การจัดการความรู้
 
Mesh / Access Point คืออะไร ? ทำไมคนถึงชอบเข้าใจผิด
post: 2023-10-02 01:56:40     by: สุรศักดิ์ ศรีวิเศษ     views: 411
กลุ่ม: IT UBU


       

 

Mesh WiFi คืออะไร

อธิบายง่ายๆ ก็คือการเชื่อมต่อไร้สายแบบตาข่ายใยแมงมุมที่ทุกเครื่องเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด โดยไม่มีข้อจำกัดเหมือนอุปกรณ์เน็ตเวิร์คแต่ก่อนที่โดยมากจะเชื่อมต่อแบบกิ่งก้าน หรือเป็นดาว แต่ Mesh จะเชื่อมต่อได้ทั้งแบบต่อตรง ไดนามิค และไม่มีลำดับขั้น ไปยังจุด (node) ต่างๆ สามารถเพิ่มจุดกระจายสัญญาณได้อย่างง่ายดายและได้มากเท่าที่ระบบจะทำได้ สัญญาณปล่อยออกมามีเสถียรภาพและมีรักษาความเร็วอินเทอร์เน็ตได้ดีกว่าอุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) ทั่วไป ใช้ชื่อ WiFi (SSID) เดียวกันได้ ไม่ต้องวุ่นวายเชื่อมต่อใหม่เมื่อเดินจากน้องนั่งเล่นขึ้นไปห้องนอน โดยระบบจะเลือกการเชื่อมต่อแต่ละจุดให้อัตโนมัติตามความเหมาะสม ซึ่งถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งหลุดออกจากระบบ เครื่องจะเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ให้โดยอัตโนมัติ ทำให้ใช้ระบบไม่ล่มและใช้งานต่อเนื่องได้อย่างไม่มีสะดุดนั่นเอง

สรุป Mesh WiFi แบบเข้าใจง่ายๆ
-ขยาย WiFi ไปทั่วบ้านได้ทั้งแบบเดินสาย(สปีดเน็ตเต็ม) และไม่เดินสาย(สปีดเน็ตตกลงตามระยะทาง)
-ตั้งค่าให้ชื่อ WiFi (SSID) เป็นชื่อเดียวกันได้
-ความเร็วที่ได้ต่อจุด (node) มีคุณภาพดีกว่า Repeater ทั่วไป
-ถ้าจุดใดจุดหนึ่งล่ม จะไม่ทำให้ระบบทั้งหมดล่มตามไปด้วย
 
 
สัญญาณ WiFi จะแรงเต็มที่ทุกจุด แต่ความเร็วของแต่ละจุดขึ้นกับการเชื่อมต่อว่าเดินสายหรือไร้สาย
 
Access Point – Repeater – Mesh WiFi แตกต่างกันอย่างไร ?
ความแตกต่างของ 3 รูปแบบการเชื่อมต่อกระจายสัญญาณนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยกันไม่น้อย ตอนที่กำลังพิจารณาซื้ออุปกรณ์เน็ตเวิร์คเข้ามาติดในบ้าน ซึ่งจะสรุปออกมาให้ง่ายๆดังนี้นะครับ
 
Access Point
วิธีง่ายที่สุดในการขยายการเชื่อมต่อ คือซื้อตัวกระจายสัญญาณ (Access Point) มาเพิ่ม จับมันมาเสียบสายแลน ก็ทำหน้าที่เหมือนเป็นเราเตอร์อีกตัวในสถานที่ใหม่เลย
 
ข้อดี : สปีดเน็ตมาเต็ม ประหยัด
ข้อเสีย : ติดตั้งยาก ต้องเดินสาย ต้องกดเชื่อมต่อสัญญาณใหม่เมื่อเดินไปอีกตำแหน่ง
 
 
ขยายสัญญาณ WiFi ครอบคลุมทั่วบ้านทุกชั้นด้วยการลากสาย ต้องเลือกเชื่อมต่อตามตำแหน่งที่อยู่
 
ทำไมเราไม่ควรตั้งชื่อ WiFi ให้เหมือนกัน ถ้าไม่ใช่ Mesh WiFi
เพราะเราจะไม่สามารถควบคุมหรือแยกได้ว่าเราต่อกับอุปกรณ์ชิ้นไหนอยู่ อยู่ห้องนั่งเล่นดันไปต่อกับตัวห้องครัว สัญญาณก็ไม่ดี บางทีก็เหวี่ยงไปมาระหว่างสองเครื่อง จะบังคับเปลี่ยนหรือล็อคว่าจะเกาะกับอุปกรณ์ชิ้นไหนก็ไม่ได้หรือลำบากอีก ตัวอุปกรณ์เองก็ไม่ฉลาดพอที่จะเปลี่ยนหรือเลือกต่ออันที่ดีที่สุดให้เรา ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้แก้ได้ด้วย Mesh WiFi
 
Mesh WiFi
ไม่ใช่แค่ทวนสัญญาณ แต่ยังสร้างเป็นเครือข่าย ให้สามารถใช้งานได้แบบไม่มีสะดุดทั้งบริเวณที่ต้องการ
ข้อดี : ติดตั้งสะดวก ทั้งเดินสายหรือไร้สาย ทำงานร่วมกันได้สมบูรณ์ในแต่ละจุด ตำแหน่งนึงล่ม อีกจุดก็ยังทำงานแทนกันได้ ใช้ชื่อ WiFi อันเดียวกันได้ทั้งบริเวณ
 
ถ้าเราไปอาคารสถานที่ใหญ่ๆ แล้วพบว่ามีการให้บริการอินเทอร์เน็ตในชื่อเดียว ทำงานแบบเข้ากันได้ดี เดินไปไหนมาไหนแล้วยังเชื่อมต่อได้ไม่มีสะดุด อันนั้นก็เดาได้เลยว่าน่าจะใช้ Mesh แน่นอน
 
ข้อควรรู้
แม้ว่าความเร็วการรับส่งของ Mesh WiFi จะดีกว่า Repeater แต่ก็ไม่ได้ทำให้สามารถวิ่งได้เร็วเต็มสปีดนะ ถ้าต้องการวิ่งให้เต็มแพ็กเกจที่สมัครมา 500 – 1000 Mbps ที่สมัครเอาไว้ ยังไงก็แนะนำต้องเดินสาย LAN เชื่อมต่อในแต่ละจุดด้วย
 
ข้อเสีย : แพงงงงง โดยอุปกรณ์ที่ทำ Mesh WiFi ได้แต่ละชิ้น มักจะมีราคาไม่น้อยกว่า 3-5 พัน ถ้าเกิดว่าจะติดให้ทั่วๆก็อาจจะต้องใช้ไม่น้อยกว่า 3-5 ชิ้น ราคาก็ทวีคูณไป
 
credit : GIMME'S PROFILE , https://droidsans.com/
 



สุรศักดิ์ ศรีวิเศษ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์   สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

ออกแบบและดูแลระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย , ดูแลลระบบ Network infrastructure, ดูแลระบบแลน และ WiFi


Login
Username
Password

สำหรับผู้เข้าใช้งานครั้งแรก



(เฉพาะบุคลากรมหาวิทยาลัยเท่านั้น)
 
กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ
การประกันคุณภาพฯ ระดับหลักสูตร (23 บทความ)
UBU Library Services (15 บทความ)
คลินิกวิชาการและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุน (15 บทความ)
Go Green (องค์กรสีเขียว) (13 บทความ)
นักคิด-นักสร้างสรรค์ (13 บทความ)
Tech & Innovation in New Normal (12 บทความ)
กลุ่มทั้งหมด
บทความใหม่
การใช้งาน UBU Digital Signature (2024-04-01 15:51)
เรียนรู้ Google Cybersecurity จาก Coursera (2024-03-13 14:30)
ห้องสมุดสีเขียวสู่เป้าหมาย carbon neutrality & Net zero emissions (2024-02-29 14:53)
ถอดบทเรียนจากการเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตร Smart Secretary & Super Admin ประจำปีงบประมาณ 2567 (2024-01-12 15:24)
ถอดบทเรียน จากการฝึกอบรม หลักสูตร “OKR และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่องค์กรสมรรถนะสูง” ปี 2565 (2023-12-01 16:36)
การผลิตวีดิทัศน์รูปแบบทรงกลม 360 องศา (2023-11-27 13:19)
 
บทความยอดนิยม
PESTEL Analysis : เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (6336 view)
เกณฑ์ AUN-QA Overview (Versions 4) (2972 view)
การจัดการศึกษาแบบ Outcome-Based Education : Backward Curriculum Design (1562 view)
EP1 ตึก อะไรเนี่ย ??? ใหญ่มาก กว้างมาก ไปใช้งานแล้วจะติดต่อใคร ???? (924 view)
แนะนำ Google AppSheet ช่วยพัฒนา Mobile Applications เป็นเรื่องง่าย และฟรี (898 view)
การใช้งาน Power BI สำหรับผู้เริ่มต้น (779 view)