ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานบริการวิชาการ ประจำปี 2566

     มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจการของมหาวิทยาลัย จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการด้านต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยใยด้านบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้กำหนดระบบและกลไกในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

 
แผนผังแสดงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กระบวนงาน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

ระบบและกลไก

 

ผลการดำเนินงาน
  • การจัดทำคำของบประมาณ
  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • การแต่งตั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเป็นคณะกรรมการ
  • การจัดประชุมรับฟังความเห็นความต้องการของผู้รับบริการ
  • การสำรวจความต้องการรับบริการ

 

 

  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีคำสั่งที่ 1615/2565   ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2565  แต่งตั้งผู้แทนจากคณะ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารโครงการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
    มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบ หลักเกณฑ์ กฎระเบียบ การดำเนินงาน  การประเมินและจัดลำดับความสำคัญของโครงการ การให้ความเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณ การกำกับติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย การประสานความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน เพื่อพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการส่งเสริมการนำผลงานวิจัย การบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไปใช้ประโยชน์
    คลิ๊กดูคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
     
  • นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีคำสั่งที่ 42/2566 แต่งตั้ง คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารของมหาวิทยาลัย รองคณบดีที่กำกับดูแลงานด้านการวิจัย การบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ผู้บริหารและผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่งรอบมหาวิทยาลัยได้แก่ เทศบาลตำบลเมืองศรีไค เทศบาลตำบลธาตุ เทศบาลตำบลคำขวางและองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีหน้าที่ เสนอกิจกรรม โครงการ เพื่อผลักดันให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น  ติดตามให้คำปรึกษา แนะนำ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการให้เกิดการนำความรู้ไปปฏิบัติ ประเมินผลกระทบการดำเนินงาน
    คลิ๊กดูคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
     
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้รับบริการวิชาการจากมหาวิทยาลัย เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดและุเสนอความต้องการดำเนินงานร่วมกัน โดยในปี 2566 ได้จัดประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการให้บริการวิชาการ เช่น จัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อรับฟังปัญหา ความต้องการพัฒนาของชุมชน เพื่อนำปัญหาความต้องการ มาจัดทำโครงการเพื่อให้บริการวิชาการในปีงบประมาณ 2566
    รายงานการประชุมครั้งที่ 1/2566
    รายงานการประชุมครั้งที่ 2/2566
    การประชุมเพื่อเตรียมการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

 

  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำรวจความต้องการรับบริการวิชาการจากมหาวิทยาลัย โดยส่งแบบสำรวจไปยังประชาชน จำนวน 403 คน ที่เป็นกลุ่มผู้เคยรับบริการวิชาการจากมหาวิทยาลัย เพื่อสอบถามถึงความต้องการพัฒนาตนเองและชุมชนที่อาศัยอยู่ เพื่อนำมาประมวลผลในการจัดทำข้อเสนอโครงการบริการวิชาการประจำปี 2566 โดยมีข้อมูลความต้องการที่สำคัญ 3 อันดับแรก ดังนี้

1) ประชาชนร้อยละ 59.06 ต้องการพัฒนาความรู้ด้านการเกษตร การเพาะปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม
2) ประชาชนร้อยละ 34.49 ต้องการความรู้เรื่องการตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
3) ประชาชนร้อยละ 34 ต้องการได้รับความรู้ การบริการด้านการแพทย์ การพยาบาลและ สาธารณสุข 
คลิ๊กดูรายละเอียดผลการสำรวจ

  • การดำเนินโครงการ
  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • การแต่งตั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการ
  • การจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้รับบริการ เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน

 

  • ในขั้นตอนการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงาน ร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็น ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการด้วย โดยในปีงบประมาณ 2565 -2566 มหาวิทยาลัยได้ใช้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เป็นโครงการหลักซึ่งดำเนินการใน 15 ตำบล 3 อำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการจาก 3 ภาคส่วนเข้ามาเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ (กำนัน) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล  นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานซึ่งเป็นผู้แทนจากคระต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
    ประกาศมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ
          
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามประกาศในข้างต้นเพื่อหารือถึงกรอบแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนการประชุมร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อกำหนดแผนกิจกรรมการดำเนินงาน  
     
  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ในรูปแบบการร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมรับประโยชน์ เช่น 
     
  • การติดตามการดำเนินโครงการ
  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • การแต่งตั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามการดำเนินงาน
  • การจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้รับบริการ


ประกาศมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ

  • ในปีงบประมาณ 2565-2566 มหาวิทยาลัย   โดยโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เป็นโครงการหลักซึ่งดำเนินการใน 15 ตำบล 3 อำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการจาก 3 ภาคส่วนเข้ามาเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ (กำนัน) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล  นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานซึ่งเป็นผู้แทนจากคระต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
  • การประเมินผลการดำเนินงาน
  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • การแต่งตั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงาน
  • การให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้รับบริการประเมินผลการดำเนินโครงการ

 

 

  • การให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้รับบริการวิชาการ  มีส่วนร่วมประเมินผลการดำเนินโครงการนั้น มหาวิทยาลัยกำหนดวิธีปฏิบัติไว้ 2 แนวทาง คือ 1

1) ให้ผู้ร่วมโครงการ ประเมินผลจากการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการในฐานะผู้รับบริการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการจะให้ผู้ร่วมโครงการประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการทันที เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน โดยผลการประเมินส่วนนี้ผู้รับผิดชอบโครงการจะนำไปปรับปรุงกระบวนการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นในปีถัดไป
ตัวอย่างผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2) ให้ผู้ร่วมโครงการ ประเมินผลความพึงพอใจในการรับบริการหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้วเป็นระยะเวลา 3-6 เดือน โดยมหาวิทยาลัยจะทำการสุ่มผู้รับบริการวิชาการจากโครงการต่าง ๆ แล้วส่งแบบประเมินเพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้ประเมินความพึงพอใจในการให้บริการ การประเมินผลความรู้ที่ได้และการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะนำมาปรับปรุงกระบวนการในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการต่อไปในอนาคต
การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประจำปีงบประมาณ 2565