ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย 2563

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2563

    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจการของมหาวิทยาลัย จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการด้านต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยในด้านการวิจัย ได้กำหนดระบบและกลไกในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

แผนผังแสดงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

กระบวนงาน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ระบบและกลไก

กิจกรรมและผลการดำเนินงาน

1) การจัดทำคำของบประมาณ

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • คณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • การจัดประชุมรับฟังความเห็นความต้องการ และปัญหา จากกลุ่มเป้าหมาย และส่วนราชการในพื้นที่
  • การประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย

1) กิจกรรมพัฒนาโจทย์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ ได้จัดให้มีการประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาโจทย์การวิจัยตามกรอบวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อเสนอของบประมาณ งบประมาณในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 ดังนี้

1.1) ประชุมคณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในคราวประชุมวาระพิเศษ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 และครั้งที่ 7/2562 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับประเทศ และภูมิภาคร่วมกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) โดยมติที่ประชุมเห็นควรให้การเสนอของบประมาณวิจัยและนวัตกรรม ในระบบ ววน. ต้องเป็นลักษณะแผนงานวิจัย มีชุดโครงการ ที่มีการบูรณาการงานวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชาการ หรือบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ และสอดคล้องกับกรอบการวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านรวมกัน ที่ได้มีการวิเคราะห์ความสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ของประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 และแผนพัฒนาจังหวัด โดยมหาวิทยาลัยมีกรอบการวิจัย ดังต่อไปนี้

(1) กรอบการวิจัยด้าน Bio-Hub
(2) กรอบการวิจัยด้านการท่องเที่ยว
(3) กรอบการวิจัยด้านการค้า การลงทุน และการพัฒนาชายแดน
(4) กรอบการวิจัยด้านเมืองน่าอยู่ทันสมัย
(5) กรอบการวิจัยด้านคุณภาพชีวิต
(6) กรอบการวิจัยด้านเทคโนโลยีวัสดุ (Materials Technology)

1.2) ประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 และมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การกำหนดโจทย์วิจัยและพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อเสนอของบประมาณวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมยูเพลส โดยเป็นการประชุมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีร่วมกับหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี บริษัท อุบลราชธานี อินดัสทรี้ จำกัด องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี และสมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดอุบลราชธานี กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัยได้มีเวทีพบปะระหว่างนักวิจัยที่มีความสนใจในประเด็นเดียวกัน ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในการพัฒนาเป็นกลุ่มนักวิจัย และศูนย์ความเชี่ยวชาญในระยะต่อไป รวมทั้ง เพื่อให้นักวิจัยได้พบปะ และพัฒนาทักษะในการค้นหาโจทย์วิจัยจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นที่เป็นนโยบายการพัฒนาของประเทศ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีนักวิจัยที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 130 คน 

1.3) ประชุมกลุ่มย่อยระหว่างนักวิจัยเพื่อจัดทำแผนงานวิจัย ภายหลังการระดมความคิดเห็นจากนักวิจัย มีแผนงานการวิจัยที่ได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัยในเบื้องต้น จำนวน 20 แผนงาน 

1.4) ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาข้อเสนอการวิจัย ดังนี้

(1) การประชุมเพื่อจัดทำชุดโครงการภายใต้แผนงานวิจัย “การวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองต้นแบบด้านบริการสุขภาพข้ามแดน (Transborder Medical Hub)” เพื่อเสนอของบประมาณ ประจำปี 2564 ครั้งที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม SEC205 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดังนี้ นางสาวพิมณทิพา มาลาหอม ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านสาธารณสุข ดร.ณัฏฐ์ชนันท์ กมลฤกษ์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานประกันสุขภาพ  นางสาวนิรุมล กมุทชาติ  ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานสนับสนุนบริการ จำนวนผู้เข้าร่วม 16 คน (นับแล้ว) ครั้งที่ 2 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562 จำนวนผู้เข้าร่วม 9 คน ครั้งที่ 3 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562  จำนวนผู้เข้าร่วม 12 คน

(2) การเสวนา เรื่อง “แนวทางการพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อการบริหารจัดการน้ำ กรณีศึกษาการเกิดน้ำท่วมในลุ่มน้ำมูลและชี” เมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม SEC 205 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  วัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นความสำคัญและบทบาทของนักวิชาการด้านทรัพยากรน้ำกับปัญหาการบริหารจัดการน้ำ นำเสวนาโดย  ศาสตราจารย์สุวัฒนา จิตตลดากร อนุกรรมการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และมีนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น  คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) อบต.ทุ่งใหญ่ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวนผู้เข้าร่วม 38 คน ผลการดำเนินงานได้ร่วมจัดทำข้อเสนอการวิจัย เรื่อง “การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล เพื่อบูรณาการการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอย่างยั่งยืน” เสนอของบประมาณประจำปี 2564 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

1.5) เวทีประเมินข้อเสนอโครงการ เพื่อเสนอของบประมาณในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยนักวิจัยนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เกี่ยวข้องการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการโดยแบ่งตามกรอบการวิจัยของมหาวิทยาลัย ดังนี้

(1) กลุ่มด้าน Bioeconomy จัดประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม U3 โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะแก่นักวิจัย ได้แก่ ศ.ดร.ภญ. มาลิน อังสุรังษี  ส่วนวิจัยและพัฒนา บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์ เนชั่นแนล เอนเตอร์ ไพรส์ จํากัด (มหาชน) รศ.ดร. กาญจนา ศรีพฤทธิ์เกียรติ  คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนางสุคนธ์ทิพย์ สินวิวัฒนกุล  หัวหน้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี

(2) กลุ่มด้าน Bioeconomy (ประมง) จัดประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม U2 โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะแก่นักวิจัย ได้แก่ ดร.วรชาติ ดุลยเสถียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บูลเลเซีย อะกริฟลูอิด จำกัด นายประชุม ดวนใหญ่ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนประมงจังหวัดอุบลราชธานี และศ.ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(3) กลุ่มด้านการพัฒนาชาย แดน ท่องเที่ยว และเมืองน่าอยู่ทันสมัย จัดประชุมเมื่อวันจันทร์ที่  25  พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม U3 โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะแก่นักวิจัย ได้แก่ ผศ.กาญจนา ทองทั่ว  ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ชุดนักวิชาการจังหวัดอุบลราชธานี ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกสว. ศ.ดร.สมบัติ กาญจนกิจ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายธนะรัชต์  สุภาพันธ์  ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี  

(4) กลุ่มด้านคุณภาพชีวิต จัดประชุมเมื่อวันอังคารที่  26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมบุณฑริก ชั้น 2  สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะแก่นักวิจัย ได้แก่ ศ.ดร. สุพจน์ หารหนองบัว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ. วิศิษฎ์ สงวนวงศ์วาน  โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

2) การดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • พี่เลี้ยง และคณะกรรมการบริหารงานวิจัย
  • การเปิดเวทีชี้แจงโครงการวิจัย และการประชุมกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  • การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

 

1) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัย นักวิจัยที่ดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ ได้มีการลงเก็บข้อมูลและรับฟังข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาใช้ในการวิจัย ดังนี้

1.1) ทีมวิจัยโครงการการศึกษาห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตรในจังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลศึกษาห่วงโซ่อุปทาน ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อนำมาวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในการจัดทำข้อเสนอแนะให้แก่ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อวางแผนโครงการต่อไป ซึ่งทางทีมวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์พ่อค้าแม่ค้าพื้นที่ตลาดดอนกลาง เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 และตลาดเทศบาล 3 (ตลาดใหญ่) ในวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2563 เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้ค้าในตลาดทั้งสองแห่ง ผู้ค้าส่ง และเกษตรกรผู้ผลิตเฉพาะรายที่อยู่ในพื้นที่อุบลราชธานี จำนวน 67 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ค้าในตลาดเทศบาล 3 (ตลาดใหญ่) จำนวน 47 ราย ตลาดดอนกลาง 20 ราย นำทีมโดย ดร.สมปอง  เวฬุวนาธร ดร.สุภาวดี  หิรัญพงศ์สิน นายอนุพงษ์  รัฐิรมย์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ และนายฐิติ  ราศีกุล อาจารย์ประจำคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีการติดตามการปดำเนินงาน

ภาพกิจกรรม

1.2) ทีมวิจัยโครงการกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับตลาดอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่วิจัยเกี่ยวกับปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารปลอดภัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2563 ลงพื้นที่ ณ ตลาดดอนกลาง ในวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2563 ลงพื้นที่ ณ ตลาดเทศบาล 3 (ตลาดใหญ่) สัมภาษณ์ผู้ค้าและลูกค้าของแต่ละร้านค้า เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อตลาดอาหารปลอดภัย และได้นำแผนกลยุทธ์ทางการตลาดในส่วนของกิจกรรมส่งเสริมการตลาดไปดำเนินการและสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าภายในตลาด ซึ่งจักได้พยายามนำอาหารปลอดภัยมาสู่ผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัย

ภาพกิจกรรม

 2) การคืนข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดประชุมสรุปความก้าวหน้าและคืนข้อมูลโครงการ“นวัตกรรมและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารปลอดภัย  ครบวงจร” แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันพุธที่ 4ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 4 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายประชา  กิจตรงศิริ รองนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี  เป็นประธาน และมีทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทศบาลนครอุบล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

   ภาพกิจกรรมและภาพข่าว

http://www.ubu.ac.th/new2018/news_read.php?id=17459

https://www.facebook.com/UbonConnect/videos/364992040982580/?t=0

3) การติดตามการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น  ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
  • พี่เลี้ยง และผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัย

จัดประชุมนำเสนอรายงานความก้าวหน้าด้วยวาจา 

1) จัดประชุมนำเสนอรายงานความก้าวหน้าด้วยวาจา โครงการวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในวันที่ 5 กันยายน 2562  ต่อผู้ทรงคุณวุฒิ และกำหนดให้นักวิจัยรายงานความก้าวหน้าโครงการในระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS) ภายใน 30 กันยาน 2563  และสรุปรายงานที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทราบ ในการประชุมครั้งที่  8/2562 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562

สรุปผลการดำเนินงาน

2) จัดเวทีรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารปลอดภัยครบวงจร ประจำปี 2562  วัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงาน ระยะ 6 เดือน และเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานระยะต่อไป เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุม Ballroom C ชั้น 2 โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้ทรงคุณวุฒิภายในพื้นที่และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ที่ร่วมรับฟังผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน และให้ข้อเสนอแนะแก่ทีมนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ (ABC) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) คุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา ซาฮีร์ (พี่เลี้ยงโครงการ) นางสิริพร แก้วมหาวงศ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี นางพรรณธิดา หล้าวงษ์ เภสัชชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี นายรัฐนันท์ ภัทรธนเศรษฐ์ เจ้าของตลาดดอนกลาง นายศรชัย โพธิพิมพ์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กลุ่มส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี นายนิมิต  สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา  อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ภาพกิจกรรม และภาพข่าว
http://www.guideubon.com/2.0/ubon-news/66/
https://www.talknewsonline.com/145182/
https://www.youtube.com/watch?v=aPaHYbuCWww&feature=share

4) การประเมินผลการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  • การรายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัย 

1) มีระบบการประเมินรายงานการวิจัย โดยจัดส่งรายงานการวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินก่อนจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

2) รายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัย

2.1) จัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานวิจัยและปิดโครงการวิจัยโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีแปรรูปอาหารปลอดภัยครบวงจร เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานให้ สกสว. ผู้ค้า ชุมชน และภาคีเครือข่ายรับทราบ และเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานวิจัยให้รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิดร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำไปสู่การสร้างเครือข่ายในการทำงานวิจัยและนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งในวันดังกล่าว นายวิรุจ วิชัยบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมให้แนวคิดนโยบายการสนับสนุนแผนบูรณาการอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี  และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ  คณะกรรมการอาหารจังหวัด ผู้บริหารตลาด ผู้ค้า นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

ภาพกิจกรรม

2.2) จัดงานแถลงข่าวผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1 เมื่อวันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ Joint Space อำเภอเมืองอุบลราชธานี มีผลงานจัดแสดงทั้งสิ้น 8 ผลงาน มีจำนวนผู้เข้าร่วมงานแถลงข่าวทั้งหมด 51 คน เป็นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  จำนวน 27 คน บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 24 คน จากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ เกษตรจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด ศูนย์ยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด พัฒนาชุมชนอำเภอเขื่องใน องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี ประธานเครือข่ายธุรกิจ Biz Club อุบลราชธานี  บจก.พัฒนาพลังงานอุบล ผู้จัดการ หจก. พลังเทวดา และประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์เมืองศรีไค และจากสำนักข่าวต่าง ๆ จำนวน 6 แห่ง  ได้แก่ ช่อง 7 ไทยรัฐ ช่อง5 NBT โสภณเคเบิ้ลและ VP NEWS

ภาพกิจกรรม 

วิดีโองานแถลงข่าว

  3) เผยแพร่ผลงานวิจัยโดยใช้สื่อออนไลน์ 

ทางเว็บไซต์    http://www.ubu.ac.th/web/research

แฟนเพจ (Fanpage) Research UBU และ ABC Research

Youtube เช่น  https://www.youtube.com/watch?v=mZWbebM03nI&feature=youtu.be  เป็นต้น

5.ขยายผล ต่อยอดการนำไปผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม
  • นักวิจัย
  • ภาคเอกชน

 

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 แถลงข่าว “โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ปีงบประมาณ 2563” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผู้บริหาร นักวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และนายวิเชียร  สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) แถลงข่าวเปิดตัวโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ปีงบประมาณ 2563 เพื่อเปิดตัวหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit – SID) ประจำพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 โดยเป็นการสร้างความร่วมมือเพื่อนำนวัตกรรมมาแก้ปัญหาสังคมในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสาขาธุรกิจเพื่อสังคม ที่สร้างความสามารถทางนวัตกรรมเพื่อสังคมให้กับองค์กรต่าง ๆ โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์หรือสาธิตนำร่องผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการที่เพิ่มมูลค่า หรือรูปแบบการดำเนินการแบบใหม่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมในเชิงบวก อันจะช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

ภาพกิจกรรม