ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

Program Specification 2558

ชื่อหลักสูตร   
ภาษาไทย :     หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. 2558
ภาษาอังกฤษ : Certificate Program in Practical Nursing
 
ชื่อประกาศนียบัตร   
ภาษาไทย :     ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล 
ภาษาอังกฤษ : Certificate in Practical Nursing

สภาการพยาบาล ให้การรับรองหลักสุตร เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

หลักการและเหตุผล
     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เมื่อปีการศึกษา 2553 เพื่อผลิตบัณฑิตพยาบาลตอบสนองความต้องการบริการพยาบาลของประชาชนในเขตภูมิภาคอีสานใต้ และยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาวะขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ ทั้งในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ สำหรับพื้นที่ในเขตอีสานใต้ จังหวัดอุบลราชธานี มีพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 1,599 คน แต่กำลังคนของกระทรวงสาธารณสุขตามเกณฑ์พื้นที่ ควรมีพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 3,681 คน จะเห็นว่าจังหวัดอุบลราชธานียังขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 2,082 คน อีกทั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในปีงบประมาณ 2556 โดยให้บริการแบบผู้ป่วยนอก และมีแผนเปิดให้บริการแบบผู้ป่วยใน ขนาด 400 เตียง ในปีงบประมาณ 2558 จึงจำเป็นต้องมีอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และจากแนวโน้มสังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ โดยปัจจุบันมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุกว่า ร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับอัตราการเกิดที่ต่ำลง ทำให้ในอนาคตปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ซึ่งมีความจำเป็นในการดูแลสุขภาพของประชากรกลุ่มดังกล่าว ตั้งแต่การป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการพึ่งพิง การดูแลรักษาต่อเนื่องจากโรงพยาบาล ซึ่งการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลายคนต้องการการพึ่งพิง หลายคนเป็นโรคเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มเป็นผู้ป่วยติดเตียงมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการบริการช่วยเหลือดูแลสำหรับประชากรกลุ่มดังกล่าวมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตบุคลากรออกไปดูแลสุขภาพประชากรสูงอายุในทุกพื้นที่ ทั้งพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาล
     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความตระหนักถึงพันธกิจการผลิตบุคลากร ทีมสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตพยาบาลวิชาชีพ และตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตผู้ช่วยพยาบาล เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มสังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ โดยการผลิตผู้ช่วยพยาบาลหลักสูตร 1 ปี เพื่อช่วยงานพยาบาลวิชาชีพภายใต้ขอบเขตของผู้ช่วยพยาบาล ทั้งในสถานบริการ ที่บ้านและชุมชน โดยยึดหลักการมีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม มีเมตตา และเป็นพลเมืองดี จึงได้จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลขึ้น
 
ปรัชญาของสถาบัน
     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความเชื่อว่าสุขภาพเป็นสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและปัญญา ซึ่งเป็นผลจากการดูแลตนเองโดยใช้ศักยภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยเงื่อนไขต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการ ได้แก่ บุคคล ครอบครัวและชุมชน มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลสุขภาพของตนเอง การพยาบาลจึงมุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้ใช้บริการ ครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพ ที่เป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนั้น การจัดการศึกษาพยาบาลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ร่วมพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้กับชุมชนและท้องถิ่น โดยเน้นการพยาบาลองค์รวม จะสามารถผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกต่อท้องถิ่น ความเป็นผู้นำ และสมรรถนะการทำงานในชุมชน เพื่อให้สามารถพัฒนาสุขภาพชุมชนบนพื้นฐานความพอเพียง
 
ปรัชญาของหลักสูตร
     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความเชื่อว่าสุขภาพเป็นสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและปัญญา ซึ่งเป็นผลจากการดูแลตนเอง และบุคคล ทั้งที่มีภาวะสุขภาพดีและเมื่อมีการเจ็บป่วย จำเป็นต้องได้รับบริการช่วยเหลือดูแล ทั้งในสถานบริการ ที่บ้านและชุมชน เพื่อบรรเทาอาการ ช่วยเหลือให้ผู้รับบริการสามารถดำรงชีวิตและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ดังนั้น การจัดการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จะสามารถผลิตผู้ช่วยพยาบาล เพื่อให้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม โดยมีความรู้ความสามารถในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยไม่รุนแรง ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทั้งในสถานบริการ ที่บ้านและชุมชน ภายใต้การนิเทศของพยาบาลวิชาชีพ 
 
วัตถุประสงค์ของสถาบัน
  1. สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อท้องถิ่น สามารถทำงานเป็นทีม และมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ สามารถทำงานและดำเนินชีวิตในชุมชนได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
  2. สร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางการพยาบาล เพื่อนำไปสู่การดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชนลุ่มน้ำโขงและอาเซียน 
  3. บริการวิชาการที่เข้าถึงและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาสุขภาวะของบุคคลและชุมชน และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการดูแลสุขภาพในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
  4. อนุรักษ์ สืบสาน เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของบุคคลและชุมชนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 
  5. บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ บุคลากรมีคุณภาพและมีความสุข
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร   หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตผู้ช่วยพยาบาลที่มีความสามารถ ดังนี้
  1. มีความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือดูแลขั้นพื้นฐาน 
  2. มีทักษะในการช่วยเหลือดูแลขั้นพื้นฐาน ภายใต้การควบคุมกำกับของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
  3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษา รวมทั้งให้การช่วยเหลือดูแล ก่อนและหลังการตรวจ  
  4. ดูแลและบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
  5. มีเจตคติที่ดีในการช่วยเหลือดูแลในขอบเขตงานที่รับผิดชอบ 
  6. มีคุณธรรมและจริยธรรม และมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
  1. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  2. อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเปิดการอบรม
  3. น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 40 กิโลกรัม ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
  4. สุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และไม่เป็นอุปสรรคต่อการอบรมหรือการปฏิบัติงาน
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. 2558 มีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 34 หน่วยกิต โดยมีรายวิชาภาคทฤษฎี 24 หน่วยกิต และรายวิชาภาคปฏิบัติ 10 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย  
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  จำนวน 6 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ   จำนวน 28 หน่วยกิต
  2.1) รายวิชาภาคทฤษฎี  จำนวน 18 หน่วยกิต
  2.2) รายวิชาภาคปฏิบัติ  จำนวน 10 หน่วยกิต
     
รายวิชาในหลักสูตร  
8.3.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  จำนวน 6 หน่วยกิต
  18 101 การสื่อสารเพื่อการบริการสุขภาพ  2 (2-0-4)
  18 102 พัฒนาการและความต้องการของมนุษย์ 2 (2-0-4) 2 (2-0-4)
   18 103 ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ช่วยพยาบาล 2 (2-0-4) 2 (2-0-4)
     
หมวดวิชาเฉพาะ  จำนวน 28 หน่วยกิต
  18 104 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น  2 (2-0-4)
  18 105 สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม  1 (1-0-2)
  18 106 ระบบการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วย  1 (1-0-2)
  18 107 จริยธรรม และกฎหมายสำหรับผู้ช่วยพยาบาล  1 (1-0-2)
  18 108 การจัดการในสถานบริการสุขภาพและการบำรุงรักษาพัสดุทางการแพทย์  2 (2-0-4)
  18 109 การช่วยเหลือดูแลผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต  1 (1-0-2)
  18 210 เทคนิคการช่วยเหลือดูแลผู้ใช้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน  3 (2-2-5)
  18 211 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  3 (3-0-6)
  18 212 การช่วยเหลือดูแลเด็ก  2 (2-0-4)
  18 213 การช่วยเหลือดูแลด้านสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา  2 (2-0-4)
  18 214 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใช้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน  3 (0-12-0)
  18 315 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลเด็ก  2 (0-8-0)
  18 316 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลด้านสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา  2 (0-8-0)
  18 317 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  3 (0-12-0)

 

แผนการอบรม  
 
แผนการอบรม ภาคการอบรมที่ 1 (15 สัปดาห์)

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 101 การสื่อสารเพื่อการบริการสุขภาพ 2 (2-0-4)
18 102 พัฒนาการและความต้องการของมนุษย์ 2 (2-0-4)
18 103 ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ช่วยพยาบาล 2 (2-0-4)
18 104 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น  2 (2-0-4)
18 105 สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม  1 (1-0-2)
18 106 ระบบการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วย 1 (1-0-2)
18 107 จริยธรรม และกฎหมายสำหรับผู้ช่วยพยาบาล 1 (1-0-2)
18 108 ระบบการจัดการสถานในบริการสุขภาพและการบำรุงรักษาพัสดุทางการแพทย์ 2 (2-0-4)
18 109 การช่วยเหลือดูแลผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต 1 (1-0-2)
รวมจำนวนหน่วยกิต    14 (14-0-28)

แผนการอบรม ภาคการอบรมที่ 2 (10 สัปดาห์)

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 210 เทคนิคการช่วยเหลือดูแลผู้ใช้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน 3 (2-2-5)
18 211 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ   3 (3-0-6)
18 212 การช่วยเหลือดูแลเด็ก  2 (2-0-4)
18 213 การช่วยเหลือดูแลด้านสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา  2 (2-0-4)
18 214 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใช้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน 3 (0-12-0)
รวมจำนวนหน่วยกิต    13 (9-14-19)

แผนการอบรม ภาคฤดูร้อน (15 สัปดาห์)

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
18 315 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลเด็ก 2 (0-8-0)
18 316 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลด้านสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา 2 (0-8-0)
18 317 ปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3 (0-12-0)
รวมจำนวนหน่วยกิต    7 (0-28-0)


การประกันคุณภาพหลักสูตร  มีระบบประกันคุณภาพของหลักสูตร ที่สอดคล้องกับนโยบายของสถาบัน โดยประกันคุณภาพในเรื่องดังต่อไปนี้
  1. การบริหารหลักสูตร มีคณะกรรมการหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่บริหารหลักสูตร ให้มีการจัดการอบรมบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  2. ทรัพยากรประกอบการอบรม ประกอบด้วยตำรา วารสาร digital book ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีระบบสืบค้นที่ทันสมัย โดยใช้บริการของ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  มีห้องปฏิบัติการ เพื่อการฝึกหัดการดูแลช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย พร้อมกับอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีห้องอบรมอย่างเพียงพอ 
  3. การสนับสนุนและการให้คำแนะนำผู้เข้าอบรม สถานศึกษาจัดให้มีอาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์ที่ปรึกษารายบุคคลให้กับผู้เข้าอบรม ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมของผู้เข้าอบรม และให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้เข้าอบรม 
  4. มีการประเมินการได้งานทำและความพึงพอใจของผู้สำเร็จการอบรม และความพึงพอใจของผู้ใช้ผู้สำเร็จการอบรม ภายหลังการอบรม 1 ปี
     
การจัดการอบรม จัดระบบการอบรมแบบทวิภาค แบ่งเป็น 2 ภาคการอบรม และภาคฤดูร้อน ดังนี้
  1. ภาคทฤษฎี มีการอบรม ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการอบรม     เท่ากับ 1 หน่วยกิต
  2. การฝึกปฏิบัติในห้องทดลอง มีการฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ต่อภาคการอบรม           เท่ากับ 1 หน่วยกิต
  3. การฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย มีการฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง ต่อภาคการอบรม เท่ากับ 1         หน่วยกิต

 

การสำเร็จการอบรม   ผู้ที่จะสำเร็จการอบรม ต้องเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด และผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามระเบียบที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด ดังนี้
  1. ต้องมีเวลาอบรมในหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
  2. การประเมินภาคทฤษฎี แต่ละรายวิชา ต้องได้แต้มคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2 จากระบบ 4 แต้มระดับคะแนน
  3. การประเมินภาคปฏิบัติ แต่ละรายวิชา ต้องได้แต้มคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2 จากระบบ 4 แต้มระดับคะแนน
  4. ลำดับขั้นที่นำไปคำนวณหาคะแนนเฉลี่ย (Grade Point Average: G.P.A.) ทั้งประจำภาคการอบรมและคะแนนเฉลี่ยสะสม (Cumulative G.P.A.) มี 8 ระดับ และมีค่าคะแนน (Grade Point) ดังนี้
    ลำดับขั้น (Grade) ความหมาย ค่าคะแนน (Grade Point)
    A ดีเยี่ยม (Excellent) 4.00
    B+ มาก (Very good) 3.50
    B ดี (Good) 3.00
    C+ ค่อนข้างดี (Above average) 2.50
    C พอใช้ (Average) 2.00
    D+ อ่อน (Below average) 1.50
    D อ่อนมาก (Poor) 1.00
    F ตก (Fail) 0.00