ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การสร้างกลไกสนับสนุนทำงานวิจัยด้วยทุนส่วนตัว by ปิยะนุช สิงห์แก้ว

ชื่อผลงาน : การสร้างกลไกสนับสนุนทำงานวิจัยด้วยทุนส่วนตัว 

                                                  ผู้ถ่ายทอด : ปิยะนุช   สิงห์แก้ว  ถ่ายทอด : วันที่ 17 กันยายน 2563
   

1.บทนำ

            กรอบและทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยของประเทศปัจจุบันได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติเป็นหลัก รวมถึงตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล ซึ่งทำให้โจทย์วิจัยถูกตีกรอบและมีทิศทางการสนับสนุนทุนที่มุ่งเน้นเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการวิจัยประยุกต์เพื่อแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทำให้งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้รับความสำคัญน้อยลง สำหรับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะที่มีบุคลากรหลากหลายสาขาทั้งสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษา ดนตรีศึกษา ภาษาศาสตร์ เป็นต้น เมื่อทบทวนตนเองในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมาพบว่า ร้อยละของบุคลากรของคณะที่มีตำแหน่งทางวิชาการยังมีน้อยเมื่อเทียบกับคณะในลักษณะเดียวกันของมหาวิทยาลัยอื่น และยังพบว่าบุคลากรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนด้านการวิจัยมีน้อยและจำกัดเฉพาะบางสาขาวิชาเท่านั้น ส่วนหนึ่งคือลักษณะงานที่เป็นงานด้านภาษาศาสตร์ซึ่งมีลักษณะเป็นงานวิจัยพื้นฐานซึ่งดึงดูดแหล่งทุนน้อย และปัจจุบันการแข่งขันขอรับทุนสนับสนุนระหว่างมหาวิทยาลัยที่มากขึ้น นอกจากนี้ บุคลากรที่ได้รับทุนส่วนหนึ่งยังยกเลิกการทำวิจัยจากเงินรายได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาและการผลิตผลงานวิชาการ

            อนึ่งในปัจจุบัน การขอตำแหน่งทางวิชาการจำเป็นต้องผ่านกระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพ คณะศิลปศาสตร์เห็นว่าข้อเสนองานวิจัยด้วยทุนส่วนตัวที่ขอรับการรับรองจริยธรรมการวิจัยจำต้องมีระบบและกลไกที่ช่วยเหลือนักวิจัยในการรับรองเพื่อให้เห็นว่างานวิจัยจะสามารถดำเนินงานอย่างมีคุณภาพเป็นไปตามระบบขั้นตอน คณะจึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกลไกการทำงานส่งเสริมการทำงานวิจัยเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ช่วยแก้ปัญหาการยกเลิกการรับทุนจากแหล่งทุนที่ยังสามารถพัฒนาต่อยอดงานได้ด้วยตนเองตามความเชี่ยวชาญ เพื่อให้บุคลากรสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนที่มีองค์ความรู้ที่ทันสมัย และสามารถใช้ประโยชน์ในการผลิตผลงานวิชาการและการขอตำแหน่งทางวิชาการได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งแหล่งทุนเพียงอย่างเดียว

2.กลไกสนับสนุนทำงานวิจัยด้วยทุนส่วนตัว

      2.1 แนวทางและกลไก

           1) การกำกับ ติดตามการดำเนินงาน ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการวิจัย และมีระบบสารสนเทศงานวิจัยเพื่อรองรับการบันทึกผลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการประจำคณะให้ความเห็นชอบในการบริหารงานที่เกี่ยวข้อง

           2) หลักเกณฑ์ การประกาศรับข้อเสนอในปีงบประมาณ 2563มีการประกาศรับข้อเสนอ จำนวน 2 รอบ คือ ตุลาคม และมีนาคม ต่อมามีคณาจารย์ที่เห็นความสำคัญของการทำงานในระหว่างปี และสอบถามแนวทางการยื่นข้อเสนอ คณะกรรมการวิจัยจึงเห็นควรเปลี่ยนหลักเกณฑ์การ รับข้อเสนอเป็น 4 รอบต่อปี คือ ทุก 3 เดือน โดยสามารถเริ่มรอบการทำงานวิจัยกำหนดระยะ 1 ปี คือ ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม

        นอกจากนี้ จากบทเรียนส่วนหนึ่งที่มีผู้ยกเลิกทุนวิจัย คณะกรรมการวิจัยเห็นว่าเพื่อให้นักวิจัยทำงานวิจัยที่ยังไม่แล้วเสร็จทำงานสำเร็จลุล่วงตามระยะเวลา จึงได้กำหนดไม่ให้นักวิจัยขอทุนวิจัยในระดับคณะทั้งทุนส่วนตัวและเงินรายได้ไม่เกิน 2 โครงการ และต้องไม่ค้างส่งรายงานวิจัยที่ล่วงกำหนดเวลาเป็นระยะเวลานาน

          3) การส่งเสริมการทำงานวิจัยอย่างมีคุณภาพ

               - ใช้ระบบ Peer reviewผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ

              - มีการรายงานความก้าวหน้า ทุก 6 เดือน โดยใช้ระบบเดียวกันกับทุนสนับสนุนวิจัยเงินรายได้ คณะ

             - การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ ผ่านการพิจารณาร่างรายงานฉบับสมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้ระบบเดียวกันกับทุนสนับสนุนวิจัยเงินรายได้ คณะ

          4) การส่งเสริมการเผยแพร่ผลงาน ใช้กลไกสนับสนุนของคณะส่งเสริมการทำงานวิจัย

2.2 ผลการดำเนินงาน

 

3. ตารางและรูปภาพ

รูปที่ 1 กลไกการดำเนินงาน

4.สรุป

            แม้ว่าในการพัฒนากลไกสนับสนุนการทำวิจัยดังกล่าวจะยังไม่เห็นผลสำเร็จที่ชัดเจน แต่จากการที่มีผู้ขอรับการดำเนินงานด้วยทุนส่วนตัว ชี้ให้เห็นว่าบุคลากรสายวิชาการหลายคนมีความพยายามจากที่ต้องการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่มีเงินสนับสนุนการทำวิจัยแต่มีความต้องการต่อยอดการทำงานวิจัยทั้งจากการทำงานบริการวิชาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการสร้างเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาตนเองและชุมชนในรูปแบบต่างๆได้ นอกจากนี้ การส่งเสริมการดำเนินงานยังมีความเหมาะสมสำหรับผู้ที่ดำเนินงานวิจัยที่ไม่ต้องใช้ทุนดำเนินงานโดยเฉพาะงานวิจัยประเภทสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยภาษาศาสตร์ และงานวิจัยในชั้นเรียน นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนในการรับรองการดำเนินงานวิจัยที่มีคุณภาพให้กับนักวิจัยอีกด้วย

5. ปัจจัยความสำเร็จ

            1. กลไกการกำกับดูแลการทำงานที่ดี มีการทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรผลิตผลงานวิชาการ

            2. มีสายสนับสนุนการทำงานที่สามารถให้คำแนะนำในการดำเนินงานได้

ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ