ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

กรอบการดำเนินงานบริการวิชาการตามแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี

    จากนโยบายที่กำหนด  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายดังกล่าว มีความชัดเจนเห็นผลเป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มผู้รับบริการจากมหาวิทยาลัย  จึงได้กำหนดพื้นที่ในการให้บริการเน้นกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ 4 ตำบลรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้แก่ ตำบลเมืองศรีไค ตำบลโพธิ์ใหญ่ ตำบลธาตุและตำบลคำขวาง  โดยมีกรอบในการให้บริการวิชาการ  ดังนี้

     1) โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้เด็ก เยาวชนและชุมชน เป็นโครงการที่ให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมความสามารถของครู นักเรียนในระบบโรงเรียน  ให้สามารถพัฒนาผลการเรียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานระดับต่าง ๆ   ซึ่งการให้บริการวิชาการดังกล่าวเป็นการสนองพระราชดำริ ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารด้วย   โดยโครงการในกลุ่มนี้ จะเน้นการศึกษาระดับปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น  

กลุ่มเป้าหมาย

โครงการพุ่งเป้า

 

ตัวชี้วัดเฉพาะ

 

  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  ในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22  จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
  • รร.ตชด.ศ.ดร.เนวิน
    สกริมชอร์ 
  • รร.ตชด.บ้านแก่ง
    ศรีโคตร 
  • รร.ตชด.ภูหญ้าคา
  • ศกร.ภูดานกอย
  • โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • โครงการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร
  • โครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี
  • โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
  • โรงเรียนที่ได้รับป้ายพระราชทานสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน
  • โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง/ระดับเพชร
  • โรงเรียนประถม/ขยายโอกาส
    รอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 24 แห่ง / โรงเรียนมัธยมในโครงการเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย
  • โรงเรียนเครือข่าย บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ร่วมกับ โครงการในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
  • โรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย
  • ชุมชน
  • สภาเด็กและเยาวชนในชุมชน

 

  • โรงเรียนเครือข่ายการส่งเสริมวิชาการด้านภาษาไทย / ภาษาต่างประเทศ
  • โรงเรียนเครือข่ายการส่งเสริมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์
  • ส่งเสริม พัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาไทยให้คล่อง
  • ส่งเสริม พัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์
  • ส่งเสริม พัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ (STEM)
  • ส่งเสริม พัฒนาการสอนโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ
  • ส่งเสริม พัฒนาทักษะการใช้ภาษาที่สอง
  • พัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่ศตวรรษที่ 21
  • การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ได้มาตรฐานระดับชาติ
  • การยกระดับหรือส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • การใช้คอมพิวเตอร์
  • จำนวนโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เมื่อร่วมโครงการกับมหาวิทยาลัยแล้ว 3 ปี
  • จำนวนนักเรียนที่อ่าน เขียนภาษาไทยคล่อง
  • จำนวนโรงเรียนที่ได้รับตรา
    พระทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • จำนวนโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนที่ร่วมโครงการ

 

 

     2) โครงการพัฒนาความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน / กลุ่มวิชาชีพ /เศรษฐกิจฐานราก ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ในด้านการประกอบอาชีพทั้งในระดับครัวเรือน  ชุมชน  กลุ่มวิสาหกิจ  กลุ่มเกษตรกร  ผู้ประกอบการ SMEs OTOP ตลอดจนภาคธุรกิจ เอกชนหรือภาคอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้เพิ่มหรือลดรายจ่ายในครัวเรือน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ  การพัฒนาผลิตภาพการผลิต

กลุ่มเป้าหมาย

โครงการพุ่งเป้า

 

ตัวชี้วัดเฉพาะ

 

  • เกษตรกร ประชาชนเป้าหมายบ้าน
    ศรีไคออก ต.เมืองศรีไค
    อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
  • เกษตรกร ประชาชนเป้าหมายบ้านหนองบัว ต.ขามใหญ่
    อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
  • เกษตรกร ประชาชนเป้าหมาย
    จ.ศรีสะเกษ

 

  • การอบรมเพื่อสร้างอาชีพเสริมหลังนา เช่น การปลูกผัก การเลี้ยงจิ้งหรีด การเลี้ยงปลา
  • การอบรมช่าง
  • การอบรมสร้างอาชีพเสริม หลักสูตรระยะสั้น เช่น การทำพวงหรีด การทำของที่ระลึก การทำดอกไม้จัน ทำเทียน หัตถกรรม ฯลฯ
  • การอบรมพัฒนาอาชีพหลัก ในกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ เช่น การเลี้ยงโค  การเลี้ยงแพะ การเพาะเห็ด
  • รายได้ที่เพิ่มขึ้น / ลดลง หลังจากร่วมโครงการ
  • กลุ่มเครือข่ายเกษตรกร วิสากิจชุมชน ผู้ประกอบการ บริษัท ห้างร้าน  ภาคอุตสาหกรรม
  • การเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การบริหารองค์กร  การเพิ่มผลิตภาพการผลิต
  • การพัฒนาภาพลักษณ์  การออกแบบ  การตลาด
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์  การแปรรูปผลผลิต
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
  • จำนวนกลุ่มที่ได้รับการพัฒนาและสามารถเพิ่มผลิตภาพการผลิตได้หลังจากร่วมโครงการ
  • จำนวนผลิตภัณฑ์/ผลผลิต ที่ได้รับการพัฒนาหรือแปรรูปและสามารถนำออกสู่ตลาดได้ / ได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • กลุ่มนักศึกษาที่รอจบหรือจบการศึกษาใหม่
  • ผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ
  • การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร  อุตสาหกรรมดิจิตอล
  • จำนวนผู้ประกอบการรายใหม่

 

  • กลุ่มองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ
  • การอบรมเพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญ ของบุคคลกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ
  • จำนวนผู้ร่วมโครงการที่ได้รับการรับรอง/ผ่านมาตรฐานวิชาชีพ

 

            ประเด็นการดำเนินงานของโครงการบูรณาการความรู้สู่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ที่ต่อเนื่องจากปี 2560 – 2562

  1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชและสัตว์ปลอดภัยในพื้นที่เป้าหมายโดยใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดอบรม สาธิต และพาปฏิบัติ รวมถึงพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพชุมชนด้าน การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ปลอดภัย เลี้ยงสัตว์ หรือการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างรายได้โดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่
  2. เป็นการผลิตพืชและสัตว์ปลอดภัยที่เป็นเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ได้แก่ งา มะเขือเทศ พริก และจิ้งหรีด และพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การกำหนดมาตรฐานสินค้า และส่งเสริมช่องทางตลาดเพื่อสร้างรายได้ ในลักษณะ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ   

พืชและสัตว์เป้าหมาย     งา มะเขือเทศ พริก และจิ้งหรีด
พื้นที่เป้าหมาย    เป็นพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษขอบเขต          1. การผลิตในรูปแบบเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์
                        2. การตรวจวิเคราะห์เพื่อรับรองมาตรฐาน
                        3. การสกัดสารและวิเคราะห์องค์ประกอบและการทดสอบฤทธิ์ของสาร                                              4. การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่า
                        5. การออกแบบผลิตภัณฑ์
                        6. การเพิ่มช่องทางตลาด
3. การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและระบบการผลิตในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ(Smart farm) เป็นโครงการที่นำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เช่นเทคโนโลยีการเกษตร คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตหรือสร้างระบบควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบน้ำ อุปกรณ์ เครื่องมือในการเก็บเกี่ยว การผลิต การพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น
4. การจัดการชุมชนให้มีระบบกลุ่มที่เข้มแข็งเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานโดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ชุมชนและลดหนี้สินส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในการสร้างอาชีพและส่งเสริมการทำงานระบบกลุ่ม การส่งให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุนการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินทำกิน การรวมกลุ่มเพื่อลงทุนและผลิตผลผลิตการเกษตร ตลอดจนการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการขายผลผลิต ส่งเสริมการดำรงชีวิตในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทำบัญชีเกษตรกรเพื่อลดรายจ่ายและหนี้สิน สร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบการมีส่วนร่วมต่อองค์กรหรือกลุ่มให้มากขึ้น
5. การสร้างมูลค่า และสร้างอาชีพจากศิลปวัฒนธรรม และหัตถกรรมชุมชนการส่งเสริมให้สร้างมูลค่า และรายได้จากงานศิลปะ วัฒนธรรม หรือหัตถกรรมชุมชน เช่น ผ้าไทย เครื่องจักรสาน สินค้า OTOP

     3) โครงการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชน / ชุมชน      ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู  การให้คำปรึกษาแนะนำด้านยาและสมุนไพร  เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ การเฝ้าระวังป้องกันโรคและภัยสุขภาพ  

ขอบเขตการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

โครงการมุ่งเป้า

ตัวชี้วัดเฉพาะ

สุขภาพอนามัย

  • กลุ่มแม่และเด็กเล็ก
  • การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
  • การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
  • คุณแม่วัยใส
  • จำนวนเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย

 

  • กลุ่มเด็ก เยาวชน
  • การสร้างความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

 

 

  • กลุ่มสูงอายุ
  • การดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ
  • จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแล

 

  • กลุ่มอาสาสมัคร ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน
  • การพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน

 

 

  • ประชาชนทั่วไป
  • การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสข
  • จำนวนประชาชนที่มีสุขภาพดีตามเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

       4) โครงการบริการวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ขอบเขตการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

โครงการมุ่งเป้า

ตัวชี้วัดเฉพาะ

สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

  • ประชาชนทั่วไป
  • การจัดการขยะในชุมชน
  • การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
  • น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค
  • การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  • การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
  • การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก
  • การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • การเฝ้าระวังภัยพิบัติจากธรรมชาติ
  • ปริมาณขยะที่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี/การนำกลับมาใช้ใหม่
  • จำนวนชุมชนที่มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามหลักวิชาการ

 


     5) จัดการศึกษาผ่านหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ตามความต้องการของผู้รับบริการโดยมีค่าลงทะเบียนในการฝึกอบรมและได้รับประกาศนียบัตร เช่น อบรมทักษะอาชีพระยะสั้น อบรมด้านภาษา อบรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

    6) การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานบริการวิชาการแก่ชุมชน เช่น ระบบฐานข้อมูลชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจ การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เป็นต้น