่มขึ้น

ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ