ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ม.อุบลฯ ลงพื้นที่อบรม โครงการ “อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน” พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โรงเรียนราษีไศล


โพสโดย ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร     โพสวันที่ 9 มีนาคม 2561 ,     (อ่าน 1,013 ครั้ง)  


ม.อุบลฯ ลงพื้นที่อบรม โครงการ “อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน”

พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โรงเรียนราษีไศล

---------------------------------------

           เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดโครงการ อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน(พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) กิจกรรมย่อยที่ 6 โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า และกิจกรรมย่อยที่ 7 ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงานด้านความร้อน ตามแผนบูรณาการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราษีไศล ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นางวัชรินทร์  คำวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนราษีไศล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักเกียรติ  จิตคติ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการอาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน(พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรมและขอบคุณทางโรงเรียนราษีไศลที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่จัดอบรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติยา  วงษ์ขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชานี และผู้ร่วมโครงการอาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน(พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ในการจัดอบรมครั้งนี้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานพร้อมการใช้งาน การดูแล และบำรุงรักษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา ครู องค์กรบริหารส่วนตำบลและประชาชนทั่วไป สำหรับการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชัชวิน  นามมั่น และ ดร.สมปอง  เวฬุวนาธร อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักเกียรติ  จิตคติ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการอาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน(พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติยา  วงษ์ขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชานี และผู้ร่วมโครงการอาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน(พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ไฟฟ้าและการอนุรักษ์” ณ ห้องประชุม 1 และ 2 โรงเรียนราษีไศล ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนเข้ารับการอบรมจำนวนมาก

           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักเกียรติ  จิตคติ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการอาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน(พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินโครงการ อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน(พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) แผนบูรณาการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 21 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวได้แบ่งแยกงบประมาณออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ งบประมาณส่วนที่ 1 ใช้ในการก่อสร้างศูนย์อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานของจังหวัดภาคอีสานตอนล่าง และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง 7 ด้าน ประกอบด้วย Solar energy, Biodiesel, Biogasและ Bioethanol ตลอดจนการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า การอนุรักษ์พลังงานด้านความร้อน และอาคารอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีการออกแบบอาคารเป็นอย่างดี รวมทั้งมีวิสัยทัศน์ เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนตอนล่างของลุ่มแม่น้ำโขง (สปป. ลาว กัมพูชา และเวียนนาม) โดยเน้นภารกิจหลัก คือการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี พลังงานทดแทนและเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้แก่ประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยมุ่งเน้นประเด็นวิจัยและการบริการวิชาการจะเป็นเรื่องเชิงพื้นที่ ปัจจุบันอาคารดังกล่าวอยู่ในระหว่างดำเนินการ และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณสิ้นปี และงบประมาณส่วนที่ 2 ใช้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติ เพื่อผลิตผู้มีความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และบริการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน ทั้ง 7 ด้าน ให้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และประชาชนทั่วไป ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะลดการใช้พลังงานของประเทศลง และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 การพัฒนาด้านพลังงาน เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเป็นร้อยละ 17.34 ในปี 2564 และลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าให้เหลือร้อยละ 47 ในปี 2564 เพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทนทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ให้เพิ่มสูงขึ้นตามแผน AEDP ในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายด้วย

----------------------------------

ทิพย์วรรณ  เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว



รายละเอียดเพิ่มเติม : รายละเอียด 1

Search
ลิ้งค์ข่าวสาร