ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
คลังเอกสาร
คำถามที่พบบ่อย
ถาม-ตอบ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
งานพัฒนาคุณภาพองค์กรและสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
โครงสร้างหน่วยงาน
บุคลากร
ระบบประเมินคุณภาพ
ประกันคุณภาพหลักสูตร
ประกันคุณภาพคณะ/สถาบัน
คณะ
ผลการประเมินคุณภาพภายใน
ข้อมูลพื้นฐาน CDS
แบบฟอร์ม
สถาบัน
ผลการประเมินคุณภาพภายใน
รายงานประเมินตนเอง
สำนักงานอธิการบดี
ผลการประเมินคุณภาพภายใน
รายงานประเมินตนเอง
สำนัก/หน่วยงานเทียบเท่า
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา
ประกาศ/คำสั่ง/ข้อบังคับ
ข้อบังคับ/ประกาศ/คำสั่ง ม.อบ
การจัดการความรู้_KM
คำถามที่ถามบ่อย
1. ถาม :
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ นับอย่างไร
ตอบ :
นับตามปีการศึกษา (นับทั้งอาจารย์ที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ)
2. ถาม :
ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา ในเกณฑ์ข้อที่ 1 นับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ :
ในเกณฑ์มาตรฐานที่ 1 ให้นับรวม notebook และ mobile device ต่างๆ ของนักศึกษามีการลงทะเบียนการใช้ wifi กับสถาบันด้วย
3. ถาม :
การคิดจำนวน FTES
ตอบ :
ให้นำจำนวน FTES ของแต่ละระดับการศึกษารวมเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องเทียบเป็น FTES ของระดับปริญญาตรี
4. ถาม :
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อยู่ในกลุ่มใด ตามการประกันคุณภาพการศึกษา
ตอบ :
กลุ่ม ข (สถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรี)
5. ถาม :
ตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพภายในปีการศึกษา 2553 ที่มีการเก็บข้อมูลตามปีงบประมาณ มีดังนี้
ตอบ :
1.1 , 4.3 และ 8.1
6. ถาม :
ตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพภายในปีการศึกษา 2553 ที่มีการเก็บข้อมูลตามปีปฏิทิน มีดังนี้
ตอบ :
2.9.3 , 2.9.4 , 4.4.1 , 4.4.2 , 4.4.3 , 4.5.1.1 , 4.5.1.2 และ 4.5.1.3
7. ถาม :
ในกรณีมหาวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรเดียวกันกับนอกสถานที่ตั้ง ซึ่งเรียกว่าศูนย์การศึกษาต่าง ๆ จะสามารถใช้อาจารย์ประจำหลักสูตรชุดเดียวกันกับหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยในที่ตั้งได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ :
ไม่ได้ค่ะ แม้ว่าการเปิดสอนหลักสูตรนอกสถานที่ตั้ง (ศูนย์การศึกษา) จะใช้หลักสูตรฉบับเดียวกันกับหลักสูตรในที่ตั้ง แต่ต้องใช้อาจารย์ประจำหลักสูตรคนละชุดกับหลักสูตรที่เปิดสอนในที่ตั้ง เนื่องจากตามนัยของเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 การจัดการศึกษาในสถานที่ตั้ง และอาจารย์ที่มิใช่สถานที่ตั้ง ให้ถือว่าเป็นอีกหลักสูตรที่ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรไม่ซ้ำซ้อนกันทั้งในสถานที่ตั้งและนอกสถานที่ตั้งแต่ละแห่ง
8. ถาม :
อาจารย์ประจำหลักสูตรที่ระบุไว้ว่าต้องมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน คำว่า สัมพันธ์ มีความหมายอย่างไร มีแนวในการพิจารณาอย่างไร
ตอบ :
คำว่า สัมพันธ์ ในที่นี้หมายถึงคุณวุฒิอาจารย์ประจำหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ของหลักสูตรที่เปิดสอน มีตัวบ่งชี้หรือหลักสูตรที่แสดงได้ชัดเจนว่ามีองค์ความรู้ในรายวิชาของหลักสูตรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ ให้กับนักศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548
9. ถาม :
อาจารย์ประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง การรายงานข้อมูลตามแบบฟอร์ม สมอ.07 แยกเฉพาะอีกชุดหนึ่งหรือไม่ หรือต้องให้อาจารย์ประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตอบ :
อาจารย์ประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ถือว่าเป็นอาจารย์ประจำร่วมสอน การรายงานข้อมูลการดำเนินงานหลักสูตรประจำภาคการศึกษาตามแบบ สมอ.07 ไม่ได้ระบุให้อาจารย์ประจำร่วมสอนเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งหลักสูตร จึงไม่จำเป็นต้องรายงานข้อมูล สมอ.07 ที่แจงเป็นรายหลักสูตร แต่ควรแจ้งว่าเป็นอาจารย์ประจำร่วมสอนของสถาบัน
10. ถาม :
อาจารย์ที่เคยเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหนึ่ง แต่ถ้าเปิดหลักสูตรใหม่แล้ว จะย้ายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรเดิม เพื่อมาเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรใหม่ได้หรือไม่
ตอบ :
ได้ การโยกย้ายอาจารย์ประจำจากหลักสูตรเดิมไปประจำหลักสูตรใหม่ จะต้องคำนึงถึงจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเดิมและหลักสูตรใหม่ที่ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย 5 คน ให้เป็นไปตาม เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ พ.ศ. 2548
11. ถาม :
ถ้าอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาตรี มีการพัฒนาคุณวุฒิสูงขึ้น จนสามารถจะไปประจำหลักสูตรระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสามารถแจ้งขอเปลี่ยนแปลงรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่
ตอบ :
มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้ โดยขอให้ผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบันในการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกครั้ง และแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบ ทั้งนี้ จะต้องไม่กระทบกับจำนวนอาจารย์ประจำของหลักสูตรเดิมระดับปริญญาตรีที่ต้องมีอย่างน้อย 5 คน หากมีผลกระทบกับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดหาอาจารย์ประจำไปทดแทนหลักสูตรระดับปริญญาตรีด้วย
12. ถาม :
อาจารย์ประจำตามสัญญาจ้างหรืออาจารย์อัตราจ้าง หรือพนักงานของมหาวิทยาลัย สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่
ตอบ :
สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ เนื่องจากมีการรับเงินเดือนเป็นประจำ ทั้งนี้ขอให้ตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษาให้ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนด้วย
13. ถาม :
กรณีที่หลักสูตรไม่สามารถเปิดสอนได้เนื่องจากนักศึกษาเข้าเรียนน้อยมาก จะต้องรายงาน/ชี้แจงเหตุผลต่อสภามหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แล้วขอปิดหลักสูตรเลยหรือไม่ หากจะขอเปิดอีกทำอย่างไร
ตอบ :
การเปิดหรือปิดดำเนินการหลักสูตร / สาขาวิชาใด เป็นอำนาจของสภาสถาบัน จึงต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบันก่อน และแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนั้นสถาบันสามารถปิดหลักสูตรได้ และขอเปิดหลักสูตรได้อีก อย่างไรก็ตามการจะเปิดหลักสูตร/สาขาวิชาใด สถาบันควรศึกษาความต้องการและแนวโน้มของตลาดแรงงานก่อน เพื่อจะได้ไม่ต้องเสนอขอปิด เนื่องจากมีนักศึกษาสมัครเข้าศึกษาน้อยมาก
14. ถาม :
ถ้าจะรวมหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาบริหารทรัพยากรบุคคล) การให้ปริญญาจะยังคงใช้แบบเดิมคือ บธ.บ. (ตลาด) บธ.บ. (บริหารทรัพยากรบุคคล) ได้หรือไม่
ตอบ :
การรวบรวมสาขาวิชาต่าง ๆ ถือว่าเป็นกลุ่มวิชาเอกภายใต้หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ลักษณะเช่นนี้จึงถือว่าเป็นหลักสูตรเดียวและไม่ต้องวงเล็บสาขาวิชา เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตร จาก 2 หลักสูตรมาเป็นหลักสูตรเดียวมีกลุ่มวิชาเอก 2 กลุ่มวิชาเอก
15. ถาม :
การลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษาสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี กรณีภาคการศึกษาสุดท้ายนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาจะขอลงทะเบียนเกินกว่าที่กำหนดไว้ในเกณฑ์จะได้หรือไม่
ตอบ :
ได้ โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบัน และแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบด้วย