ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ม.อุบลฯ เป็นศูนย์ประสานงานภูมิภาคการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 20 (รอบสอง)สนองรัฐ Thailand 4.0 สานฝันยกระดับมาตรฐานเยาวชนไทยไปสู่เวทีนานาชาติ


โพสโดย ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร     โพสวันที่ 19 มกราคม 2561 ,     (อ่าน 1,179 ครั้ง)  


ม.อุบลฯ เป็นศูนย์ประสานงานภูมิภาคการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 20 (รอบสอง)

สนองรัฐ Thailand 4.0 สานฝันยกระดับมาตรฐานเยาวชนไทยไปสู่เวทีนานาชาติ

-------------------------------

          เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2561 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)ในนามศูนย์ประสานงานภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัด “การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 20” (The Twentieth Young Scientist Competition 2018 : YSC2018)เป็นเจ้าภาพจัดการนำเสนอผลงาน (รอบสอง) ณ อาคารวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี ดร.ปิยวิทย์  คุ้มพงษ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสติก (PTL) หน่วยวิจัยโพลิเมอร์ (PRU) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (ศว.)กล่าวต้อนรับคณะครู-อาจารย์ และนักเรียนที่ผ่านการพิจารณาในรอบข้อเสนอโครงงาน (รอบแรก) และได้รับทุนพัฒนาผลงาน โครงงานละ 3,000.- บาท จำนวน 34 โครงงาน จากนั้นเป็นการชี้แจงเกณฑ์การตัดสินและแนะนำคณะกรรมการแต่ละสาขาตรวจประเมินผลงานและตัดสินผลงาน (รอบสอง) และเริ่มดำเนินการพิจารณาผลงาน (รอบสอง) ซึ่งผลการพิจารณาของคณะกรรมการครั้งนี้ มีโครงงานที่ผ่านการพิจารณาในรอบผลงานโครงงาน (รอบสอง) และเป็นตัวแทนศูนย์ประสานงานภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ได้รับการพิจารณาให้ส่งโครงงานเข้าร่วมการประกวดในรอบชิงระดับประเทศต่อไป ที่ได้รับทุนสนับสนุนโครงงานละ 9,000.- บาท โดยทีมผู้พัฒนาโครงงานได้รับทุนสนับสนุนโครงงาน จำนวน 7,000.- บาท และอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับค่าตอบแทน 2,000.- บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร จำนวน 6 โครงงาน ประกอบด้วย โครงงาน การยืดอายุเยลลี่หมากเม่าโดยการใช้สารสกัดจากฝาง”โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล “ฟิล์ม CMC ลดภาวะโลกร้อนจากวัชพืช” โรงเรียนอนุกูลนารี “เครื่องปั่นด้ายเพื่อกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองแบบอัตโนมัติสู่อุตสาหกรรมในครัวเรือน” โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย “การผลิตเจลาตินจากเกล็ดปลาตะเพียนและการนำไปใช้ประโยชน์” โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม “การผลิตฟองน้ำจากชานอ้อยเพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกในการปลูกพืชแทนดิน” โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล และโครงาน “การศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงานความร้อนโดยใช้ขี้ซีที่มีตามชนบท” โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล และมีโครงงานที่ผ่านการพิจารณาในรอบผลงานโครงงาน (รอบสอง) ที่ได้รับรางวัลสนับสนุนโครงงานละ 9,000.- บาท ประกอบด้วย โครงงาน “การศึกษาประสิทธิภาพการเป็นสารหน่วงไฟ ของเคราตินที่สกัดจากเส้นผมในผ้าฝ้าย” โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร “น้ำปรุงปลาส้มนาโนเลือกระดับความเปรี้ยว” โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ “การย้อมสีของใบหม่อนและการพ่นสารละลายจากถ่านไม้ที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีและความแข็งแรงของเส้นใย” โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ “แผ่นฟิล์มจากกากมันสำปะหลังสำหรับเคลือบปุ๋ยที่ควบคุมการปลดปล่อย” โรงเรียนบรบือวิทยาคาร “การศึกษาประสิทธิภาพในการสลายโฟม โดยใช้สารสกัดจากใบทำมัง(แมงดา)” โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล “สมการการเจริญเติบโตของมันแกว” โรงเรียนบรบือ และโครงงาน “การพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงจากสีย้อมพืชในท้องถิ่น” โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล สำหรับโครงงานที่ผ่านการพิจารณาในรอบผลงานโครงงาน (รอบสอง) และเข้ารอบชิงระดับประเทศจะเข้าร่วมการประกวดรอบชิงชนะเลิศในช่วงเดือน มีนาคม 2561 และรางวัลชนะเลิศ จะได้รับทุนการศึกษา จำนวน 60,000.- บาท และเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF 2018) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยโครงการ YSC จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายเฉพาะนักเรียนที่เป็นตัวแทนประเทศไทยเท่านั้น และรางวัลรองชนะเลิศ จะได้รับทุนการศึกษา จำนวน 30,000.- บาท และได้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF 2018) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤษภาคม 2561 ต่อไป

          ดร.สุรสิทธิ์  สุทธิคำภา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประธานคณะทำงานฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า สำหรับการจัดการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ได้จัดการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ต่อมาในปี พ.ศ.2545 เพิ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และปี พ.ศ.2549 ได้เพิ่มการประกวดในประเภททีม (Team Project) โดยเปิดกว้างในทุกสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการนี้ เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนเยาวชนในระดับมัธยมศึกษา ให้มีโอกาสแสดงความสามารถและทักษะที่เป็นนวัตกรรมและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประเทศ และเพื่อคัดเลือกนักเรียนตัวแทนประเทศไทยสำหรับเข้าประกวดในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา อันจะเป็นการยกระดับมาตรฐานและผลักดันผลงานของเยาวชนไทยสู่เวทีระดับนานาชาติ

--------------------------------------

ทิพย์วรรณ  เวฬุนาธร นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว

กรวิช  แก้วดี คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ/ภาพ



Search
ลิ้งค์ข่าวสาร