ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ข้อมูลและโครงสร้างของหลักสูตร

1.ชื่อหลักสูตร

        ภาษาไทย:              หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

        ภาษาอังกฤษ:          Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering

2. ชื่อปริญญา

        ชื่อเต็มภาษาไทย:      วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)

        ชื่อย่อภาษาไทย:       วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)

        ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Engineering(Civil Engineering)

        ชื่อย่อภาษาอังกฤษ:   B.Eng. (Civil Engineering)             

3. ปรัชญาการศึกษา

        3.1    ปรัชญาของหลักสูตร         

            มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะวิชาชีพวิศวกรรมโยธา ให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์ของสภาวิศวกรและเกณฑ์สากล สามารถดำรงตนในสังคมพหุวัฒนธรรม สามารถสื่อสารและเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ สามารถสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของภูมิปัญญา และคงอัตลักษณ์ไทย เพื่อพึ่งพาตนเอง แข่งขันได้ มีคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตสำนึกสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต และความปลอดภัยของมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม

        3.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 มุ่งผลิตบัณฑิตวิศวกรรมโยธาที่ "สามารถ องอาจ พัฒนา และยืดหยุ่น" เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีดังนี้

4. ระยะเวลาศึกษา

มีระยะเวลาศึกษาตามหลักสูตรสี่ปีการศึกษา และไม่เกินแปดปีการศึกษา

5. การสำเร็จการศึกษา

นักศึกษาต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 แต้มระดับคะแนน หรือเทียบเท่า และต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มวิชาชีพบังคับไม่ต่ำกว่า 2.00 

6. โครงสร้างหลักสูตร

หมวดและกลุ่มวิชา

หน่วยกิต

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                            ไม่น้อยกว่า

30

  1.1 กลุ่มภาษา

15

     ก. ภาษาไทย

3

     ข. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

12

  1.2 กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์

6

     ก. กลุ่มทักษะชีวิต ความคิด และสุนทรียภาพ

3

     ข. กลุ่มพลเมือง โลก และการอยู่ร่วมกัน

3

  1.3 กลุ่มวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ  ไม่น้อยกว่า

6

     ก. กลุ่มสุขภาพ ชีวิต สิ่งแวดล้อม

3

     ข. กลุ่มเทคโนโลยีและการจัดการ

3

  1.4 กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป

3

  2. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                    ไม่น้อยกว่า

113

     ก. กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ                                       

34

     ข. กลุ่มวิชาชีพบังคับ                                        

73

     ค. กลุ่มวิชาชีพเลือก                                                                  ไม่น้อยกว่า                    

6

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                                 ไม่น้อยกว่า

6

  รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร                                                      ไม่น้อยกว่า

149