ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การพัฒนาระบบทำงานจากบ้านผ่านระบบ VPN by สุรศักดิ์ ศรีวิเศษ

ชื่อผลงาน : การพัฒนาระบบทำงานจากบ้านผ่านระบบ VPN (VPN for working from home)

                                               ผู้ถ่ายทอด : สุรศักดิ์ ศรีวิเศษ  ถ่ายทอด : วันที่ 17 กันยายน 2563
   

1. บทนำ

     จากสถานการณ์ไวรัสระบาดทั่วโลก COVID – 19 ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจในไทย หลายมาตรการถูกนำมาใช้เพื่อลดการระบาดของไวรัส หนึ่งในมาตรการนั้นก็คือการ “ทำงานที่บ้าน” โดยหลาย ๆ องค์กรเริ่มมีนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) แล้วซึ่งนอกจากไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจยังช่วยลดการแพร่กระจายของไวรัสได้อีกด้วยแต่อย่าลืมว่า การใช้อินเทอร์เน็ตบ้าน หรือ เน็ตสาธารณะเพื่อมาใช้ในการเข้าระบบขององค์กรอาจไม่ปลอดภัย ฉะนั้น การใช้ VPN (Virtual Private Networks) จึงเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดสามารถป้องกันและเพิ่มความปลอดภัย

      ในขณะส่งข้อมูลจากที่บ้านไปยังออฟฟิศ และ เพิ่มความมั่นใจในการ Work from Home ในสถานการณ์ปัจจุบันได้ ฉะนั้นเราจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การทำงานอยู่บ้านหรือ Work from Home (WFH) ก็จะช่วยให้องค์กร หน่วยงานยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งปัจจุบันการทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้น เนื่องจากได้รับความสะดวก สบาย เพราะเราสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต VPN (Virtual Private Networks) แปลตรงตัวว่า เครือข่ายเสมือนแบบส่วนตัว สามารถอธิบายแบบง่าย ๆ ว่ามีลักษณะเป็นท่อเสมือนครอบสายสัญญาณอินเทอร์เน็ต ที่มีการเข้ารหัสใน
รูปแบบต่าง ๆ ช่วยป้องกันไม่ให้ถูกดักจับข้อมูลระหว่างการส่งข้อมูลจากต้นทาง ไป ยังปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีแบบ Man-in-the-Middle หรือ ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์ประเภทต่าง ๆ
 
     ข้อดีของ VPN คือมีความยืดหยุ่นสูง กรณีที่ต้องการใช้เพื่อ Remote Access พนักงาน หรือ ผู้ติดต่ออื่นที่ไม่ได้เข้าสำนักงานก็จะสามารถเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายภายในองค์กรได้และการรับส่งข้อมูลภายใน VPN Network มีความปลอดภัย ซึ่งรวมไปถึงพนักงานสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆได้เหมือน นั่งอยู่ ภายในองค์กรการทำงานบนระบบเครือข่ายจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งขององค์กรที่พร้อมจะปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น VPN จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับใครที่กำลังมองหาระบบการทำงานออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการทำงานอยู่ที่บ้านแต่เสหมือนว่านั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ
 
2. วัตถุประสงค์
    2.1 เพื่อช่วยให้นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สามารถทำงานที่บ้านได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ผ่านการใช้งานระบบ VPN ที่สะดวกสบายและปลอดภัย
    2.2 เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีทางด้านอินเตอร์เน็ตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง ตามความเหมาะสมตามบริบทขององค์กร
 
3. การดำเนินการ
     VPN ย่อมาจาก Virtual Private Network เป็นการสร้างถนนระหว่าง ตัวเรา ไปยัง Network ปลายทางโดยใช้เส้นทาง Internet ทั่วไป แต่จะมีการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยระหว่างตัวเราถึงปลายทาง และ ตัวเราจะเปรียบเสมือนเป็นเครื่องลูกข่ายของ Network ปลายทางด้วย
รูปที่ 1 แสดงการทำงานจากบ้าน (Work at Home) เสมือนนั่งทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
 
 
 
4. สรุป
     ในภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19) ในปัจจุบัน ข้อมูลหลายอย่างชี้ว่า การรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing) น่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่จะช่วยชะลอการระบาดของโรคดังกล่าวได้ ส่งผลให้หลายหน่วยงานเริ่มพิจารณาให้พนักงานทำงานจากบ้าน
หรือสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงานปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการสัมผัสกับคนจำนวนมากในสำนักงาน และ VPN Network เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อำนวยความสะดวกสบายในการทำงานที่บ้านเสมือนว่านั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ และมีความปลอดภัย และเป็นส่วนตัวเรียกได้ว่าปลอดภัยทั้งจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า และปลอดภัยจากไวรัสที่อาจจะมาพร้อมจากโลกไซเบอร์
รูปที่ 6 แสดงปริมาณการใช้งาน OpenVPN
   
จากรูปที่ 6 แสดงปริมาณการใช้งาน มีผู้ใช้งานที่ใช้งานทั้งอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ใช้งานกันอย่างมาก โดยแยกรายละเอียดการใช้งานได้ดังนี้
       1. สรุปตามจำนวนผู้ใช้งานสูงสุด 5 บัญชีผู้ใช้งาน
           1.1 คณะวิทยาศาสตร์
           1.2 สำนักงานอธิการบดี
           1.3 คณะวิทยาศาสตร์
           1.4 คณะเภสัชศาสตร์
           1.5 สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
2. สรุปจำนวนบัญชีผู้ใช้งานต่อเดือน (6 เดือนย้อนหลัง)
          2.1 เดือนมีนาคม จำนวน 379 บัญชี 2.2 เดือนเมษายน จำนวน 416 บัญชี
          2.2 เดือนพฤษาคม จำนวน 262 บัญชี
          2.3 เดือนมิถุนายน จำนวน 276 บัญชี
          2.4 เดือนกรกฎาคม จำนวน 337 บัญชี
          2.5 เดือนกันยายน จำนวน 263 บัญชี
**หมายเหตุ สามารถเข้าดู log การใช้งานได้ที่ 192.168.90.180
 
5. ปัจจัยความสำเร็จ
     การมุ่งมั่นพัฒนางานเพื่อการปรับตัวให้เท่าทันในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พร้อมกับการนำเทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์คเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาในการทำงานให้เหมาะสมตามบริบทขององค์กร เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสามารถดำเนินงานต่อไปในสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ได้อย่างมีความสุข
 
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ