ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

กิจกรรมสัมมนา โครงการรอบรู้ประชาคมอาเซียน : ความร่วมมือสหกิจศึกษา


โพสโดย วิทวัส คำสุข     โพสวันที่ 20 สิงหาคม 2557 ,     (อ่าน 1,137 ครั้ง)  


มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา โครงการรอบรู้ประชาคมอาเซียน : ความร่วมมือสหกิจศึกษา ในวันที่ 16 สิงหาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีอาจารย์ บุคลากรเข้าร่วม 8 คน และสรุปเนื้อหาดังนี้

ดาวน์โหลดรูปคคล๊กenlightened

แนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสหกิจศึกษานานาชาติในกลุ่มประชาคมอาเซียน โดย

ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร  ศรีสอ้าน

ประกาศจัดตั้งโดยปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน( Asean  Concord II หรือ Bali Concord II )

          ตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2020 ( พ.ศ.2563 ) และเร่งรัดให้เป็นประชาคมโดยสมบูรณ์ใน ค.ศ.2015 ( พ.ศ.2558 )ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ( Pillars ) 

1.       ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ( ASEAN Security  Community )

2.       ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ( ASEAN Economic  Community )

3.       ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASEAN Socio – Cultural Community )

การจัดตั้งประชาคมอาเซียน( ASEAN Community ) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน( Ascc )

-                   การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร

-                   แก้ไขผลกระทบต่อสังคมจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ

-                   ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

-                   ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนระดับรากหญ้า

-                   การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมรวมทั้งรับรู้ข่าวสารที่จะเป็นรากฐานนำไปสู่การเป็นประชาชนอาเซียน

 

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน( ASEAN Economic Community )

-                   ASEAN มีความมั่นคงและมั่งคั่งและสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้

-                   เป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน

-                   เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้าบริการ  การลงทุน เงินทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือหรือแรงงานความรู้อย่างเสรี

 

การอุดมศึกษากับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยการ รู้ รับ ปรับตัว และรุก    การ รู้ รับ ปรับตัว “  ด้านสังคมและวัฒนธรรม

-                   ปรับหลักสูตรและการเรียนการสอนให้นักศึกษาตระหนักในเรื่องของอาเซียน  สำนึกในความเป็นอาเซียน

-                   เพิ่มทักษะ ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางของอาเซียน

-                   ขยายการเปิดสอนภาษาถิ่นของประเทศสมาชิก

-                   จัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา  คณาจารย์ของประเทศอาเซียน

การเตรียมแรงงานความรู้สู่ประชาคมอาเซียนรุกไปข้างหน้า

-                   พัฒนาบัณฑิตสู่ตลาดแรงงานยุคใหม่

-                   การแลกเปลี่ยนนักศึกษา ( Student  Mobility ) ในอาเซียนให้มากขึ้น

-                   ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาโดยถือเป็นความร่วมมือของอาเซียน

-                   จัดหาวิธีการใหม่ๆในการผลิตแรงงานความรู้

ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียนเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล

-                   พัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการทำงานได้

-                   พัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพ และการทำงานข้ามวัฒนธรรม

พัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประชาคมอาเซียน

-                   พัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะสากล

-                   พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพระดับสากล

-                   พัฒนาวิชาการและการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ

 

ทิศทางสหกิจศึกษาไทย

การจัดสหกิจศึกษาระดับอุดมศึกษา

-                   พัฒนาต่อเนื่องมา 20 ปี เพื่อ

                        -   เพื่อเสริมการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต

             -    เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน

             -    เพื่อเตรียมบัณฑิตเข้าสู่งานและอาชีพ

-     มีการจัดกว้างขวางระดับปริญญาตรี

                       -   นักศึกษาเข้าร่วมแต่ละปีไม่น้อยกว่า 25,000 คน

                        -   สถาบันอุดมศึกษาที่จัดแต่ละปี  ไม่น้อยกว่า 100 แห่ง

                       -   สถานประกอบการร่วมจัดแต่ละปี ไม่น้อยกว่า 5,000 แห่ง

                       -    มีความพร้อมที่จะจัดสหกิจศึกษานานาชาติได้มากขึ้น

 

สหกิจศึกษานานาชาติ( International  Cooperative  Education )

1.ตลาดแรงงานในอนาคต : ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงและแข่งขันสูงขึ้น

-                   เฉพาะถิ่น เฉพาะที่  เฉพาะประเทศ

-                   มีความเป็นสากลมากขึ

-                   ความรู้และทักษะกรทำงาน

-                   เครื่องมือ  อุปกรณ์  เทคโนโลยี

-                   ความรู้และทักษะการทำงาน

-                   มีความไร้พรมแดน

-                   โลกาภิวัตน์มากขึ้น

-                   Regionalization

-                   Internationalization

2.แนวโน้มการจัดสหกิจศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

       1.  ตลาดแรงงาน

-จะเป็นตลาดแรงงานเสรีที่มีความเป็นสากลมากขึ้น

-มีความเคลื่อนไหวของแรงงานความรู้กว้างขวางขึ้น

      

   2.   การจัดสหกิจศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

- มีมาตรฐานเป็นสากลมากขึ้น

          - ความรู้

          - ทักษะ

          - ภาษา  สังคม  และวัฒนธรรมการทำงาน

          - จัดสหกิจศึกษานานาชาติมากขึ้นโดย

          - พัฒนาหลักสูตรและการจัด

          - ให้ประสบการณ์ทำงานในประเทศเป้าหมาย

          - ร่วมทำสหกิจศึกษาในสถานประกอบการที่มีหน่วยงานในประเทศต่างๆ

          - จัดให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์สหกิจศึกษากับประเทศเป้าหมาย

 

สหกิจศึกษานานาชาติกับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียน

-                   การผลิตบัณฑิตในปัจจุบันและอนาคตจะต้องมุ่งตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น ( Market  Driven )

-                   ตลาดแรงงานในยุคโลกาภิวัฒน์เป็นตลาดเสรีมากขึ้น  ข้ามชาติมากขึ้น  รวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจมากขึ้น  เป็นสากลมากขึ้น

-                   มีผลกระทบทำให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องตอบสนองต่อตลาดแรงงานยุคใหม่ด้วยการพัฒนาแรงงานความรู้ตามความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น

-                   การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตต้องคำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานความเป็นสากล  ความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรม  การทำงานต่างวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น

-                   สหกิจศึกษาจึงมีความเป็นนานาชาติมากยิ่งขึ้นโดยการเปลี่ยนนักศึกษาไปปฏิบัติสหกิจศึกษาในประเทศต่างๆมากขึ้น  ( Internatiomnal  Engagement )

-                   หสกิจศึกษานานาชาติจึงเป็นมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสำหรับตลาดแรงงานยุคใหม่และเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ

 

แนวทางการจัดสหกิจศึกษานานาชาติกับการพัฒนาบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียน

- มีการจัดสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศอาเซียนอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่

- สามารถพัฒนาสหกิจศึกษาในแต่ละสถาบันอุดมศึกษาของแต่ละประเทศให้เป็นสหกิจศึกษานานาชาติได้

- มีการเตรียมนักศึกษาเพิ่มก่อนไปสหกิจศึกษาในต่างประเทศ

-พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในประเทศเป้าหมาย                                                          

- จัดทำความตกลงกับสถาบันอุดมศึกษาในประเทสเป้าหมายในรูปต่างตอบแทน ( Reciprocity )หรือรูปอื่นเพื่อการร่วมกันจัดสหกิจศึกษานานาชาติ

- การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในรูปต่างตอบแทน ( Reciprocity ) สามารถทำได้ทันที ประหยัดและมีผลกระทบต่อการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาน้อยที่สุด

-สหกิจศึกษานานาชาติจะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะด้านการทำงานข้ามวัฒนธรรมและช่วยให้การเคลื่อนย้ายแรงงานความรู้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การจัดระบบการอุดมศึกษาในประชาคมอาเซียนรองรับการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ

- ระดับสถาบันอุดมศึกษาในแตะละประเทศ

- ปรับปรุงสาระความรู้

- พัฒนาความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาถิ่นของประเทศเป้าหมาย

-เตรียมความพร้อมด้านทักษะและวัฒนธรรมการทำงานข้ามประเทศ

-แลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์ให้กว้างขวางขึ้น

 

นโยบายและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย

- นโยบายรัฐบาลและ สกอ. สนับสนุนการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ

- มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้จัดสหกิจศึกษานานาชาติอยู่แล้วโดยผ่านองค์กรสมาคมและบริษัทชาติ  ที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาสหกิจศึกษาแต่ทำได้จำกัด

- องค์กรเอกชนระดับโลก เช่น  WACE ได้สนับสนุนมวลสมาชิกทั่วโลก  ให้จัดสหกิจศึกษานานาชาติให้กว้างขวางขึ้นและได้จัดตั้ง International  Satellite  Office ( iso ) ขึ้นในภูมิภาค  ขณะนี้มี ISO ที่ประเทศไทยสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  และที่ประเทศสวีเดนสำหรับยุโรป  รวมทั้งการจัดทำ  MOU ระหว่างสมาชิกของ WACE เพื่อเป็นศูนย์กลางจัดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติในประเทศโลก

- สถาบันอุดมศึกษาที่จัดสหกิจศึกษาภายในประเทศได้เข็มแข็งแล้ว  น่าจะขยายการจัดสหกิจศึกษานานาชาติโดย

- จัดหลักสูตรเตรียมนักศึกษา

-สร้างความพร้อมให้คณาจารย์

- จัดหุ้นส่วนสหกิจศึกษานานาชาติในรูปต่างตอบแทน

- แลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์สหกิจศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศเป้าหมาย

- ส่งเสริมให้ภาคีภาครัฐ  เช่น กระทรวงการต่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ  และองค์กรเอกชนรวมทั้งบริษัทข้ามชาติที่มีเครือ ข่ายสาขาทั่วโลก  ร่วมรับผิดชอบดำเนินการสหกิจศึกษากับสถาบันอุดมศึกษา

สรุป

ตลาดแรงงานในอนาคตของประชาคมโลกอาเซียนจะเป็นตลาดแรงงานเสรีที่มีความเป็นสากลมีการเคลื่อนไหวของแรงงานความรู้กว้างขวางขึ้นการจัดสหกิจศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตก็จะต้องพัฒนาไปสู่สหกิจศึกษานานาชาติมากขึ้น



Search
ลิ้งค์ข่าวสาร