ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ยุทธศาสตร์ด้านงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561 - 2580)

แผนปฏิรูประเทศ 

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

          ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ในการดำเนินงานตามกรอบภารกิจของมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ดังนี้


วิสัยทัศน์

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการเรียนรู้ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผลิต  บัณฑิตที่มีคุณภาพ

สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน


    

พันธกิจ

1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ มาตรฐาน มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ

2. สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่นำไปประยุกต์ใช้ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

3. บริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการยอมรับในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ สร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลายของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง   


ประเด็นยุทธศาสตร์

1. จัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เป็นที่ยอมรับในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

2. พัฒนางานวิจัยแบบมุ่งเป้าเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน

3. พัฒนาบทบาทในการเป็นผู้นำด้านการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม บนพื้นฐานความพอเพียง

4. ปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีท้องถิ่น และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนเกิดสำนึกรักบ้านเกิดและองค์กร

5. บริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล สามารถปรับตัวให้ทันกับพลวัตรการเปลี่ยนแปลง ยกระดับคุณภาพให้เป็นมาตรฐานสากล และ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการทำงานอย่างมีความสุข

6. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ มีสมรรถนะ ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข และมีความผูกพันกับองค์กร

7. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย มั่นคง ปลอดภัย และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุน การเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ การบริการทางการศึกษา การบริหารจัดการ และยกระดับความสามารถของนักศึกษาและบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล


เป้าหมายเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)

1. มีผลการประเมินติดอันดับ 1 ใน 20 (QS RANKING) เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยของรัฐในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

2. มีสัดส่วนหลักสูตรระดับปริญญาตรี : บัณฑิตศึกษา เป็น 50 : 50

3. มีสัดส่วนหลักสูตรที่สอนด้วยภาษาอังกฤษหรือหลักสูตรนานาชาติ : หลักสูตรที่สอนด้วยภาษาไทย เป็น 15 : 85

4. มีสัดส่วนจำนวนนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี : วิทยาศาสตร์สุขภาพ : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็น 38 : 12 : 50

5. มีนักศึกษาต่างชาติเป็นร้อยละ ๕ ของจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าในแต่ละปีการศึกษา

6. มีสัดส่วนจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี: ระดับบัณฑิตศึกษา เป็น 85: 15

7. มีสัดส่วนคุณวุฒิอาจารย์ตรี โท เอก เป็น 2: 38: 60

8. มีสัดส่วนตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ : ผศ. : รศ. : ศ. เป็น 50: 33: 16.5: 0.5

9. มีกลุ่มงานวิจัยอย่างน้อย 1 กลุ่มที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศ

10. ร้อยละของจำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม เป็นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับผลงานวิจัยทั้งหมด

11. มีสัดส่วนงบประมาณจากรัฐ : รายได้ค่าธรรมเนียมการศึกษา: รายได้จากงานวิจัยบริการวิชาการ เป็น 50: 40 10

 12. ผลการประเมินการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวติดอันดับ 1 ใน 100 ของโลก


ยุทธศาสตร์การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์

อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดจิตสำนึกรักท้องถิ่นและประเทศชาติ

เป้าประสงค์

นักศึกษาบุคลากรและชุมชนร่วมอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนคุณค่าภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

กลยุทธ์ที่ 1

สร้างความเชื่อมโยงระหว่างงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับภารกิจต่างๆของมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึกรักท้องถิ่นและประเทศชาติมาตรการ

มาตรการ

(1) พัฒนาระบบกลไกการบริหารงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้เชื่อมโยงกับภารกิจด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

(2) พัฒนาระบบประเมินแผนและผลสัมฤทธิ์แบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึกรักท้องถิ่นและประเทศชาติ

กลยุทธ์ที่ 2

ส่งเสริมให้นักศึกษาบุคลากรและชุมชนร่วมสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนคุณค่าภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาคลุ่มน้าโขง

มาตรการ

(1) จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาบุคลากรและชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณค่าภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาคลุ่มน้าโขง

(2) ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงผลงานสร้างสรรค์ที่สะท้อนคุณค่าภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาคลุ่มน้าโขง

กลยุทธ์ที่ 3

สร้างแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ

มาตรการ

(1) จัดทาฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาคลุ่มน้าโขงเพื่อให้บริการแก่นักศึกษาบุคลากรและประชาชน

(2) สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาคลุ่มน้าโขง

(3) พัฒนาสถานที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาคลุ่มน้าโขง

(4)จัดการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ

ตัวชี้วัด

1. ร้อยละของจานวนโครงการทานุฯที่เชื่อโยงไปสู่การทาวิจัย/บริการวิชาการ/การเรียนการสอน/กิจกรรมนักศึกษา

2.จำนวนแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย

3. จำนวนผลงานกิจกรรมที่มีการเผยแพร่ด้านศิลปวัฒนธรรมไม่น้อยกว่ากิจกรรมต่อปี

4. ร้อยละของนักศึกษาที่เห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทย

5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อประโยชน์ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

6. จำนวนกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้แสดงผลงาน

7. ร้อยละของนักศึกษาบุคลากรและชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายโครงการ

8. จำนวนหมวดความรู้ที่ปรากฏในฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย

9. จำนวนกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับภาครัฐและเอกชน