ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ม.อุบลฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ UBU active learning 21 “นวัตกรรมพลิกโฉมอุดมศึกษา”


โพสโดย เทอดภูมิ ทองอินทร์     โพสวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ,     (อ่าน 1,297 ครั้ง)  


ม.อุบลฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ UBU active learning 21 “นวัตกรรมพลิกโฉมอุดมศึกษา” 

     
  

 

          วันจันทร์ที่ 7  พฤษภาคม  2561  เวลา 08.30 – 16.30 น. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ณ ห้องประชุมศรีเมืองใหม่ สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “นวัตกรรมพลิกโฉมอุดมศึกษา : MOOC”  ณ ห้องประชุมศรีเมืองใหม่ สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี ดร.รัชดา โสภาคะยัง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวเปิดการอบรม พร้อมต้อนรับวิทยากร ผศ.ภก.ดร.อนุชัย  ธีระเรืองไชยศรี (คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย : สกอ.) และ ผศ.ดร.ปราวีณยา  สุวรรณณัฐโชติ  (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) บรรยายพิเศษ เรื่อง “นวัตกรรมพลิกโฉมอุดมศึกษา : MOOC” การอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมรวมจำนวนทั้งสิ้น 115 คน เป็นอาจารย์และบุคลากรจากคณะต่างๆ จำนวน 102 คน และเป็นครูโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 13 คน

            ทั้งนี้ ดร.รัชดา โสภาคะยัง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้กล่าวในพิธีเปิดการอบรมว่า “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ ท่าน ผศ.ภก.ดร.อนุชัย  ธีระเรืองไชยศรี และ ผศ.ดร.ปราวีณยา  สุวรรณณัฐโชติ กรุณาให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ในหัวข้อเรื่อง “นวัตกรรมพลิกโฉมอุดมศึกษา” ในวันนี้ ด้วยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอาจารย์ให้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับภาวะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ที่ผู้เรียนจะเป็น digital natives ซึ่งเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตอล มีทักษะในการใช้เครื่องมือสื่อสาร คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์พกพาอัจฉริยะต่างๆ จึงจำเป็นที่ผู้สอนต้องเปลี่ยนการสอนเป็นเน้นให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก และชี้แนะเครื่องมือการเข้าถึงความรู้ผ่านวิธีต่างๆ หรือกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning  ดังนั้น  การจัดอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในครั้งนี้ นับว่ามีความสำคัญที่คณาจารย์จะได้รับความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มทักษะกระบวนการเรียนรู้ สามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิด (Massive Open Online Courses) หรือ MOOC ที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพผู้เรียน เพิ่มทางเลือกในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการผู้เรียนในปัจจุบัน คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ  ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในยุคปัจจุบัน”

 

ข่าว เทอดภูมิ ทองอินทร์ นักปรชาสัมพันธ์

ภาพข่าว พลิน  วิชัยวงศ์ นักประชาสัมพันธ์ 



Search
ลิ้งค์ข่าวสาร