ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

แผ่นดินไหวสะเทือนถึงอีสาน! บ้านเฮาปลอดภัยหรือ ต้องเตรียมตัว?


โพสโดย รัตนาภรณ์ แก้วกลึงกลม     โพสวันที่ 31 มีนาคม 2568 ,     (อ่าน 51 ครั้ง)  


รายการ อีสานขานข่าว 31 มีนาคม 2568 เจาะลึกสถานการณ์ภัยพิบัติ หลังเหตุการณ์ตึกสตง. จตุจักร กรุงเทพฯ ถล่มเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 จากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวขนาด 8.2 จากรอยเลื่อนสะกายในพม่า ส่งผลให้หลายคนในอีสานรู้สึกถึงแรงสั่น และเกิดคำถามถึงความเสี่ยงและการเตรียมรับมือในภาคอีสาน มีผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านมาร่วมวิเคราะห์ ได้แก่ 
 
ดร.ฉัตรภูมิ วิรัตนจันทร์  รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการปฐพี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
 
ผศ.ยุทธ แม้นพิมพ์ นักธรณีวิทยาประจำอุทยานธรณีอุบลราชธานี
 
ดร.ประดิษฐ์นูเล  นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 ขอนแก่นกรมทรัพยากรธรณี  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
เพื่อตอบคำถามถึงโอกาสเกิดแผ่นดินไหว ความรุนแรง และแนวทางปฏิบัติในภาคอีสาน
 
โดย ดร.ฉัตรภูมิ วิรัตนจันทร์ ตัวแทนอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้กล่าวถึงอาคารในอีสานออกแบบรับแรงลมและแรงสั่นระดับต่ำได้ ตามมาตรฐานกรมโยธาฯ ตั้งแต่ปี 2564 แต่จังหวัดติด สปป.ลาว เช่น เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ต้องออกแบบต้านแผ่นดินไหว ส่วนอีสานกลาง-ใต้ ยังเสี่ยงต่ำ  
 
อาคารเก่าหรือก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานเสี่ยงที่สุด หากคุณภาพวัสดุหรือฝีมือช่างไม่ดี ลมแรงยังพังได้  เสนอแนะการออกแบบ เน้นฐานรากแข็งแรง รอยต่อดี ใช้วัสดุมาตรฐาน เช่น ปลอกเกลียวในเสา ทั้งนี้อาจารย์ได้กล่าวถึงระบบเตือนภัย ว่าอีสานไม่จำเป็นต้องติดเซ็นเซอร์ทุกตึก แต่ควรมีศูนย์กลางเรียลไทม์ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน  


Search