ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สาย UBU-IoT by สุรศักดิ์ ศรีวิเศษ

ชื่อผลงาน : การพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สาย UBU-IoT เชื่อมต่อสรรพสิ่งในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
                                                       ผู้ถ่ายทอด : สุรศักดิ์ ศรีวิเศษ  ถ่ายทอด : วันที่ 17 กันยายน 2563
   
 
1.บทนำ
     ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และข้ามขีดจำกัดความสามารถของมนุษย์ไปแล้ว ทำให้ปัจจุบันเราใช้ชีวิตกันสะดวกสบายมากขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ IoT ที่สามารถทำงานสัมพันธ์กันได้อย่างน่าอัศจรรย์ Internet Of Things หรือที่เรามักเรียกกันว่า IoT อการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องป้อนข้อมูลเข้าไปซึ่งการเชื่อมต่อนี้ทำให้เราสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น และยังสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านอินเตอร์เน็ตได้รวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆจนเกิดเป็นนวัตกรรมต่างๆ อาทิเช่น Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transport เป็นต้น โดยอุปกรณ์ IoT จะแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงแค่สื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น
     อย่างไรก็ดีปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ internet of things หรือ IoT เห็นเป็นรูปธรรมในเร็ว ๆ นี้ได้ก็คือ 5g ที่จะเข้ามาในเร็ว ๆ นี้ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใน Generation ที่ 5 นี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้ IoT ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของหลักการอีกต่อไป และทั้งหมดเราจะเห็นว่า internet of things คือ สิ่งที่เป็นอนาคตของโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้เป็นสิ่งที่จะสร้างความสะดวกสบายให้มากขึ้นกับชีวิตมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่า internet of things คือการสอดรับกับชีวิตในยุคดิจิทัลเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความท้าทายในการที่จะพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สาย UBU-IoT เชื่อมต่อสรรพสิ่ง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อรองรับการปรับตัวของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
    การใช้ประโยชน์จาก Internet of Things ทำให้หลายๆ อย่างง่ายยิ่งขึ้น เช่น รับส่งข้อมูลรูปแบบดิจิทัล ปัจจุบัน ข้อมูลดิจิทัลมีความจำเป็นมาก เพราะสามารถนำไปใช้กับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ทันที ซึ่ง IoT มีคุณสมบัติด้านการเก็บข้อมูลทางภายภาพให้อยู่ในรูปดิจิทัลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว จึงนับเป็นประโยชน์อย่างมากในยุค Digital Transformation แม่นยำ ใช้ได้ตลอดเวลา และส่งข้อมูลแบบ  Real-Time ข้อมูลจาก IoT ไม่เพียงแต่เป็นดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ระดับ Real-Time มีความแม่นยำ และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ช่วยให้มีข้อมูลในการตัดสินใจได้ทันท่วงทีลดภาระงานของบุคลากร
      ในอดีตการเก็บข้อมูลอาจต้องใช้คนเดินทางเข้าไปสอดส่องที่เครื่องมือเพื่อหาความผิดปกติ แต่ปัจจุบัน IoT ไม่เพียงแต่สอดส่องให้เราผ่าน Dashboard เท่านั้นแต่ยังสามารถเรียนรู้ การหาความผิดปกติด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Artificial Intelligenceได้ทำงานตรวจสอบในจุด
ที่คนเข้าไม่ถึงเราสามารถออกแบบ Smart Device ให้มีขนาดเล็กและทนทานเพื่อติดตั้งตามจุดที่คน เข้าถึงยากหรือในจุดที่มีอันตรายระหว่างดำเนินการได้ เช่นภายในท่อส่งน้ำมันหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน จากการต้องเข้าพื้นที่อันตรายเป็นประจำได้

2. วัตถุประสงค์

     2.1 เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเกิดประโยชน์กับกับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่อาจจะต้องมีการปรับตัวตามยุคสมัยเช่นเดียวกัน

3. การดำเนินงาน
     
 
รูปที่ 1 ผังการใช้งาน UBU-IoT
 
1. เชื่อมสัญญานเครือข่ายไร้สาย ชื่อว่า UBU-IoT
2. จะได้ IP ชั่วคราว
3. ประสานมาที่สำนักคอมเพื่อตรวจสอบและลงทะเบียนใช้งาน
4. สามารถใช้งานอินเทอร็เนตได้
 
   3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
 
รูปที่ 4 ระบบหลังบ้าน พัฒนาจาก Linux สำหรับลงทะเบียน
 
4.สรุป
     Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์ต่างๆสิ่งต่างๆได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วย การเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ฉะนั้นการเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สรุปจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบ UBU-IoT ได้แก่ กล่องสัญญานทีวี Infosat, TV, เว็บแคมกล้องวงจรปิด
 
5. ปัจจัยความสำเร็จ
     การท้าทายความสามารถตัวเองเพื่อพัฒนาศักยภาพในระบบการทำงานให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรและบุคลากรทุกคนน้อยที่สุด
 
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ