ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล

 
 
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
ภาษาอังกฤษ :Certificate Program for Practical Nursing
 
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ป. ผู้ช่วยพยาบาล
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Certificate for Practical Nursing  
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) :  Cert for PN.
 
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                 6      หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ                       28      หน่วยกิต
          -  รายวิชาภาคทฤษฎี        18       หน่วยกิต
          -  รายวิชาภาคทฤษฎี        10       หน่วยกิต
          -   หมวดวิชาเลือก              2       หน่วยกิต

รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร    36       หน่วยกิต


แผนการเรียน
ภาคเรียนที่ 1
(15 - 18 สัปดาห์)

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 101  ภาษาอังกฤษและศัพท์ทางการแพทย์ 2 (2-0-4)
18 102  พัฒนาการตามวัยกับความต้องการของมนุษย์ 2 (2-0-4)
18 103  การสื่อสารและการทางานเป็นทีมในการให้บริการสุขภาพ 2 (2-0-4)
18 104  หลักกฎหมาย ขอบเขต และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน 1 (1-0-2)
18 105  สุขภาพอนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม 1 (1-0-2)
18 106  ระบบการจัดการอาหารสาหรับผู้ป่วย 1 (1-0-2)
18 107  ระบบการทางานหน่วยบริการสุขภาพและการบารุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และการพยาบาล 2 (2-0-4)
18 108  กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น 2 (2-0-4)
18 109  เทคนิคการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน 3 (2-3-5)
18 110  การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3 (3-0-6)
18 111  การอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก 2 (2-0-4)
  รวม 21 (20-3-41)
 
ภาคเรียนที่ 2 (15 - 18 สัปดาห์)
รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 112  การช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน                                                          2 (2-0-4)
18 113  การช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านสุขภาพจิต 1 (1-0-2)
18 114  ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน 3 (0-12-3)
18 115  ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3 (0-12-3)
18 116  ปฏิบัติการอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก 2 (0-8-2)
  รวม 11 (3-32-14)

ภาคเรียนที่ 3 (9 สัปดาห์)
รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 117  ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน                                        2 (0-8-2)
18 118  ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในสถานพยาบาล 2 (0-8-2)
18 119  ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในชุมชน 2 (0-8-2)
18 xxx  วิชาเลือกเสรี x (x-x-x)
  รวม 8 (0-24-8)

สถานที่ฝึกงาน
     1. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์  
     2. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
     3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองศรีไค 
     4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัววัด
 
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
     1. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตามหลักสูตรที่ระทรวงศึกษาธิการรับรอง     
     2. อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์นับถึงวันเปิดการอบรม
     3. สุขภาพสมบูรณ์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาหรือการปฏิบัตงาน
 
อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการอบรม 
     1. เป็นผู้ช่วยพยาบาลในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ  ตติยภูมิ)
     2. เป็นผู้ช่วยพยาบาลประจำสถานประกอบการ 
     3. เป็นผู้ช่วยพยาบาลประจำโรงงานอุตสาหกรรม/บริษัท 
     4. ประกอบอาชีพอิสระด้านผู้ช่วยพยาบาลทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 
 
ลักษณะงานของผู้ช่วยพยาบาล
1) งานเฉพาะที่มอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลกระทาเป็นงานประจาแต่อยู่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ได้แก่
     1.1) การทาหัตถการที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน โดยไม่ทาให้เกิดอันตรายทันทีถ้าไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน (Non-invasive)
            1.1.1) การดูดเสมหะในผู้ปุวยผู้ใหญ่ที่มีอาการคงที่
            1.1.2) การดูแลผู้ปุวยที่มี Tracheostomy tube ที่มีอาการคงที่
            1.1.3) การสวนปัสสาวะทิ้งในผู้ปุวยที่ไม่มีพยาธิสภาพของระบบทางเดินปัสสาวะ/การใส่ถุงยางอนามัยเพื่อรองรับปัสสาวะ
            1.1.4) การสวนอุจจาระผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่ไม่มีพยาธิสภาพของระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง
            1.1.5) การประคบร้อน ประคบเย็นในผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุที่รู้สึกตัวดีและสามารถรับความรู้สึกได้
     1.2) การเก็บข้อมูล บันทึก และรายงานข้อมูลต่อไปนี้
            1.2.1) สัญญาณชีพ น้าหนัก ส่วนสูง ปริมาณน้าดื่ม และปัสสาวะ การตรวจน้าตาลในปัสสาวะ และตรวจความเข้มข้นของเลือด
            1.2.2) ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่ผ่านการประเมินจากพยาบาลวิชาชีพแล้ว
            1.2.3) การตอบสนองต่อการพยาบาลของผู้ปุวย
            1.2.4) ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อม
            1.2.5) ความคิดเห็นของบุคคลและครอบครัวเกี่ยวกับการดูแล
            1.2.6) การสังเกตและเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องทดลอง การเก็บและตรวจหาน้าตาลในปัสสาวะ
            1.2.7) การรักษาความสะอาดร่างกายบุคคลและการเช็ดตัวเพื่อลดไข้
2) งานเฉพาะที่มอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลกระทาเป็นงานประจาโดยผู้ปุวยมีอาการคงที่/ไม่รุนแรง
     2.1) การช่วยในการเดิน การจัดท่า การพลิกตัว
     2.2) การดูแลสุขอนามัย การขับถ่าย การอาบน้าทารก การเช็ดตัวลดไข้
     2.3) การเตรียมถาดอาหาร การให้อาหาร
     2.4) การให้อาหารและน้าทางสายยางสู่กระเพาะอาหารและลำไส้
     2.5) การดูแลในกิจวัตรประจาวัน
     2.6) กิจกรรมทางสังคม เช่น การให้ผู้ปุวยเข้าร่วมกลุ่ม
     2.7) การช่วยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้ผู้ปุวยเรียนรู้เรื่องสุขภาพ
     2.8) การฟื้นฟูสภาพตามแผนการรักษาพยาบาล
            2.8.1) การเคลื่อนไหวและการบริหารร่างกาย
            2.8.2) การจัดท่า พลิกตัว
            2.8.3) การบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อผู้ปุวย (Passive and active exercise) ตามแผนการรักษาพยาบาล
     2.9) การประเมินสภาพของผู้ปุวยโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ ได้แก่ อาการเจ็บปวด การพลัดตกหกล้ม ลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติ เช่น ลักษณะผิวหนังที่เกิดจากการผูกยึด ลักษณะผิวหนังที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เป็นต้น
     2.10) การดูแลผู้ปุวยที่เสียชีวิต
     2.11) การช่วยฟื้นคืนชีพระดับพื้นฐาน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
     2.12) การปูองกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค
     2.13) การทาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้คลอดและผู้ปุวยนรีเวช
     2.14) การช่วยรับผู้ปุวยที่ผ่านการกลั่นกรองและวินิจฉัยแยกประเภทแล้ว
     2.15) การช่วยย้ายและจาหน่ายผู้ปุวยจากหอผู้ปุวย
     2.16) การเตรียมและช่วยเหลือในการตรวจร่างกาย
3) การให้ยา กระทาได้ในกรณีต่อไปนี้
     3.1) ในสถานบริการสุขภาพที่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ปฏิบัติงานเป็นประจา ได้แก่ สถานพักฟื้นระยะยาว(Long-term care) ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์จะต้องประเมินภาวะสุขภาพ วางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผล โดยผู้ช่วยพยาบาลจะต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องการให้ยาโดยเฉพาะ
     3.2) ในสถานที่ที่บุคคลอาศัยอยู่อย่างอิสระ ภาวการณ์เจ็บปุวยคงที่หรือคาดการณ์ได้และบุคคลสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ผู้ช่วยพยาบาลสามารถให้ยาแก่ผู้ปุวยตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์มอบหมาย เช่น ให้ยาทางปากหรือทางท่อให้อาหาร อมใต้ลิ้นหรือให้ยาเฉพาะที่ได้ และผู้ช่วยพยาบาลจะต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องการให้ยาอย่างเป็นระบบโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ นิเทศงานอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งหรือเมื่อมีการปรับเปลี่ยนยา