ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

สำนักวิทยบริการ ม.อุบลฯ อบรมป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


โพสโดย เพลิน วิชัยวงศ์     โพสวันที่ 16 มีนาคม 2563 ,     (อ่าน 1,858 ครั้ง)  


           มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย สำนักวิทยบริการ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อให้ความรู้ในการป้องกัน โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัย เพื่อการป้องกันตนเอง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิพงศ์  สุริยา ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ เป็นประธานเปิดโครงการ รับเกียรติจาก วิทยากรอาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวิตรี  สิงหาด   ดร.ภูษณิศา  มีนาเขตร และ อาจารย์สุฬดี กิตติวรเวช ซึ่งได้รับความสนใจจาก อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม ณ ลานกิจกรรมห้องสมุดในสวน สำนักวิทยบริการ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา 
            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิพงศ์  สุริยา ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ กล่าวว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบัน มีโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น สำนักวิทยบริการ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ และเน้นให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการเป็นหลัก จึงจัดกิจกรรมในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ผู้ใช้บริการ โดยให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนข้อควรปฏิบัติในการป้องกันตนเอง การลดการแพร่กระจายของเชื้อ และการทำหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันตนเอง เพื่อการเฝ้าระวัง การป้องกัน และควบคุมสถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการสร้างความมั่นใจด้านความสะอาด และปลอดภัย ต่อการเข้าใช้บริการพื้นที่ส่วนรวมตามจุดบริการส่วนต่างๆ ของห้องสมุดเพิ่มยิ่งขึ้นสร้างความมั่นใจของการใช้บริการ ในพื้นที่ส่วนรวมทุกจุดในด้านความสะอาดและปลอดภัย 
          ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวิตรี  สิงหาด อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  แนวปฏิบัติร่วมกันที่ทุกคนสามารถทำได้ โดยยึดหลัก 3 ล. ลด เลี่ยง ดูแล สร้างสุขอนามัยส่วนบุคคล ช่วยป้องกันและลดการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ตามกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวคือ  1. ลด : ลดความเสี่ยงจากการสัมผัสด้วยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ให้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ หรือก่อนรับประทานอาหาร และหากรู้สึกไม่สบาย ไอ จาม ให้สวมหน้ากากอนามัย  2. เลี่ยง : เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค และเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น รวมทั้งเลี่ยงใช้มือสัมผัสหน้า และ 3. ดูแล : ดูแลสุขภาพตนเองและสังคม รักษาสุขภาพด้วยการกินร้อน ใช้ช้อนกลาง ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ  ในกรณีที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ต้องแยกและสังเกตอาการไม่น้อยกว่า 14 วัน ติดตามข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 
                                                                เพลิน  วิชัยวงศ์ นักประชาสัมพันธ์ ม.อุบลฯ / ข่าว    
                                                                ธวัชชัย  พันธ์จำปา นักวิชาการโสตฯ / ภาพ  


Search
ลิ้งค์ข่าวสาร