มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Ubon Ratchathani University
 นักศึกษา    บุคลากร    ศิษย์เก่า   UBU English      




ม.อุบลฯ จัดโครงการพัฒนากระตุ้นและผลักดันนักวิจัยรุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2564


โพสต์โดย : ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร     วันที่ 27 มิถุนายน 2564 , 21:54:38     (อ่าน 949 ครั้ง)  



ม.อุบลฯ จัดโครงการพัฒนากระตุ้นและผลักดันนักวิจัยรุ่นใหม่

ประจำปีงบประมาณ 2564

----------------------------------------

          เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน 2564 สำนักงานส่งเสริม บริหารงานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จัด “โครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2564”  และมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้น ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 13 ราย ณ ชั้น 3 ห้องประชุมศรีเมืองใหม่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์  ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและมอบช่อดอกไม้ให้แก่นักวิจัยที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต  ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมพัฒนานักวิจัยครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นและผลักดันให้นักวิจัยรุ่นใหม่มีความเข้าใจในระบบการให้ทุนวิจัยของประเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนสามารถออกแบบและสร้างโครงการวิจัยที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่นวัตกรรม  โดยเรียนรู้และเพิ่มทักษะของการเป็นนักวิจัยมืออาชีพจากนักวิจัย   พี่เลี้ยง และเกิดการสร้างทีมในการทำงานวิจัยเพื่อความสำเร็จในอนาคต รวมถึงเพื่อให้นักวิจัยรับทราบแนวทางการจัดสรรทุนวิจัยของประเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเขียนข้อเสนอเพื่อขอรับประมาณวิจัยต่อไป สำหรับรูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้น3 วัน ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษและการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับแหล่งทุนวิจัยในประเทศไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต  ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นัวัตกรรมและบริการวิชาการ หัวข้อ “หลักเกณฑ์ ข้อกำหนดการขอตำแหน่งทางวิชาการ” โดย นายอรรถพงศ์ กาวาฬ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ หัวข้อ “เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไร ให้โดนใจแหล่งทุน” ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้บริหารจากหน่วยงานให้ทุนในระบบบ ววน. ได้แก่ ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทพ.จเร  วิชาไทย ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ นางสาวกุลวรา  โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) หัวข้อ “การนำเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์  ปิตาคะโส หัวข้อ “เทคนิคการเขียนบทความวิชาการนานาชาติ และการเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์” โดยแบ่งเป็นกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร  จึงสุทธิวงษ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุริม  จารุจำรัส กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิตย์  แซ่เตียว กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ  มะโนรมย์ หัวข้อ “ระบบสนับสนุนทุนวิจัย: หลักเกณฑ์ กฎหมาย ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย” โดย นางสาววิชุดา  เชาว์ศรีกุล นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ และ นางสาวณัฐธิดา  อินทรธิราช นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ “กลไก เครื่องมือ แนวทางในการบริหารโครงการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ” โดย รองศาสตราจารย์ชวลิต  ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ จากนั้นเป็นการนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยและให้ข้อเสนอแนะ พร้อมตอบข้อซักถามผู้เข้าอบรม การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีนักวิจัยเข้าร่วมการประชุม จำนวน 80 คน เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ จำนวน 38 คน  และนักวิจัยที่สนใจเข้าร่วมอบรมในหัวข้อ “การนำเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพและเทคนิคการเขียนทบความวิชาการนานาชาติ” จำนวน 42 คน

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์  ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีความมุ่งมั่น และตั้งใจที่จะสร้างและพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ เกิดผลงานวิจัย รวมทั้งเกิดงานนวัตกรรมที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้า จึงได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยไว้อย่างชัดเจนว่า “มหาวิทยาลัยชั้นนำในอาเซียนที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและนวัตกรรม (LeadingUniversity in ASEAN Focusing on Transforming Life Quality and Innovations)” ทั้งนี้ การที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว  จำเป็นจะต้องมีนักวิจัยที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ  และมีจำนวนที่มากพอ และจะต้องร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ ข้ามศาสตร์ มีการทำงานทั้งในระดับการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานการประยุกต์ใช้งานองค์ความรู้และนวัตกรรมไปจนถึงการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์  ดังนั้นทุกท่านที่เข้าอบรมในวันนี้ จึงถือเป็นความหวังและองค์ประกอบสำคัญของการบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย

----------------------------------------

ทิพย์วรรณ  เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว




SDG Hashtag :

Tag อื่นๆ :