ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

กาพย์เซิ้งบั้งไฟ

กาพย์เซิ้งบั้งไฟ

 

        อร่ามจิต  ชิณช่าง (2531: 89-90) กล่าวว่า กาพย์เซิ้งบั้งไฟเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นอีสานที่ใช้ร้องในขบวนแห่บั้งไฟ แต่งด้วยคำประพันธ์อีสานประเภทกาพย์ ลักษณ์สำคัญของกาพย์เซิ้งบั้งไฟ คือนิยมสัมผัสสระและเป็นสัมผัสนอกระหว่างวรรค คือคำสุดท้ายของบาทที่ 1 จะสัมผัสกับคำที่ 3 ของบาทต่อไป โดยใช้ระดับเสียงของวรรณยุกต์ในการสัมผัสเป็นเสียงวรรณยุกต์ระดับเดียวกันจึงจะไพเราะ ถ้าการสัมผัสขัดข้องอนุโลมให้เป็นคำที่ 1 หรือ 2 ก็ได้ กาพย์เซิ้งบั้งไฟมี 2 ชนิดคือ กาพย์บาทคีก (กาพย์บาทคี่) มีจำนวนวรรคละ 7 คำ ส่วนกาพย์บาทคู่หรือกาพย์บาทขอนมีจำนวนวรรคละ 8 คำ กาพย์เซิ้งบั้งไฟ 1 บท จะมีจำนวนกี่วรรคก็ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่องที่ต้องการกล่าวถึง ในการเซิ้งจะมีต้นเสียงเป็นหัวหน้าและจะมีลูกคู่คอยว่าตาม ตั้งแต่ต้นจนจบ

        การเซิ้งบั้งไฟเดิมเป็นการร้องประกอบการร้องกาพย์เซิ้ง เพื่อขอบริจาคจตุปัจจัยเพื่อร่วมสมทบในการจัดงานบุญบั้งไฟ ต่อมาสถาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป การเซิ้งบั้งไฟจึงถูกประยุกต์ให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจสังคม ปัจจุบันการเซิ้งบั้งไฟมักจะมีการเซิ้งในขบวนแห่เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความรื่นเริงให้กับขบวนแห่