การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานด้านการพัฒนาหลักสูตร โดยมีข้อมูลผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วม เกี่ยวกับประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม ผลจากการมีส่วนร่วม การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน รายละเอียดดังนี้
1. วิธีการสรรหาบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วย การจัดทำหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร พ.ศ. 2564 ได้เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัย โดยแบ่งออกเป็น 2 คณะกรรมการ ได้แก่
ก. คณะกรรมการร่างและพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาหรือสาขาวิชาจากภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวนไม่น้อยกว่าสองคน และผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพเข้าร่วมเป็นกรรมการประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคน (ถ้ามี) ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงานและประเทศ
โดยกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างและพัฒนาหลักสูตร มีดังนี้
1) คณะ/วิทยาลัยเสนอรายชื่อคณะกรรมการร่างและพัฒนาหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจาก ที่ประชุมคณะ/วิทยาลัย และส่งมายังงานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา
2) งานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา จัดทำคำสั่ง/ประกาศแต่งตั้งเสนอรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พิจารณาลงนาม
3) แจ้งเวียนคำสั่ง/ประกาศต่อคณะ/วิทยาลัยเจ้าของเรื่อง
คณะกรรมการร่างและพัฒนาหลักสูตร จัดทำบทสรุปการขอเปิดหลักสูตรใหม่/การปรับปรุงหลักสูตร รายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา และข้อมูลผู้ใช้บัณฑิตจากภาครัฐหรือเอกชนหรือภาคประชาชน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะ/วิทยาลัย คณะกรรมการบริหารวิชาการมหาวิทยาลัย คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรฯ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาอนุมัติหลักสูตร โดยการเสนอหลักสูตรต่อคณะกรรมการต่าง ๆ นั้น จะได้รับข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพิจารณาเพิ่มเติม/ปรับปรุงหลักสูตรต่อไป
ข. คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัย ที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในกลุ่มสาขาต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในพิจารณากลั่นกรองการเปิดหลักสูตรใหม่ การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร การปิดหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตร กรณีไม่กระทบโครงสร้างหลักสูตร และการจัดการศึกษาหลักสูตรในระดับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศ และแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ พิจารณาให้ความเห็นชอบการอนุมัติรายวิชาใหม่ และการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร รายวิชา ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการ ประกอบด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัย (ที่ได้รับมอบหมาย) อธิการบดี (โดยตำแหน่ง) ผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 3- 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 3- 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำนวน 3- 4 คน และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
โดยกระบวนการได้มาของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัย งานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา ดำเนินการดังนี้
1) แจ้งเวียนคณะ/วิทยาลัย เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรฯ เพื่อให้การดำเนินงานด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ
2) รวบรวมรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ และเสนอระเบียบวาระต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อพิจารณาคัดเลือกรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3) เสนอระเบียบวาระต่อสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อพิจารณาอนุมัติรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
4) จัดทำคำสั่งสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยนายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นผู้ลงนาม
การประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จะจัด 2 เดือนต่อครั้ง และสำหรับปีที่มีการปรับปรุงหลักสูตรจำนวนมากจะกำหนดให้มีการประชุมทุกเดือน ซึ่งปฏิทินการประชุมของคณะกรรมการดังกล่าวจะกำหนดเป็นปี ๆ ไป >> ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม <<
2. ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
ก. คณะกรรมการร่างและพัฒนาหลักสูตร มีส่วนร่วมในการร่างและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการของประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงานและประเทศ
ข. คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัย มีส่วนร่วมในการพิจารณากลั่นกรองการเปิดหลักสูตรใหม่ การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร การปิดหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตร กรณีไม่กระทบโครงสร้างหลักสูตร และการจัดการศึกษาหลักสูตรในระดับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศ และแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ พิจารณาให้ความเห็นชอบการอนุมัติรายวิชาใหม่ และการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
3. สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม ผู้มีส่วนร่วมได้แสดงความเห็นในรายละเอียดรายวิชา (มคอ.2) ของแต่ละหลักสูตรในเรื่องของข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการและโครงสร้างหลักสูตร ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา การพัฒนาอาจารย์ การประกันคุณภาพหลักสูตร การประเมินผลและการปรับปรุงการดำเนินงานของหลักสูตร โดยรายละเอียดข้อคิดเห็นตามรายงานการประชุม >> ตัวอย่างรายงานการประชุม <<
4. การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน หลักสูตรได้มีการทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการมีส่วนร่วมของบุคคลภายนอก >> ตัวอย่างการทบทวนหลักสูตรตามข้อเสนอแนะ <<
5. ผลจากการมีส่วนร่วม การปรับปรุงตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคคลภายนอกทำให้หลักสูตรมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานและได้รับการรับรองหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา ฯ >> ตัวอย่างการรับรองหลักสูตร <<
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |