ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย 2565

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2565

    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจการของมหาวิทยาลัย จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการด้านต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยในด้านการวิจัย ได้กำหนดระบบและกลไกในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

แผนผังแสดงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กระบวนงาน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ระบบและกลไก

กิจกรรมและผลการดำเนินงาน

1) การจัดทำคำของบประมาณ

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • คณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • การจัดประชุมหรือหารือเพื่อรับฟังความเห็นความต้องการ และปัญหา จากกลุ่มเป้าหมาย และส่วนราชการในพื้นที่
  • การประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย

1) คณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ได้มีการประชุมกำหนดแนวทางการเสนอของบประมาณจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2566 (fundamental fund) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 โดยยังคงให้ความสำคัญกับกรอบการวิจัย (ปี 2564-2567) เพื่อความต่อเนื่องและผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้ง ให้ความสำคัญในการทำงานวิจัยที่มีลักษณะชุดโครงการขนาดใหญ่ที่มีการบูรณาการงานวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชาการ และในลักษณะการทำงานแบบกลุ่ม และได้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กรอบการวิจัย เพื่อเสนอของบประมาณ Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อใช้ในการดำเนินงาน ที่เว็บไซต์ https://www.ubu.ac.th/web/research/content/Fundamental%20Fund/

2) กิจกรรมพัฒนาโจทย์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีเป้าประสงค์ให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่และยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ได้จริง ซึ่งในระบบการบริหารจัดการงานวิจัย ช่วงต้นน้ำของการพัฒนาโจทย์วิจัยจึงมีความสำคัญที่จะทำให้งานวิจัยนั้น สามารถตอบโจทย์ท้องถิ่นและสามารถไปใช้ประโยชน์ได้จริง มหาวิทยาลัยสนับสนุนการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเน้นการสร้างชุดโครงการวิจัยบูรณาการขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาพื้นที่และสนองนโยบายของประเทศ อาทิ

ชุดโครงการ “สร้างและบูรณาการกลไกความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนเมืองและชุมชนชนบทของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำและน่าอยู่”  เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้หารือโจทย์การวิจัย พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย รวมทั้งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำโครงการวิจัยแล้ว รวม 12 หน่วยงาน ได้แก่ (1)  เทศบาลนครอุบลราชธานี (2) เทศบาลเมืองวารินชำราบ (3) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี (4) สำนักงานพลังงานจังหวัดอุบลราชธานี (5) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 อุบลราชธานี (6) สำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 (7) หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี (8) สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี (9) บริษัทอุบลรวมใจพัฒนาเมือง จำกัด (10) บริษัทประชารัฐรักสามัคคีอุบลราชธานี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด (11) บริษัทอุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) และ (12) ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ก่อนเขียนข้อเสนอโครงการโดยหน่วยงานมีหนังสือรับรองความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ ในลักษณะ การร่วมเป็นคณะทำงานในโครงการ การสนับสนุนบุคลากรเข้าร่วมโครงการ การร่วมผลักดันการทำงานทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับนโยบายในพื้นที่ การสนับสนุนทรัพยากร เครื่องมือและสถานที่ในการทำกิจกรรมของโครงการ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายชุมชนเป้าหมายเข้ามาร่วมโครงการได้แก่ ชุมชนอยู่เย็น และชุมชนชลประทาน เทศบาลเมืองวารินชำราบ  โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นข้อเสนอเชิงหลักการของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) แล้ว

ประกาศรับข้อเสนอโครงการ https://nriis.go.th/NewsEventDetail.aspx?nid=11519

ประกาศผลการพิจารณา https://nriis.go.th/FileUpload/AttatchFile/News/256503071741541392453.pdf

3) กิจกรรมการชี้แจงกรอบการวิจัย/การเสนอของบประมาณ

สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงกรอบการวิจัย แนวทาง หลักเกณฑ์การเสนอขอองบประมาณ/ทุนวิจัยให้กับนักวิจัยในการเตรียมข้อเสนอการวิจัย ดังนี้

3.1) สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ ได้จัดประชุมชี้แจงการเสนอของบประมาณวิจัย Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2566 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในวันพุธที่ 22 กันยายน 2564 ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom เพื่อให้นักวิจัยได้รับทราบกรอบการวิจัยของมหาวิทยาลัย หลักเกณฑ์การเสนอของบประมาณ รวมทั้งแบบฟอร์มที่กำหนด

เอกสารประกอบการประชุม https://www.ubu.ac.th/web/research/content/Fundamental%20Fund/

3.2) การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนและให้คำแนะนำในการเสนอของบประมาณกับกลุ่มนักวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ในการเสนอขอทุน Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2566 กลุ่มนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการเสนอขอทุน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

4) การประเมินข้อเสนอโครงการ สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ ใช้ระบบผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินข้อเสนอโครงการ

2) การดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • พี่เลี้ยง และคณะกรรมการบริหารงานวิจัย
  • การเปิดเวทีชี้แจงโครงการวิจัย และการประชุมกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  • การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัย นักวิจัยที่ดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ ได้มีการลงเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย และรับฟังข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งหน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการวิจัย ดังนี้

โครงการ การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี (ฟื้นใจเมืองเขมราฐเฟสสาม) เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อยอดจาก โครงการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ อำเภอเขมราฐ  จังหวัดอุบลราชธานี (ฟื้นใจเมืองเขมราฐเฟสสอง)  โครงการ การจัดการทุนทางวัฒนธรรมฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อบูรณาการภารกิจของมหาวิทยาลัยร่วมกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาพื้นที่อำเภอเขมราฐ การจัดทำระบบฐานข้อมูลแผนที่ทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม และยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น เพื่อจัดการทุนวัฒนธรรมไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรม พื้นที่วัฒนธรรม และการบริการทางวัฒนธรรม รวมทั้งเพื่อเพิ่มรายได้แก่ผู้ประกอบการวัฒนธรรม อำเภอเขมราฐ และส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อำเภอเขมราฐ  ดำเนินงานโดย ดร.วศิน โกมุท ผู้จัดการโครงการและนักวิจัย ร่วมกับนักวิจัยคณะศิลปศาสตร์ และผู้ร่วมวิจัย จากคณะบริหารศาสตร์ คณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบ และเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2565 มีกิจกรรมและผลการดำเนินงานดังนี้

1) กิจกรรมลงพื้นที่ชี้แจงโครงการและเก็บข้อมูล กับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว เศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาชุมชน ทั้งภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน  อาทิ

1.1) กิจกรรมการจัดทำระบบฐานข้อมูลแผนที่ทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม ด้านพื้นที่วัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม

ผู้ประกอบการวัฒนธรรม และการบริการทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและนำมาจัดทำเป็นแผนที่ทางวัฒนธรรม โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ http://kmr.austystudio.com/map/index.html

1.2) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 - วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564  ทีมวิจัย คณาจารย์ และวิทยากรลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ พิพิธภัณฑ์บ้านดงเย็น ตำบลขามป้อม พิพิธภัณฑ์บ้านขุนภูรีประศาสน์ ตำบลเขมราฐ และพิพิธภัณฑ์ตำบลเจียด (วัดถ้ำพระศิลาทอง) ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

รายละเอียดและภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/web/general/news/20235/

1.3) การลงพื้นที่พัฒนากลุ่มผู้ประกอบการวัฒนธรรมด้านอาหาร กลุ่มกล้วยตากแสงแรก กลุ่มแปรรูปปลาน้ำโขงบ้านโนนนารี และกลุ่มชุมชนเทศบาลตำบลเทพวงศา  และจัดกิจกรรม Taste of Khemarat เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ภายใต้โครงการย่อย การพัฒนามาตรฐานที่พัก ร้านอาหาร ที่ได้มาตรฐานบนแผนที่วัฒนธรรมและถนนคนเดินเขมราฐ  โดย ทีมนักวิจัย และนักศึกษาวิชา MICE Management มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

รายละเอียดและภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/web/general/news/20413/

2) เปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นใน เวทีแลกเปลี่ยนบทเรียนเมืองเขมราษฎร์ธานีกับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยชุมชนเพื่อนําไปสู่ความยั่งยืน และเวทีสาธารณะ หัวข้อ ยกระดับเมืองเขมราษฎร์ธานีเพื่อขับเคลื่อน จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO “เมืองแห่ง ดนตรีของโลก” เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 โดยมีผู้ร่วมรายการเป็นหน่วยงานภาครัฐ ประธานชมรมฮักนะเขมราฐ ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนภาคประชาชน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชานี

ซึ่งเป็นกกิจกรรมในโครงการย่อย“การสร้างสรรค์ดนตรีและศิลปะการแสดงการแสดงจากทุนทางวัฒนธรรมอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี”

รายละเอียดและภาพกิจกรรม

https://www.ubu.ac.th/new/news_read.php?id=20767&fbclid=IwAR1HMQNPKVTxS13efplyabRUeoJf0N8igC-0W7Ql-X4CZ4VY1URN0NByZSo

เวทีสาธารณะ  "เจาะประเด็นอีสาน" : เตรียมความพร้อมเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี UNESCO อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ที่ https://www.facebook.com/FriendThaiPBS/videos/1456613951421588

 

ผลการดำเนินงานของโครงการ ฟื้นใจเมืองเขมราฐ

http://kmr.austystudio.com/index.html

https://www.facebook.com/khemaratculturaltown

3) การติดตามการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น  ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
  • พี่เลี้ยง และผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัย

การติดตามและการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย

1) กิจกรรมตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการ และ ประชุม “Site Visit” หน่วยงานในระบบ ววน. ระหว่างวันที่ 6-7 มีนาคม 2565 ณ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีดำเนินงานร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต  เล็กสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน.ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ สกสว.

           วันที่ 6 มีนาคม 2565 คณะ สกสว. เดินทางไปที่เมืองเรืองแสง ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ตรวจเยี่ยมโครงการวิจัย “การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขงในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเชื่อมโยงลาวใต้” ณ พื้นที่วิจัย โดยมี อาจารย์เขมจิรา หนองเป็ด อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมรับฟังการสรุปผลนำเสนอผลการดำเนินงานวิจัยจากพื้นที่ และข้อมูลผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและภาคีเครือข่าย นักวิจัย และผู้ช่วยนักวิจัย รวมจำนวน 50 คน

           วันที่ 7 มีนาคม 2565 เป็นการจัดประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณของทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund-FF) ปีงบประมาณ 256 – 2565 และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัย กลุ่มวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และฟาร์มมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ภาพกิจกรรม

     https://www.ubu.ac.th/new/news_read.php?id=20774

     https://www.ubu.ac.th/new/news_read.php?id=20775

2) จัดการประชุมนำเสนอผลการดำเนินโครงการวิจัย “การศึกษาสถานการณ์และบริบทที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพข้ามแดนของจังหวัดอุบลราชธานี” ในวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมพิบูลมังสาหาร และระบบออนไลน์ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ  เพื่อการประโยชน์ในการจัดทำนโยบายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของจังหวัดอุบลราชธานีสู่การเป็นเมืองต้นแบบด้านการบริการสุขภาพข้ามแดนในเขตอีสาน และการยกระดับขีดความสามารถและความเชื่อมโยงด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศไทย กับ กัมพูชาและ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันจะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้คนในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง

ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/new/news_read.php?id=20234

3)การประชุมนำเสนอความก้าวหน้าและรายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัย ที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 วันที่ 1 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุมบุณฑริก มีโครงการที่ได้รับทุนวิจัยมานำเสนอผลการดำเนินงาน 21 โครงการ เพื่อเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการบริหารงานวิจัยให้ข้อเสนอแนะที่เกิดประโยชน์สำหรับนักวิจัย ให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน

4) การประเมินผลการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  • การรายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัย 

1) มีระบบการประเมินรายงานการวิจัย โดยจัดส่งรายงานการวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินก่อนจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

2) เผยแพร่ผลงานวิจัยโดยใช้สื่อออนไลน์ 

ทางเว็บไซต์  http://www.ubu.ac.th/web/research

แฟนเพจ (Fanpage) Research UBU และ ABC Research

5.ขยายผล ต่อยอดการนำไปผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม
  • นักวิจัย
  • ภาคเอกชน

 

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้การพัฒนาพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศในโรงเรือนและในปีงบประมาณ 2565 ได้มีการ

1) จัดงาน Field day มะเขือเทศเชอรี่ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างอาชีพใหม่ในการเพิ่มมูลค่าผลิตผลและคุณภาพการผลิตมะเขือเทศเชอรี่ให้แก่เกษตรกรเครือข่าย และเพื่อเป็นการยกระดับการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ผลิตมะเขือเทศเชอรี่ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านสายพันธุ์ กระบวนการผลิตและการแปรรูปมะเขือเทศเชอรี่จนสามารถสร้างเป็นชุดองค์ความรู้พร้อมใช้สำหรับเกษตรกร ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ และฝึกอบรมจนสามารถสร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่เกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีการประกวดผลผลิตมะเขือเทศเชอรี่ ซึ่งผู้ชนะเลิศได้รับโล่รางวัลชนะเลิศการประกวดผลผลิตมะเขือเทศเชอรี่ ได้แก่ สามัคคี นิคมรักษ์ #ศรีไคออร์แกนิค

 นอกจากนี้ยังมีการเสวนาหัวข้อ“ตัวแบบเชิงธุรกิจมะเขือเทศเชอรี่เกรดพรีเมี่ยมอุบลราชธานี” นำโดย รศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ ผู้พัฒนาพันธุ์มะเขือเทศเชอรี่ #อุบลสวีท ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนที่มีคุณภาพสูงสำหรับตลาดพรีเมี่ยมใน จ.อุบล ฯ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการปลูกและจำหน่วยมะเขือเทศเชอรี่ร่วมกัน

ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/new/news_read.php?id=20639

2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตมะเขือเทศเชอรี่ สู่ตลาดพรีเมี่ยม จ.อุบลฯ ระหว่างวันที่ 12 - 13 กุมภาพันธ์ 2565 ให้แก่ เกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลเมืองศรีไค เกษตรกรผู้นำ และกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจ

ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/new/news_read.php?id=20683