ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

Program Specification 2563

ชี่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (ปรับปรุง) พ.ศ. 2563
ภาษาอังกฤษ : Certificate Program for Practical Nursing
 
ชื่อประกาศนียบัตรภาษาไทย : ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
ภาษาอังกฤษ : Certificate for Practical Nursing  

สภาการพยาบาล ให้การรับรองหลักสุตร เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

หลักการและเหตุผล
     จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรโดยสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ (complete aged society) ใน พ.ศ. 25641 เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีพัฒนาการในทางเสื่อมถอย  ผลที่ตามมาจากภาวะสูงอายุ ได้แก่ ปัญหาสุขภาพกายหรือการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้  ความเสื่อมจากโรคสะสมมากขึ้น ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของบุคคลเพื่อการดูแลประคับประคอง2 ประกอบกับใน พ.ศ. 2553 - 2557 สถิติโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ทำให้ความต้องการการพยาบาลที่ซับซ้อนและการดูแลต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการบุคลากรด้านการพยาบาลมากขึ้น ซึ่งการขาดแคลนพยาบาลจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชน  โรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่งไม่สามารถเปิดแผนกผู้ป่วยหนักได้  บางแห่งไม่สามารถเปิดให้บริการหอผู้ป่วยในใหม่ให้เพียงพอได้  ทั้งที่มีอาคารและเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อม  ทำให้เกิดสภาพผู้ป่วยล้นเตียง และยังพบว่าโรงพยาบาลที่ขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพส่งผลให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยนานขึ้น และมีอัตราการตายเพิ่มมากขึ้นในโรงพยาบาล ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล3 นอกนี้ จากการศึกษาภาระงานของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่าในภาพรวมการทํางานของบุคลากร ใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานรักษาพยาบาล (ร้อยละ 60 - 70) มากกว่างานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  และมีความขาดแคลนกําลังคนเมื่อเทียบกับภาระงาน  พยาบาลวิชาชีพมีภาระงานพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น5
     จะเห็นได้ว่า แนวโน้มความต้องการการพยาบาลมีมากขึ้นทั้งความต้องการการพยาบาลในโรงพยาบาล และความต้องการการพยาบาลในชุมชน การผลิตผู้ช่วยพยาบาลเพื่อเป็นทีมการบริการสุขภาพจึงมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของฐานประชากร ซึ่งนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนการผลิตหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ปี  2560-2564 เพื่อสนับสนุนการให้การบริการด้านการพยาบาล โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากโรงพยาบาล 96 แห่ง พบว่า มีจำนวนผู้ช่วยพยาบาลทั้งหมด จำนวน 1,756 คน ผลการสำรวจความต้องการผู้ช่วยพยาบาลเพิ่ม จำนวน 4,731 คน ส่วนจำนวนผู้ช่วยพยาบาลที่ต้องผลิตเพิ่มคำนวณตามค่าภาระงานเต็มเวลาขั้นต่ำ จำนวน 6,871 คน (ข้อมูลจากงานบุคลากร  สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 29 กันยายน 2559) จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึงความต้องการการผลิตผู้ช่วยพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการในการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน ซึ่งบทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยพยาบาลนั้น สภาการพยาบาลได้กำหนดให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทางการพยาบาล ภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในการดูแลผู้ที่ต้อง พึ่งพิงเกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือผู้ป่วยตามความต้องการขั้นพื้นฐานใน กิจวัตรประจำวัน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และ อันตรายต่างๆ สังเกตอาการ วัดสัญญาณชีพ และบันทึกติดตามความเปลี่ยนแปลงของอาการและอาการแสดง ช่วยเหลือในการตรวจและการรักษาพยาบาลต่างๆ จัดสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ รวมทั้งช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพตามแผนการรักษาพยาบาล
     จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา โดยมุ่งผลิตผู้ช่วยพยาบาลมีศักยภาพ มีทักษะการทำงานในสถานพยาบาล ครอบครัวและชุมชน การพัฒนาด้านทักษะการช่วยเหลือการพยาบาล และการปลูกจิตสำนึกในการให้บริการด้านสุขภาพ6 รวมถึงสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นั่นคือ “สร้างสรรค์ สามัคคี สำนึกดีต่อสังคม” มีผู้สำเร็จการอบรม จำนวน 4 รุ่น ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 นี้ คณะฯจึงดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรโดยนำข้อเสนอแนะจากผู้ที่สำเร็จการอบรมและผู้ใช้ผู้ที่สำเร็จการอบรม และผู้เกี่ยวข้องมาใช้ในการปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการการบริการของประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยต่อไป  

ปรัชญาของหลักสูตร
     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความเชื่อว่าผู้ช่วยพยาบาลเป็นผู้ช่วยทำการพยาบาลตามที่พยาบาลมอบหมายในการดูแลผู้ที่ต้องพึ่งพิงเกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือบุคคลตามความต้องการขั้นพื้นฐานในกิจวัตรประจำวัน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และอันตรายต่างๆ สังเกตอาการ วัดสัญญาณชีพ และทำการบันทึกติดตามความเปลี่ยนแปลงของอาการและอาการแสดงของโรค ช่วยเหลือในการตรวจและการรักษาพยาบาลต่างๆจัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมให้การปฐมพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งให้การฟื้นฟูสภาพตามแผนการรักษาพยาบาล การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ศึกษาวิชาการศึกษาทั่วไปและการพยาบาลขั้นพื้นฐาน ตลอดจนมีวิชาให้เลือกเรียนก่อนสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล พยาบาล และบุคลากรในทีมสุขภาพ สามารถให้การพยาบาลขั้นพื้นฐานเพื่อให้บุคคลดำรงชีวิตด้านการดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามอัตภาพ และมีโอกาสเลือกเรียนในวิชาที่สนใจผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล จะสามารถช่วยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในการดูแลบุคคล ทั้งในสถานพยาบาล ที่บ้าน และในชุมชน ในด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและการพยาบาลบุคคลที่อยู่ในระยะท้าย โดยอยู่ภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลทั้งที่มีภาวะสุขภาพดีหรือเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่รุนแรง ซับซ้อน สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ภายหลังสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีความสามารถและคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
  1.  ช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านความต้องการขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและอันตรายต่างๆ และการฟื้นฟูสภาพภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
  2. .ติดตามและบันทึกความเปลี่ยนแปลงอาการและอาการแสดงของโรคและความต้องการของผู้ป่วยและญาติตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์มอบหมาย
  3. ช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมในการตรวจรักษาพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 
  4. ช่วยทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ 
  5. มีทัศนคติที่ดีต่อการช่วยเหลือดูแลบุคคล 
  6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทีมสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  7. มีคุณธรรมและจริยธรรม
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา 
  1. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตามหลักสูตรที่ระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  2. อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเปิดการศึกษา
  3. สุขภาพสมบูรณ์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาหรือการปฏิบัตงาน
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (ปรับปรุง) พ.ศ. 2563 มีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตขั้นต่ำของแต่ละหมวดวิชา ดังนี้
 
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย  
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ไม่น้อยกว่า   6 หน่วยกิต 
2) หมวดวิชาเฉพาะ  ไม่น้อยกว่า 28 หน่วยกิต 
  2.1) รายวิชาภาคทฤษฎี  ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต 
  2.2) รายวิชาภาคปฏิบัติ  ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต 
3) หมวดวิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า   2 หน่วยกิต
     
รายวิชาในหลักสูตร   
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  6 หน่วยกิต
  18101 ภาษาอังกฤษและศัพท์ทางการแพทย์ 2(2-0-4)
  18102 พัฒนาการตามวัยกับความต้องการของมนุษย์ 2(2-0-4)
  18103 การสื่อสารและการทำงานเป็นทีมในการให้บริการสุขภาพ 2(2-0-4)
2) หมวดวิชาเฉพาะ  28 หน่วยกิต
  18104 หลักกฎหมาย ขอบเขต และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน 1(1-0-2)
  18105 สุขภาพอนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม 1(1-0-2)
  18106 ระบบการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วย 1(1-0-2)
  18107 ระบบการทำงานหน่วยบริการสุขภาพและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และการพยาบาล 2(2-0-4)
  18108 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น 2(2-0-4)
  18109 เทคนิคการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน 3(2-3-5)
  18110 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3(3-0-6)
  18111 การอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก 2(2-0-4)
  18112 การช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน 2(2-0-4)
  18113 การช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านสุขภาพจิต 1(1-0-2)
  18114 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน 3(0-12-3)
  18115 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3(0-12-3)
  18116 ปฏิบัติการอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก 2(0-8-2)
  18117 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน 2(0-8-2)
หมวดวิชาเลือก เลือกวิชาใดวิชาหนึ่ง 2 หน่วยกิต 
  18118 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในสถานพยาบาล 2(0-8-2)
  18119 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในชุมชน 2(0-8-2)

 

แผนการเรียน

ภาคเรียนที่ 1 (15 – 18 สัปดาห์)

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 101 ภาษาอังกฤษและศัพท์ทางการแพทย์ 2(2-0-4)
18 102 พัฒนาการตามวัยกับความต้องการของมนุษย์  2(2-0-4)
18 103 การสื่อสารและการทำงานเป็นทีมในการให้บริการสุขภาพ 2(2-0-4)
18 104 หลักกฎหมาย ขอบเขต และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน  1(1-0-2)
18 105 สุขภาพอนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม  1(1-0-2)
18 106 ระบบการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วย  1(1-0-2)
18 107 ระบบการทำงานหน่วยบริการสุขภาพและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และการพยาบาล 2(2-0-4)
18 108 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น 2(2-0-4)
18 109 เทคนิคการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน  3(2-3-5)
18 110 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3(3-0-6)
18 111 การอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก   2(2-0-4)
รวม   21(20-3-41)

 

ภาคเรียนที่ 2 (15 – 18 สัปดาห์)

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 112 การช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน 2(2-0-4)
18 113 การช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านสุขภาพจิต 1(1-0-2)
18 114 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน 3(0-12-3)
18 115 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  3(0-12-3)
18 116 ปฏิบัติการอภิบาลทารกและช่วยเหลือดูแลเด็ก  2(0-8-2)
รวม   11(3-32-14)

 

ภาคฤดูร้อน (9 สัปดาห์)

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 117 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลที่บ้านและในชุมชน 2(0-8-2)
วิชาเลือกเสรี (เลือกวิชาใดวิชาหนึ่ง) ดังต่อไปนี้  
18 118 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในสถานพยาบาล 2(0-8-2)
18 119 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลสุขภาพบุคคลในชุมชน 2(0-8-2)
รวม   4(0-16-4)

 

การวัดและการประเมินผล ผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาต้อง
  1. มีเวลาการศึกษาในหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 
  2. การประเมินผลภาคทฤษฎีต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2 จากระบบ 4 แต้มระดับ คะแนน 
  3. การประเมินผลภาคปฏิบัติทุกรายวิชาต้องได้แต้มระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า 2 จากระบบ 4 แต้มระดับคะแนน

 

การประกันคุณภาพหลักสูตร 
มีระบบประกันคุณภาพของหลักสูตร ที่สอดคล้องกับนโยบายของสถาบัน โดยประกันคุณภาพในเรื่อง ดังต่อไปนี้ 

  1. การบริหารหลักสูตร มีคณะกรรมการหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ทำหน้าที่บริหารหลักสูตรให้มีการจัดการเรียน การสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 
  2. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน ประกอบด้วยตำรา วารสาร Digital book ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ มีระบบสืบค้นที่ทันสมัย มีห้องปฏิบัติการพร้อมกับอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อฝึกหัดการช่วยเหลือดูแลบุคคล และมีห้องเรียนอย่างเพียงพอ 
  3. การสนับสนุนและการให้คำแนะนำผู้รับการศึกษา สถานศึกษาจัดให้มีอาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์ ที่ปรึกษารายบุคคลให้กับผู้รับการศึกษา ทำหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมของผู้รับการศึกษา และให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้รับการศึกษา 
  4. การได้งาน และความพึงพอใจของผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษา มีการประเมินการได้งานทำและความพึงพอใจของ ผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษาหลังจากปฏิบัติงานแล้วอย่างน้อย 1 ปี

อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการอบรม 
  1. เป็นผู้ช่วยพยาบาลในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ  ตติยภูมิ)
  2. เป็นผู้ช่วยพยาบาลประจำสถานประกอบการ 
  3. เป็นผู้ช่วยพยาบาลประจำโรงงานอุตสาหกรรม/บริษัท 
  4. ประกอบอาชีพอิสระด้านผู้ช่วยพยาบาลทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 
ลักษณะงานของผู้ช่วยพยาบาล
1) งานเฉพาะที่มอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลกระทาเป็นงานประจาแต่อยู่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ได้แก่
     1.1) การทาหัตถการที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน โดยไม่ทาให้เกิดอันตรายทันทีถ้าไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน (Non-invasive)
            1.1.1) การดูดเสมหะในผู้ปุวยผู้ใหญ่ที่มีอาการคงที่
            1.1.2) การดูแลผู้ปุวยที่มี Tracheostomy tube ที่มีอาการคงที่
            1.1.3) การสวนปัสสาวะทิ้งในผู้ปุวยที่ไม่มีพยาธิสภาพของระบบทางเดินปัสสาวะ/การใส่ถุงยางอนามัยเพื่อรองรับปัสสาวะ
            1.1.4) การสวนอุจจาระผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่ไม่มีพยาธิสภาพของระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง
            1.1.5) การประคบร้อน ประคบเย็นในผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุที่รู้สึกตัวดีและสามารถรับความรู้สึกได้
     1.2) การเก็บข้อมูล บันทึก และรายงานข้อมูลต่อไปนี้
            1.2.1) สัญญาณชีพ น้าหนัก ส่วนสูง ปริมาณน้าดื่ม และปัสสาวะ การตรวจน้าตาลในปัสสาวะ และตรวจความเข้มข้นของเลือด
            1.2.2) ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่ผ่านการประเมินจากพยาบาลวิชาชีพแล้ว
            1.2.3) การตอบสนองต่อการพยาบาลของผู้ปุวย
            1.2.4) ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อม
            1.2.5) ความคิดเห็นของบุคคลและครอบครัวเกี่ยวกับการดูแล
            1.2.6) การสังเกตและเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องทดลอง การเก็บและตรวจหาน้าตาลในปัสสาวะ
            1.2.7) การรักษาความสะอาดร่างกายบุคคลและการเช็ดตัวเพื่อลดไข้
2) งานเฉพาะที่มอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลกระทาเป็นงานประจาโดยผู้ปุวยมีอาการคงที่/ไม่รุนแรง
     2.1) การช่วยในการเดิน การจัดท่า การพลิกตัว
     2.2) การดูแลสุขอนามัย การขับถ่าย การอาบน้าทารก การเช็ดตัวลดไข้
     2.3) การเตรียมถาดอาหาร การให้อาหาร
     2.4) การให้อาหารและน้าทางสายยางสู่กระเพาะอาหารและลำไส้
     2.5) การดูแลในกิจวัตรประจาวัน
     2.6) กิจกรรมทางสังคม เช่น การให้ผู้ปุวยเข้าร่วมกลุ่ม
     2.7) การช่วยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้ผู้ปุวยเรียนรู้เรื่องสุขภาพ
     2.8) การฟื้นฟูสภาพตามแผนการรักษาพยาบาล
            2.8.1) การเคลื่อนไหวและการบริหารร่างกาย
            2.8.2) การจัดท่า พลิกตัว
            2.8.3) การบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อผู้ปุวย (Passive and active exercise) ตามแผนการรักษาพยาบาล
     2.9) การประเมินสภาพของผู้ปุวยโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ ได้แก่ อาการเจ็บปวด การพลัดตกหกล้ม ลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติ เช่น ลักษณะผิวหนังที่เกิดจากการผูกยึด ลักษณะผิวหนังที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เป็นต้น
     2.10) การดูแลผู้ปุวยที่เสียชีวิต
     2.11) การช่วยฟื้นคืนชีพระดับพื้นฐาน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
     2.12) การปูองกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค
     2.13) การทาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้คลอดและผู้ปุวยนรีเวช
     2.14) การช่วยรับผู้ปุวยที่ผ่านการกลั่นกรองและวินิจฉัยแยกประเภทแล้ว
     2.15) การช่วยย้ายและจาหน่ายผู้ปุวยจากหอผู้ปุวย
     2.16) การเตรียมและช่วยเหลือในการตรวจร่างกาย
3) การให้ยา กระทำได้ในกรณีต่อไปนี้
     3.1) ในสถานบริการสุขภาพที่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ปฏิบัติงานเป็นประจา ได้แก่ สถานพักฟื้นระยะยาว(Long-term care) ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์จะต้องประเมินภาวะสุขภาพ วางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผล โดยผู้ช่วยพยาบาลจะต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องการให้ยาโดยเฉพาะ
     3.2) ในสถานที่ที่บุคคลอาศัยอยู่อย่างอิสระ ภาวการณ์เจ็บปุวยคงที่หรือคาดการณ์ได้และบุคคลสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ผู้ช่วยพยาบาลสามารถให้ยาแก่ผู้ปุวยตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์มอบหมาย เช่น ให้ยาทางปากหรือทางท่อให้อาหาร อมใต้ลิ้นหรือให้ยาเฉพาะที่ได้ และผู้ช่วยพยาบาลจะต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องการให้ยาอย่างเป็นระบบโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ นิเทศงานอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งหรือเมื่อมีการปรับเปลี่ยนยา