ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชื่นชมผลงานนวัตกรรม ม.อุบลฯ ช่วยผู้ประสบน้ำท่วม จ.อุบลฯ


โพสโดย เพลิน วิชัยวงศ์     โพสวันที่ 19 กันยายน 2562 ,     (อ่าน 1,223 ครั้ง)  


              มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย ผศ.ดร.ชุตินันท์  ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ศรีภา คณบดีคณะเภสัชศาสตร์  และคณะอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำเสนอผลงานและนวัตกรรมสิ่งอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานี ต่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะ ในโอกาสเดินทางรับฟังสรุปการบริหารจัดการน้ำและการเตรียมแผนฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย พร้อมเยี่ยมให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัย ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านหนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา

           ในส่วนของนวัตกรรม ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีผลิตให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ และนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย

        1.ชุดที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ ขนาดแบตเตอรี่รถยนต์ที่เป็นแหล่งจ่าย 60 Ah สามารถชาร์จมือถือพร้อมกันได้ 10เครื่อง และสามารถชาร์จรวมกันทั้งหมด 20-30เครื่องต่อการชาร์จแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งจ่าย 1ครั้ง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเนื่องจากใช้โครงสร้างเป็นรถเข็นแบบมีล้อ

         2. ชุดแบตเตอร์รี่แสงสว่าง มีระบบแสงสว่างเป็นสปอร์ตไลท์ 2ชุด ขนาดชุดละ 27W เพื่อใช้ส่องสว่างในยามค่ำคืน ใช้ได้ประมาณ 6-7ชั่วโมง ก่อนนำแบตเตอรี่ไปชาร์จ สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเนื่องจากใช้โครงสร้างเป็นรถเข็นแบบมีล้อ

         3. ชุดโซล่าเซลล์  แผงโซล่าเซลล์พิกัดกำลังไฟฟ้า 110 W แรงดัน 18V กระแส 6A  สามารถชาร์จแบตเตอรี่สำหรับขนาดไม่เกิน 100 Ah  มีระบบแสงสว่างเป็นสปอร์ตไลท์ 1ชุด ขนาด 27W เพื่อใช้ส่องสว่างในยามค่ำคืน สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเนื่องจากใช้โครงสร้างเป็นรถเข็นแบบมีล้อ

         4. ครีมทาแก้น้ำกัดเท้า ผลิตโดย คณะเภสัชศาสตร์  

            ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวชื่นชม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ได้ผลิตเครื่องมือนวัตกรรม และยารักษาโรคช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ทำงานอย่างเป็นระบบรวบรวมข้อมูลผู้ประสบภัยในทุกมิติ ทั้งช่วงแรกที่ประสบภัย ช่วงน้ำท่วม และหลังน้ำลด โดย มหาวิทยาลัยบูรณาการร่วมกัน ของทุกคณะในการทำแผนฟื้นฟูต่อไป

เพลิน  วิชัยวงศ์ นักประชาสัมพันธ์ ม.อุบลฯ    



Search
ลิ้งค์ข่าวสาร