ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

เปิดประสบการณ์ ทวีจิตร กึกกัน นศ.ปี 3 ภาษาอังกฤษและการสื่อสาร ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ ในโครงการ Lancang-Mekong Young Leaders Cultural Exposure Camp ณ ประเทศจีน


โพสโดย เทอดภูมิ ทองอินทร์     โพสวันที่ 26 กันยายน 2561 ,     (อ่าน 2,287 ครั้ง)  


เปิดประสบการณ์ ทวีจิตร กึกกัน นศ.ปี 3 ภาษาอังกฤษและการสื่อสาร ศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ ในโครงการ  Lancang-Mekong Young Leaders Cultural Exposure Campณ ประเทศจีน


          ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 2 - วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา นายทวีจิตร กึกกัน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาภาษาอังกฤษและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ร่วมโครงการ  Lancang-Mekong Young Leaders Cultural Exposure Campณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ส่งผู้แทนเยวชน จำนวน 20 คน ประกอบด้วยหัวหน้าคณะเยาวชน ข้าราชการ อาจารย์ ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ นักศึกษา และสื่อมวลชน ทั้งนี้ได้มีผู้แทนเยาวชนจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศกัมพูชา ประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือเพื่อเป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเยาวชนและความร่วมมือระหว่างเยาวชนจากประเทศล้านช้าง-แม่โขง รวมไปถึงเพิ่มการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้กลไกของความร่ามมือล้านช้าง-แม่โขง

          โดย นายทวีจิตร กึกกัน ได้เล่าถึงประสบการณ์ในครั้งนี้ว่า  เริ่มจากได้ส่งใบสมัครไปที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แห่งประเทศไทย เพื่อสมัครโครงการ Beijing sister city youth camp 2018 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อใบสมัครผ่าน ตนเองก็ได้เข้าไปสอบสัมภาษณ์ที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร ในตอนนั้นจะคัดเลือกคนที่ผ่านสัมภาษณ์เพียงสามคน เมื่อผลประกาศออกมา ปรากฏว่า ได้ติดสำรองอันดับหนึ่ง ซึ่งในเวลานั้นก็รู้สึกถอดใจและไม่คิดว่าจะมีทุนอื่นมารับรอง แต่หลังจากนั้นเพียงวันเดียว ทางกรมก็ติดต่อมาว่า เรามีคุณสมบัติตรงกับอีกโครงการหนึ่ง ซึ่งจะจัดในเดือนกันยายน เจ้าหน้าที่ทางกรมจึงถามเพื่อให้เราสนใจเข้าร่วมและพร้อมยืนยันการเข้าร่วมอีกโครงการหนึ่งหรือไม่ ความรู้สึกแรกที่รู้ว่าจะได้เข้าร่วมในโครงการนี้คือดีใจ และภูมิใจในความกล้าของตัวเองที่กล้าที่จะทำ ที่จะไป เพราะในตอนนั้นยังมีเพื่อนๆต่างจังหวัดและต่างมหาลัยอีกหลายคนที่มาสอบแข่งขันด้วย

          ซึ่ง โครงการการ  Lancang-Mekong Young Leaders Cultural Exposure Camp ที่กำหนดจัด ณ เมืองคุณหมิง และเมืองต้าหลี่ และ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มี กิจกรรมหลักๆ ของโครงการคือ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การสัมมนา การอภิปรายการศึกษาดูงาน และการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมของประเทศจีน พร้อมกัน ก่อนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ตนเองมีความกังวลพอสมควร ในเรื่องภาษา และการใช้ชีวิตในระหว่างกิจกรรม ซึ่งในวันแรก ได้เจอกับนักศึกษาต่างชาติ และตัวแทนจากองค์กรต่าง ๆที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ รู้สึกดีใจที่ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ตนได้พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา พร้อมทั้งทำความรู้จัก กับผู้แทนที่เป็นข้าราชการและหน่วยงานต่างชาติ โดยกิจกรรมที่ทำส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาดูงานทางด้านความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของประเทศจีน เช่น การไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตรถยนต์ ซึ่งใช้หุ่นยนต์ผลิต การใช้โปรแกรมในการจัดเก็บข้อมูลพลเรือน และการไปเยี่ยมชมการดูแลรักษาระบบนิเวศน์ของทะเลสาบเอ่อไห่ อีกทั้งยังมีกิจกรรมที่พาไปดูวัฒธรรมและความเป็นอยู่ของชาวจีน ตนได้เข้าไปเยี่ยมชมบ้านของชาวไป่ การแสดงโชว์ DYNAMIC YUNNAN ซึ่งเป็นโรงละครที่ใหญ่ที่สุดในยูนนาน จัดแสดงเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านจีน การร่ายรำ รวมไปถึงการแสดงของแต่ละชนเผ่าธ์ในประเทศจีน และโครงงการมีการจัดอภิปรายโดยมีตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ ในประเทศล้านช้าง-แม่โขง มาอภิปรายและ เสวนาในหัวข้อ สร้างชุมชนร่วมกันเพื่ออนาคตในชุมชนล้านช้าง-แม่โขง ; Building A Community of Shared Future for LMC รวมถึงแสดงความคิดเห็นกัน จะคล้ายๆกับการกล่าวสุนทรพจน์ ตนได้รับโอกาสให้เป็นตัวแทนของประเทศไทย เป็นคนกล่าวบทความในครั้งนี้ ซึ่งตนได้ยกประเด็นในเรื่องของความเท่าเทียม และการสร้างเยาวชน โดยการจะสร้างชุมชนร่วมกันได้นั้นทุกประเทศต้องเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องสร้างเยาวชนเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้พัฒนาชุมชนในภูมิภาคล้านช้าง-ล้านนา ต่อไป ในกิจกรรมนี้ทำให้ เราได้เห็นมุมมอง แนวคิด รวมถึงทัศนคติของแต่ละท่าน ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการเป็นผู้นำเยาวชนในรุ่นต่อไปได้ อีกทั้งยังได้รับข้อมูลใหม่ๆ ของแต่ละประเทศผ่านการนำเสนอจากวิทยากรของแต่ละประเทศ ล้วนแต่เป็นรงบันดาลใจ และไอเดีย ที่เป็นแนวทางในการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองในอนาคตได้ หลังจากเสร็จสิ้นจากการเสวนา และสุดท้าย ได้มีการเปิดเวทีให้แต่ละประเทศได้จัดการแสดงทางวัฒนธรรมประจำชาติของตนเอง ตนได้นำการฟ้อนในรูปแบบสี่ภาคของประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมแสดงกับตัวแทนชาวไทยที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ทุกคน ซึ่งกว่าจะได้การแสดงออกมาทุกคนก็ต้องเสนอความคิด และใช้เวลาในการซ้อมพอสมควร แต่เมื่อแสดงเสร็จทุกคนต่างภูมิใจที่ได้ทำมันออกมา รวมทั้งแต่งกายในชุดพื้นเมืองอีสานอีกด้วย

          สุดท้ายนี้อยากจะขอบคุณกองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ให้โอกาสให้ตนได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และขอขอบคุณสหพันธ์เยาวชนแห่งชาติจีน ที่สร้างสรรค์โครงกการดีๆ ต่อจากนี้ก็อยากจะนำความรู้ใหม่และประสบการณ์ที่ได้จากโครงการนี้ มาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการเรียนและกิจกรรมอื่นๆในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีต่อไป



Search
ลิ้งค์ข่าวสาร