โพสต์โดย : เทอดภูมิ ทองอินทร์ วันที่ 1 มีนาคม 2566 , 09:54:51 (อ่าน 729 ครั้ง)
กิจกรรมคืนข้อมูลทางวิชาการ ภายใต้โครงการจัดเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชาวจีนในจังหวัดอุบลฯ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะมีการเผยแพร่ข้อมูลวิจัยในรูปแบบดิจิตอล (Digitization) ภายใต้โครงการนักวิจัยหน้าใหม่ซึ่งสนับสนุน โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี อาจารย์ กชภพ กรเพชรรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครองสังกัดคณะรัฐศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการพร้อมให้การบรรยายถึงความสำคัญและรายงานความคืบหน้า ของโครงการวิจัยร่วมกับท้องถิ่นในครั้งนี้
งานครั้งนี้ได้รับเกียรติและความร่วมมือจาก คณะกรรมศาลเจ้าพุทธก๋ง นายสงวนชัย ตั้งตระกูล ผู้ตรวจตราศาลเจ้า นายธนัช แซ่ล้อ ผู้ดูแลศาลเจ้าและตัวแทนของหน่วยงานต่างๆของชาวจีนในจังหวัดอุบลราชธานี ในการจัดงานครั้งนี้หน่วยงานภาครัฐ และด้านการศึกษาได้แก่ นายภัทรพงศ์ สารพัฒน์ ตัวแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุบลราชธานี ผศ. ชัยพร พญาครุฑ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและอาจารย์ประจำโครงการจีนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ Dr. James Kenneth Powells ผู้เชี่ยวชาญระดับ 1 งานด้านศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดร.อัญชลี แสงทอง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี?และความร่วมมือจาก ผศ.ดร.ชิดหทัย ปุยะติเข้าร่วมเสวนาแรกเปลี่ยน และอาจารย์ Li Xing สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่มีส่วนสำคัญในการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมจีน
กิจกรรมได้รับความสนใจจากประชาชนจากชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิชาการ และหน่วยงานราชการกับท้องถิ่นเช่น มีการนำเสนอหลักฐานเอกสารชั้นต้นที่เกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลในจังหวัดอุบลราชธานีจากนายณชพล ศรีทอง มาเผยแพร่ ภายในกิจกรรมเปิดตัวโครงการ ยังมีกิจกรรมด้านวัฒนธรรมจีนที่ได้รับความร่วมมือ จากคณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ทำการสาธิตวิธีการชงชาแบบดั้งเดิม วิธีการเขียนพู่กันจีน ให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอีกด้วย และยังมีผลงานจากนักศึกษาในรายวิชาจีนในการเมืองโลกจัดทำนิทรรศการภาพถ่ายเก่าที่เกี่ยวข้องกับชุมชนจีนในอุบลราชธานี นอกนี้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กิจกรรม ครั้งนี้ก็ยังมีนักวิชาการท้องถิ่น มหาวิทยาลัย สมาชิกชุมชนชาวจีน องค์กรชาวจีนในจังหวัดอุบลราชธานีราว และนักศึกษาและผู้ที่สนใจโครงการวิจัยได้ราว 50 ท่าน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นกับคณะทีมผู้วิจัย ณ ศาลเจ้าพุทธก๋ง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566