ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ม.อุบลฯ เปิดเวทีชี้แจงโครงการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารปลอดภัยครบวงจร ณ ตลาดดอนกลาง ต.ขามใหญ่ จ.อุบลฯ


โพสโดย เทอดภูมิ ทองอินทร์     โพสวันที่ 5 เมษายน 2562 ,     (อ่าน 1,197 ครั้ง)  


ม.อุบลฯ เปิดเวทีชี้แจงโครงการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารปลอดภัยครบวงจร

ณ ตลาดดอนกลาง ต.ขามใหญ่ จ.อุบลฯ

           วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.00-11.00 น.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมทุนเพื่อดำเนินโครงการ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารปลอดภัยครบวงจร” โดยมี รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หัวหน้าโครงการ นำ ทีมคณาจารย์ผู้บริหารโครงการ ร่วมกับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้แก่ คณะบริหารศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และความร่วมมือของหน่วยงานภายนอก อาทิ สำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ผู้บริหารตลาดดอนกลาง ผู้ประกอบการในตลาดเทศบาล 3 และตลาดดอนกลาง ลงพื้นที่ เปิดเวทีชี้แจงโครงการ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารปลอดภัยครบวงจร”ณ ตลาดดอนกลาง ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนอง การแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดในมิติเศรษฐกิจและอาชีพ ภายใต้ประเด็น “นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหารปลอดภัย” เพื่อพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ และพัฒนาระบบสนับสนุนที่เอื้อให้เกิดการเติบโตของการทำงานวิจัยรับใช้พื้นที่ หรือสังคมของมหาวิทยาลัยได้อย่างแท้จริง

            ทั้งนี้ ตลาดมีบทบาทในการกระจายสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้บริโภค จึงเป็นช่องทางที่สามารถส่งผ่านทั้งความปลอดภัยและความเสี่ยงต่อสุขภาพแก่ผู้บริโภคได้ เพื่อสร้างคุณค่าแห่งการเป็นเมืองน่าอยู่ของจังหวัดอุบลราชธานีให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภายในระยะ 20 ปี เพื่อการยกระดับความปลอดภัยของอาหารในจังหวัดอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงทำการวิจัยแบบบูรณาการในประเด็น “ห่วงโซ่คุณค่าสำหรับการบริหารจัดการตลาดสด” ดังนี้ระบบการจัดการตลาด การวางแผนระยะสั้น-ยาว การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  (Firm infrastructure)ระบบการพัฒนาทักษะของผู้ค้าด้านการพัฒนาคุณภาพของการให้บริการแก่ลูกค้าและการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารตลาดและพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสด (Human resources management)การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะกับบริบทเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ตลาด (Technology development)ระบบการวางแผนและการสื่อสารกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวก (Procurement)การจัดหาและ ขนส่งสินค้า (Inbound Logistics)ระบบการจัดวางสินค้า กระบวนการให้บริการแก่ลูกค้า (Operation)ระบบการจัดการของเสีย น้ำเสีย ขยะและการดูแลสุขอนามัย การตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร  (Outbound Logistics) การตลาดและการประชาสัมพันธ์ตลาดสด (Marketing and Sales)และ การให้คำแนะนำ การให้ความรู้แก่ผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย (After-Sale Service)

            โดย การดำเนินงานวิจัยนี้ มีเป้าหมายเพื่อได้ต้นแบบตลาดอาหารปลอดภัยของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพื้นที่นำร่อง คือ ตลาดเทศบาล 3 และ ตลาดดอนกลาง



Search
ลิ้งค์ข่าวสาร