การจัดการความรู้
 
เทคนิคและตัวอย่างการเขียนค่างาน (เขียนอย่างไรให้ผ่าน)
post: 2023-07-31 12:55:11     by: ฐิติกรณ์รัศมิ์ ภัททสิริภูวดล     views: 128
กลุ่ม: คลินิกวิชาการและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุน


       

เรื่อง : เทคนิคและตัวอย่างการเขียนค่างาน (เขียนอย่างไรให้ผ่าน)

วันเดือนปีดำเนินการ CoPs : 

ครั้งที่ 1 วันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2566 ณ คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

ครั้งที่ 2 วันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2566 ณ สำนักบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์

ครั้งที่ 3 วันที่ 29 มิถุนายน 2566 ณ คณะรัฐศาสตร์   

วัตถุประสงค์ :  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเป็นเทคนิคในการเขียนประเมินค่างานเพื่อกำหนดกรอบตำแหน่งและระดับตำแหน่งสายสนับสนุนวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย :  บุคลากรสายสนับสนุน

เทคนิควิธีการ : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรง

สาระโดยย่อ : เทคนิคและตัวอย่างการเขียนค่างาน (เขียนอย่างไรให้ผ่าน) เป็นการประเมินค่างานและวิธีการดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อตีค่างาน โดยเป็นกระบวนการวัดความสัมพันธ์หรือคุณค่างานของตำแหน่งที่ไม่ใช่การวัดปริมาณงาน แต่เป็นการนำงานทั้งหมดมาเปรียบเทียบกัน ภายใต้ปัจจัย หรือองค์ประกอบที่เป็นตัววัดหลัก เพื่อตีค่างานออกมา การกำหนดระดับตำแหน่งใดให้สูงขึ้น ตำแหน่งนั้น จะต้องมีหน้าที่ และรับผิดชอบ คุณภาพ และความยุ่งยากของงานในตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ ถึงบทบาทที่จะต้องกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น การกำหนดระดับตำแหน่ง ต้องยึดหลักการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงาน และประเมินค่างาน เพื่อวัดคุณภาพของตำแหน่ง ตามลักษณะงาน หน้าที่ และความรับผิดชอบ เช่น

เทคนิคการเขียนหน้าที่ความรับผิดชอบให้เป็นรูปธรรม

เทคนิคการเขียนอยู่ที่ว่า ต้องเขียนว่างานที่ทำอยู่นั้นเป็นอย่างไร ถ้าปฏิบัติงานระดับต้น (10-15คะแนน)

         ถ้าปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยาก (16-20คะแนน)งานนั้นค่อนข้างยากอย่างไร

         ถ้าปฏิบัติงานที่ยาก (21-25คะแนน) งานนั้นยากอย่างไร

         ถ้าปฏิบัติงานที่ยากมาก (26-30คะแนน) งานนั้นยากมากอย่างไร

ถ้าจะให้ปลอดภัยต้องเขียนงานที่เราปฏิบัติให้เป็นงานที่ยาก(21-25คะแนน)ซึ่งเป็นระดับที่ 3 หรือเป็นงานที่ยากมาก (26-30คะแนน)ซึ่งเป็นระดับที่ 4 คำที่ใช้ในการขยายความงานที่ค่อนข้างยาก งานที่ยาก งานที่ยากมาก เช่น

“เป็นงานรับผิดชอบงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนงาน”

“เป็นงานที่พัฒนางานหรือสร้างสรรค์ผลงานใหม่”

“เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดรอบครอบ”

“มีการปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ให้เร็วขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ”

“มีการทดลองหรือเสนอวิธีทำงานแบบใหม่ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

“มีการกำหนดเป้าหมายงานที่ทำให้เป็นไปได้ยาก ท้าทาย เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีกว่าเดิม”

”มีการพัฒนา ขั้นตอน วิธีการและระบบการทำงานขึ้นใหม่”

”มีการวางแผนกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนวิธีทำงาน...”

“มีการใช้เทคนิค BSC ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหา”
“มีการริเริ่ม สร้างสรรค์ ประดิษฐ์คิดค้น นำเสนอรูปแบบทำงานใหม่”

ประโยน์ที่คาดว่าจะได้รับ : บุคลากรสายสนับสนุนเข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินค่างานเพื่อกำหนดระดับตำแหน่งสูงขึ้น และสามารถเขียนประเมินค่างานตามแบบฟอร์มการประเมินค่างานตามตัวอย่างได้ 

ผู้สรุป :   นายฐิติกรณ์รัศมิ์ ภัททสิริภูวดล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ คณะรัฐศาสตร์  


ไฟล์แนบ : เทคนิคและตัวอย่างการเขียนค่างาน (เขียนอย่างไรให้ผ่าน)





Login
Username
Password

สำหรับผู้เข้าใช้งานครั้งแรก



(เฉพาะบุคลากรมหาวิทยาลัยเท่านั้น)
 
กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ
การประกันคุณภาพฯ ระดับหลักสูตร (23 บทความ)
UBU Library Services (15 บทความ)
คลินิกวิชาการและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุน (15 บทความ)
Go Green (องค์กรสีเขียว) (13 บทความ)
นักคิด-นักสร้างสรรค์ (13 บทความ)
Tech & Innovation in New Normal (12 บทความ)
กลุ่มทั้งหมด
บทความใหม่
การใช้งาน UBU Digital Signature (2024-04-01 15:51)
เรียนรู้ Google Cybersecurity จาก Coursera (2024-03-13 14:30)
ห้องสมุดสีเขียวสู่เป้าหมาย carbon neutrality & Net zero emissions (2024-02-29 14:53)
ถอดบทเรียนจากการเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตร Smart Secretary & Super Admin ประจำปีงบประมาณ 2567 (2024-01-12 15:24)
ถอดบทเรียน จากการฝึกอบรม หลักสูตร “OKR และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่องค์กรสมรรถนะสูง” ปี 2565 (2023-12-01 16:36)
การผลิตวีดิทัศน์รูปแบบทรงกลม 360 องศา (2023-11-27 13:19)
 
บทความยอดนิยม
PESTEL Analysis : เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (6336 view)
เกณฑ์ AUN-QA Overview (Versions 4) (2972 view)
การจัดการศึกษาแบบ Outcome-Based Education : Backward Curriculum Design (1560 view)
EP1 ตึก อะไรเนี่ย ??? ใหญ่มาก กว้างมาก ไปใช้งานแล้วจะติดต่อใคร ???? (924 view)
แนะนำ Google AppSheet ช่วยพัฒนา Mobile Applications เป็นเรื่องง่าย และฟรี (898 view)
การใช้งาน Power BI สำหรับผู้เริ่มต้น (778 view)