ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การปรับปรุงสื่อการสอนรายวิชาวิศวกรรมอาหาร by กฤษณา ศิริพล

ชื่อผลงาน : การปรับปรุงสื่อการสอนรายวิชาวิศวกรรมอาหารสำหรับการสอนออนไลน์ด้วยวิธี story telling
 
                                 ผู้ถ่ายทอด : อาจารย์กฤษณา ศิริพล  ถ่ายทอด : วันที่ 17 กันยายน 2563
   
1. บทนำ
     ด้วยสถานการ์ Covid19 ทำให้เกิดวิถีใหม่ขอบชีวิต รวมไปถึงการเรียนการสอน ซึ่งการใช้การสื่อสารอิเลคโทรนิกส์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับชีวิตประจำวัน การทำงาน และการเรียนการสอน โดยในช่วงปีการศึกษา 2563 ภาคฤดูร้อน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในทุกรายวิชา แต่เนื่องจากรายวิชา1205 251 วิศวกรรมอาหาร 1 ซึ่งเป็นรายวิชาที่เน้นการคำนวณและการเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของการถ่ายเทความร้อนและมวลสาร ในขณะที่ผู้เรียนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ของสาขาเทคโนโลยีการอาหาร โดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่ไม่ถนัดการคำนวณและฟิสิกส์ นอกจากนี้ นักศึกษาปัจจุบันยังเป็นนักศึกษาในกลุ่มของgeneration Z ซึ่งแม้จะเป็นวัยมีชีวิตท่ามกลางการสื่อสารด้วยเครื่องมือสื่อสารอิเลคโทรนิกส์และอินเตอร์เนต ที่สะดวกสบาย จึงทำให้เป็นกลุ่มคนที่ไม่สามาถจดจ่อกับสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ได้ไม่นานโดยเฉพาะในวิชาที่ตนเองไม่ชอบ
     ดังนั้น สื่อการสอนวิชาวิศวกรรมอาหาร 1 รวมถึงวิธีการสอนของอาจารย์จึงควรปรับปรุงเพื่อเหมาะสมสำหรับการสอนแบบออนไลน์ในยุคสมัยนี้ โดยเน้นผลลัพธ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ โดยมีการวิเคราะห์ผู้เรียนซึ่งเป็นเยาวชนในกลุ่ม Gen Z (generation Z, เกิดในระหว่างปี พ.ศ. 2543-2553) ร่วมกับผลการประเมินรายวิชา 1205251 วิศวกรรมอาหาร เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงสื่อการสอน
 
2. ขั้นตอนการปรับปรุงสื่อการสอน
     2.1 วิเคราะห์ผู้เรียน
           ปัจจุบัน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งนักศึกษาที่กำลังจะเรียนวิชาวิศวกรรมอาหาร เป็นเยาวชนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2542-44 ซึ่งอยู่ในกลุ่มรอยต่อของ Gen Y และ Gen Z จึงทำให้เริ่มมีอุปนิสัยการเรียนที่แตกต่างจากนักศึกษาชั้นปีที่อาวุโสกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยจากการศึกษาพบว่า ด้วยช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีสื่อสารที่มีราคาถูกลงทำให้เยาชนกลุ่มนี้สามารถเป็นเจ้าของเครื่องมือสื่อสารที่มีคุณภาพจึงทำให้เยาวชนชาว Gen Z เป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ และเรียนรู้เทคโนโลยีได้เร็วตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ในขณะที่ผู้ปกครองของเยาวชนเหล่านี้เป็นประชากรที่ยังต้องทำงานทั้งพ่อและแม่ ทำให้เยาวชนดังกล่าวต้องใช้เวลาอยู่กับเทคโนโลยีสื่อสารนานกว่าการใช้เวลากับกิจกรรมของครอบครัว ซึ่งเหตุดังกล่าวก่อให้เกิดนิสัยที่มีแนวโน้มไปในทางที่
เป็นปัจจัยด้านลบต่อการศึกษาของนักศึกษา ดังตารางที่ 1
     จากการสัมภาษณ์ผู้ได้ผลการศึกษา F ของรายวิชาวิศวกรรมอาหาร โดยเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเพื่อสร้างบรรยากาศที่ให้นักศึกษากล่าวข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงของตนออกมา พบว่า สาเหตุที่นักศึกษามีผลการเรียนต่ำในรายวิชานี้ สาเหตุเนื่องจากนักศึกษาไม่ชอบการคำนวณ เช่น คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ นอกจากนี้ยังไม่ชอบการท่องศัพท์ ทำให้นักศึกษาไม่สามารถจับคู่ข้อมูลจากโจทย์กับตัวแปรในการคำนวณ (ตารางที่ 1)
     ข้อมูลทั้งสองประเด็น ทำให้ผู้สอนมีความวิตกกังวลกับผลการเรียนของนักศึกษาในปีการศึกษา 2563 ผู้สอนจึงได้ทำการทำนายผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ และวิเคราะห์กลยุทธ์การสอนเพื่อพัฒนาสื่อการสอนดังแสดงใน หัวข้อ 2.2
 
ตารางที่ 1 ปัจจัยด้านลบที่มีผลต่อการศึกษาในรายวิชาวิศวกรรมอาหาร 1 ของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ระดับปริญญาตรี
     2.2 ทำนายผลกระทบของนักศึกษาต่อการเรียน และกลยุทธ์สำหรับสื่อการสอนออนไลน์
           ตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดของปัจจัยด้านลบต่อการศึกษารายวิชาวิศวกรรมอาหาร 1 โดยแสดงประเด็นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย หรือ ประเด็นที่เกิดจากการเป็นเยาวชนในกลุ่ม Gen Z และ ประเด็นของลักษณะนิสัยของนักศึกษาเทคโนโลยีการอาหาร และจากประเด็นดังกล่าว ผู้สอนได้ทำนาย
ผลกระทบต่อการเรียนของนักศึกษา และจากตารางที่ 1 จะเห็นว่ามีหลายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเนื่องกับการเรียน และเกี่ยวข้องกับสื่อการสอนของอาจารย์โดยตรง ดังนั้นผู้สอนจึงมีความคิดริเริ่มในการกำจัดบางปัจจัยด้านลบเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาสื่อการสอนรายวิชานี้ ดังนี้
- นักศึกษาขาดสมาธิในการเรียน โดยเฉพาะเรียนออนไลน์อาจเป็นเพราะนักศึกษาขาดความเข้าใจในบทเรียนตอนต้น อันเนื่องมาจากการที่นักศึกษาไม่เข้าใจศัพท์อย่างแท้จริง
- นักศึกษาไม่ท่องศัพท์
- ขาดประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา โดยหากสื่อการสอนออนไลน์สามารถสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาได้ อาจช่วยให้นักศึกษาสามาถเข้าใจ technical term แบบธรรมชาติโดยไม่ต้องท่อง และยังช่วยให้นักศึกษาสามารถมีสมาธิในการเรียนได้
     2.3 พัฒนาสื่อการสอนออนไลน์
          จากบทวิเคราะห์ดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการปรับปรุงสื่อการสอนโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องด้วยภาพ โดยเน้นการใช้กิจกรรมการง่ายๆ ที่คนทั่วไปเข้าใจได้ และนำกิจกรรมนั้นมาเป็นตัวแทนของศัพท์ หรือ นิยามของตัวแปรต่างๆจากนั้น นำกิจกรรมนั้นมาสร้างความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นเพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าใจทฤษฎีของวิศวกรรมอาหารโดยขอนำเสนอบางตัวอย่างในรายงานฉบับนี้
1. แรงดัน (Pressure, P) โดยการใช้การเล่าเรื่องของการใช้ลูกตุ้มน้ำหนักกดทับกระบอกสูบของกระบอกฉีดยา เพื่อทำให้นักศึกษาเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน การไหล และความหนืดของเหลว
2. การใช้น้ำพุ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน และความดัน ของการไหลในท่อ
3. การใช้ภาพช่วยอธิบายการพิจารณาแรงดันลดที่เกิดขึ้นระหว่างขนส่งของไหลในท่อ
4. จากคำอธิบาย 1-3 เป็นการอธิบายด้วยภาพ และ story telling เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จากนั้นนำเข้าสู่สมการการคำนวณ
     2.4 สื่อการสอนออนไลน์
           สื่อที่ใช้สอน จะเริ่มต้นจากการเล่าเรื่องราว (Story telling) โดยใช้ภาพประกอบที่สามารถสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาก่อน โดยระหว่างเล่าเรื่อง จะมีการสร้างกฏระเบียบ และ ชักนำความคิดนักศึกษาไปสู่ทฤษฎีของรายวิชาเช่น การใช้คำถาม การทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้น จากนั้นจึงนำเข้าสู่สมการการคำนวณ โดยสื่อที่ใช้ประกอบการสอนทำบนโปรแกรม PowerPoint 365 โดยนำภาพประกอบจาก icons ซึ่งเป็นคลังภาพของ Microsoft ที่สามาถนำมาใช้ได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทฺธิ และบางภาพเป็นภาพจากการวาดด้วย application SketchBook จากนั้นบันทึกการสอนเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบรรยายด้วย PowerPoint 365 และนำวีดีโอที่ได้จากการบันทึกอัพโหลดบน Youtube และเผยแพร่ให้นักศึกษาสามารถเข้าไปศึกษาด้วยตนเองตามความสะดวกของนักศึกษาสำหรับวีดีโอที่ทำขึ้น จะแบ่งเป็นตอนย่อยๆ โดยแต่ละตอนมีเวลาอยู่ในช่วง 10-30 นาที เพื่อให้นักศึกษาไม่เสียสมาธิระหว่างการศึกษาด้วยตนเอง
3. ประเมินการสอน
     เนื่องจากเป็นการสอนด้วยสื่อนี้ครั้งแรกในเทอม 1/2563 จึงยังไม่ได้มีการทำแบบสอบถามอย่างเป็นทางการแต่ได้มีการสอบถามแบบ face-to-face กับนักศึกษาบางคน โดยพบว่า นักศึกษาที่ดูวีดีโอแล้วมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อบทเรียน และชอบที่มีการเล่าเรื่องราวเป็นลำดับ และวีดีโอช่วยทำลายความรู้สึกกลัวรายวิชาวิศวกรรมอาหารได้
 
รูปที่ 1 ตัวอย่างการใช้ภาพประกอบการอธิบายความหมายของแรงดัน และความหนืด
รูปที่ 2 ตัวอย่างการใช้ภาพเล่าเรื่องเพื่อนำไปสู่บทเรียนเรื่องแรงดันลดในท่อ
 
4. สรุป
     วิธีการนี้สามารถสร้างประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับบทเรียน ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าใจตัวแปรได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลลัพท์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะนักศึกษายังขาดสมาธิในการเรียน โดยจากการสัมภาษณ์นักศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังมีการทำกิจกรรมอื่นระหว่างการศึกษาด้วยตนเอง เช่น การคุยทางสังคมออนไลน์ และดูหนังออนไลน์ เป็นต้น ทำให้นักศึกษากลุ่มนี้ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา และเพื่อแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้สอนยังคงต้องพัฒนากลยุทธ์การสอนต่อไป
5. ปัจจัยความสำเร็จ
     ผู้สอนเคยผ่านการอบรม Story telling, การวาดภาพ ทำให้สามารถใช้เครื่องมือช่วยการทำสื่อการสอนได้และผู้สอนยังเคยเรียนออนไลน์กับ MOOC ของ EdX, Coursera และ สถาบันเพิ่มผลผลิตมาหลายหลักสูตร จึงทำให้สามารถนำประสบการณ์มาช่วยทำสื่อการสอนได้
 
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ