การจัดการความรู้
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อสกัดองค์ความรู้จากข้อมูลขนาดใหญ่ในปัจจุบัน
post: 2022-09-22 10:31:55     by: วันนเรศวร์ สิงหัษฐิต     views: 164
กลุ่ม: IT UBU


       

          วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data science) เป็นวิวัฒนาการขององค์ความรู้รูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการรวมกันระหว่างความรู้ในแต่ละด้านเช่น ด้านเทคโนโลยี สถิติ ธุรกิจ เป็นต้น เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดองค์ความรู้หรือประโยชน์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คือ ทักษะความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสายงานทั้งทางธุรกิจและทางวิชาการ ส่วนใหญ่ในทางธุรกิจจะเอาข้อมูลมาวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมลูกค้าขององค์กร ผู้รับการบริการ โดยใช้สถิติและตัวเลขในการคาดคะเนพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้องค์กรสามารถวางแผนการตลาดได้สมบูรณ์แบบ การจะดำเนินการด้วยรูปแบบการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ซึ่งใช้การวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์เพื่อกำหนดหรือสร้างแนวทางสำหรับแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการตามหลักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและผลกระทบ รวมทั้งใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจ ช่วยให้องค์กรได้รู้จักลูกค้ามากขึ้น และสามารถทำนายพฤติกรรมของผู้บริโภคได้

การนำเอาข้อมูลของแต่ละแหล่งที่มาต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์

ที่มา: https://www.edureka.co/blog/big-data-analytics/

ณ ปัจจุบันที่มีวิวัฒนาการของข้อมูลดิจิตอลและอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาล การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเกิดข้อมูลมหัต (Big Data) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระแสของธุรกิจในของโลกในปัจจุบัน ทำให้องค์การต่าง ๆ ต้องการนำเอาข้อมูล Big Data ที่ต้องการมาจัดเก็บและวิเคราะห์ โดยยุคของการใช้งาน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคได้ดังนี้

1. ยุคก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ตคือ ยุคที่สื่อสารด้วยโทรศัพท์บ้านและการส่งผ่านข้อความด้วยระบบโทรศัพท์

2. ยุคอินเทอร์เน็ตเพื่อการส่งสาร คือยุคที่เริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตในการแชร์ความรู้ เนื้อหาของหนังสือและการส่งข้อความผ่านทางอีเมล์

3. ยุคอินเทอร์เน็ตเพื่อการบริการ คือยุคที่มีการขายสินค้าและการบริการบนโลกอินเทอร์เน็ต การขายผลิตภัณฑ์ดิจิตอลบนโลกอินเทอร์เน็ต

4. ยุคอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมของผู้คน คือยุคที่มีผู้คนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายในการใช้เป็นสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter เป็นต้น

5. ยุคอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง คือยุคที่ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบดิจิทัล สิ่งของ มนุษย์ เข้ามาไว้ด้วยกันเพื่อถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งจะเป็นที่มาของระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านอัจฉริยะ ยานพาหนะอัจฉริยะ เทคโนโลยีการผูกสัญญาด้วยระบบอัจฉริยะด้วยบล็อกเชน (Blockchain)

  

วิวัฒนาการของข้อมูลดิจิตอลและอินเตอร์เน็ต

ที่มา: twitter.com/nokiacem/status/581161700184887296/1

 ซึ่งในการนิยามว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็น Big Dataหรือไม่จะต้องมีลักษณะสำคัญ 5 ลักษณะ หรือ 5V ดังต่อไปนี้

1. ปริมาณ (Volume) คือ ปริมาณข้อมูลที่สามารถผลิตและจัดเก็บไว้จะมีขนาดที่ใหญ่มากกว่าชุดข้อมูลทั่วไป

2. ความหลากหลาย (Variety) คือ ความหลากหลายของประเภทข้อมูล ข้อมูลที่เป็น Big Dataไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ, รูปภาพ, หรือไฟล์ประเภทอื่นจากหลากหลายแหล่งที่มา ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการนำมาประยุกต์ใช้ในการสกัดองค์ความรู้ได้

3. ความเร็ว (Velocity) ข้อมูลของ Big Data จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

4. คุณภาพของข้อมูล (Veracity) คือ Big Data จะต้องมีคุณภาพของข้อมูลหรือความถูกต้องของข้อมูลซึ่งแสดงถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลต่อได้

5. มูลค่าของข้อมูล (Value) จุดเด่นอีกหนึ่งข้อของ Big Data คือประโยชน์ของข้อมูลที่ผู้ศึกษาสามารถนำไปต่อยอดสร้างประโยชน์ต่อองค์กรหรือสร้างมูลค่ากับธุรกิจได้ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะว่าการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ย่อมดีกว่าการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่สามารถสกัดองค์ความรู้ได้ เช่น ข้อมูลที่ดีกว่าถูกต้องครบถ้วนมากกว่าจะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ เป็นต้น

  

ลักษณะสำคัญ 5 ลักษณะ ของ ข้อมูลมหัต หรือ Big Data

ที่มา: https://www.techentice.com/the-data-veracity-big-data/

             ด้วยความสำคัญของ Big Dataนี้เองทำให้การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)ถูกนำมาใช้วิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์เพื่อกำหนดหรือสร้างแนวทางสำหรับแก้ปัญหา โดยจะใช้วิธีการตามหลักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบข้อมูลหรือกระบวนการที่ทำอยู่เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและผลกระทบ รวมทั้งใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจ ซึ่งความสามารถที่สำคัญสำหรับการคิดเชิงวิเคราะห์จะประกอบด้วย ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในเชิงความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และความสามารถในการวิจัย

กล่าวคือวิทยาศาสตร์ข้อมูลเป็นกระบวนที่มุ่งเน้นในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ความรู้จากหลากหลายเพื่อหาผลลัพธ์ที่จะนำเอาองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการในการคิดเชิงวิเคราะห์เป็นแนวทางในการศึกษาข้อมูลเหล่านั้นนั่นเอง ซึ่งนี่ก็เป็นเพียงส่วนแรกเท่านั้นที่ผมจะพาท่านผู้อ่านเข้าสู่โลกของวิทยาศาสตร์ข้อมูล และในครั้งหน้าผมจะพาท่านผู้อ่านมารู้จักการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลด้วยภาษา Python ต่อไปครับ




วันนเรศวร์ สิงหัษฐิต
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ   สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย



Login
Username
Password

สำหรับผู้เข้าใช้งานครั้งแรก



(เฉพาะบุคลากรมหาวิทยาลัยเท่านั้น)
 
กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ
การประกันคุณภาพฯ ระดับหลักสูตร (23 บทความ)
UBU Library Services (15 บทความ)
คลินิกวิชาการและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุน (15 บทความ)
Go Green (องค์กรสีเขียว) (13 บทความ)
นักคิด-นักสร้างสรรค์ (13 บทความ)
Tech & Innovation in New Normal (12 บทความ)
กลุ่มทั้งหมด
บทความใหม่
การใช้งาน UBU Digital Signature (2024-04-01 15:51)
เรียนรู้ Google Cybersecurity จาก Coursera (2024-03-13 14:30)
ห้องสมุดสีเขียวสู่เป้าหมาย carbon neutrality & Net zero emissions (2024-02-29 14:53)
ถอดบทเรียนจากการเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตร Smart Secretary & Super Admin ประจำปีงบประมาณ 2567 (2024-01-12 15:24)
ถอดบทเรียน จากการฝึกอบรม หลักสูตร “OKR และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่องค์กรสมรรถนะสูง” ปี 2565 (2023-12-01 16:36)
การผลิตวีดิทัศน์รูปแบบทรงกลม 360 องศา (2023-11-27 13:19)
 
บทความยอดนิยม
PESTEL Analysis : เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (6311 view)
เกณฑ์ AUN-QA Overview (Versions 4) (2963 view)
การจัดการศึกษาแบบ Outcome-Based Education : Backward Curriculum Design (1535 view)
EP1 ตึก อะไรเนี่ย ??? ใหญ่มาก กว้างมาก ไปใช้งานแล้วจะติดต่อใคร ???? (911 view)
แนะนำ Google AppSheet ช่วยพัฒนา Mobile Applications เป็นเรื่องง่าย และฟรี (886 view)
การใช้งาน Power BI สำหรับผู้เริ่มต้น (772 view)