ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

กิจกรรม “พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.) ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ในตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี”


โพสโดย สุนันทา ครองยุทธ     โพสวันที่ 13 มิถุนายน 2564 ,     (อ่าน 562 ครั้ง)  


คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกิจกรรม “พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.) ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ในตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้านการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2) ประสานความร่วมมือด้านบริการวิชาการกับหน่วยงานสาธารณสุขระดับท้องถิ่น และ 3 ) นักศึกษาได้เรียนรู้รูปแบบการให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 302 คน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care giver; CG) จำนวน 159 คน บุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ และ พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.โพธิ์ใหญ่ จำนวน 44 คน นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 99 คน กิจกรรมจัดขึ้นเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 19 มิถุนายน 2564 และ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 มิถุนายน 2564 ในกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ เรื่อง หลักการพื้นฐานในการดูแลผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญโดย อาจารย์สุนันทา ครองยุทธ รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการและทำนุฯจากนั้น จะแบ่งกลุ่มเป็นฐานการเรียนรู้ 5 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 การประเมิน/คัดกรองภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังขั้นพื้นฐาน การสอบถามอาการภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง และการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตการประเมินการความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อช่วยเหลือตนเอง (ADL) ฐานที่ 2 การประเมิน/คัดกรองภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังขั้นพื้นฐาน การประเมินวัดสัญญาณชีพ และการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญจากภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ฐานที่ 3 แนวทางการให้คำแนะนำ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตาม “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” ฐานที่ 4 การฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังขั้นพื้นฐาน ด้วยการบริหารกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ (ROM) และ ฐานที่ 5 การประเมินคัดกรองสุขภาพจิต ความเครียด (mini cog) และการจัดการความเครียด ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ มีความตั้งใจเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในแต่ละฐาน เป็นอย่างดี เพื่อที่จะนำความรู้ไปใช้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุในตำบลต่อไป



Search
ลิ้งค์ข่าวสาร