ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

กิจกรรมพัฒนาโจทย์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย "สถานการณ์อาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี"


โพสโดย ปัญจีรา ศุภดล     โพสวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ,     (อ่าน 1,320 ครั้ง)  


กิจกรรมพัฒนาโจทย์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครั้งที่ 1 เพื่ออภิปรายและหาประประเด็นการทำการวิจัยร่วมกันในเรื่อง สถานการณ์อาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งดำเนินการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ณ Business Center ชั้น 2 โรงแรมสุนีย์แกรนด์โฮเทล แอน คอนแวนชั่น เซ็นเตอร์ อุบลราชธานี

ผลการดำเนินการ มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 40 คน ประกอบด้วย
ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน ในพื้นที่ ดังนี้
นายยอดยุทธ เดชรุ่งเรือง รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี
นายสมชาติ พงศ์พนาไกร ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
นางพองาม ปรีดาสันต์ ประธานบริษัทประชารัฐ รักสามัคคี จังหวัดอุบลราชธานี (วิสาหกิจชุมชน) จำกัด
นายรัฐนันท์ ภัทรธนเศรษฐ์ ประธานเครือข่ายธุรกิจ Biz Club อุบลราชธานี
นางสุภาวดี ตริยางกุลศรี โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล
นางสาวกาญจนา มหาพล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
นายชัยวัฒน์ อังคีรส รองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดอุบลราชธานี
นายสูติ ปัจฉาภาพ หัวหน้ากลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 
ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมสำนักงานเกษตรจังหวัด กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์

ภาควิชาการ มีดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ดร.จริยาภรณ์ อุ่นวงษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้บริหารโครงการ
คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ
ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ (ABC) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

หลังการชี้แจงเป้าหมายของการจัดเวที ผู้เข้าร่วมประชุมได้รายงานบทบาทที่รับผิดชอบ ความต้องการ  ผลการดำเนินงาน ปัญหา และ อุปสรรค ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น อาหารปลอดภัย หลังจากนั้นผู้บริหารโครงการนำเสนอองค์ประกอบของห่วงโซ่อาหารปลอดภัย กับที่ประชุม เพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายหลักที่จะเริ่มดำเนินการให้เกิดผลภายใต้กรอบระยะเวลา 1 ปี ที่ประชุมมีมติร่วมกันว่า “การตลาดและการเข้าถึงผลิตภัณฑ์” เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อที่สำคัญของทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค การเข้าถึงผลิตภัณฑ์สามารถเกิดขึ้นทั้งในรูปแบบของการซื้อขายที่ตลาดซึ่งเป็นสถานที่โดยตรง หรือการจัดการผ่านระบบออนไลน์ต่าง ๆ ดังนั้น เป้าหมายร่วม คือ “การยกระดับสู่ตลาดปลอดภัย” ภายใต้ประเด็นดังกล่าวที่ประชุมมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดทำกรอบการวิจัยและประเด็นวิจัยย่อยที่จะทำให้เกิดการยกระดับสู่ตลาดปลอดภัย โดยหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ และเจ้าของตลาดเอกชนที่เข้าร่วมประชุมได้เสนอพื้นที่ปฏิบัติการ คือ ตลาดสดเทศบาล 3 เป็นตัวแทนของตลาดที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐ และตลาดตอนกลางซึ่งเป็นตัวแทนของตลาดเอกชน



Search