ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ระเบียบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา

การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน ๕ รูปแบบ ในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Thai university Central Admission System) ดังต่อไปนี้

                            รูปแบบที่ ๑ การรับตรงรอบ Portfolioการคัดเลือกโดยวิธีรับตรงโดยเน้นความสามารถที่โดดเด่น และพิจารณาจากผลงาน  คุณสมบัติพิเศษ  ดังต่อไปนี้

                            ๑.๑ การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษารอบ Portfolio  โดยการคัดเลือกนักเรียนกลุ่มต่างๆ ดังนี้ (๑) กลุ่มคัดเลือกจากนักเรียนที่มีภูมิลำเนาหรือเรียนอยู่ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ๒๐ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร นครพนม สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย และบึงกาฬ (๒) กลุ่มคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และอัตลักษณ์ของคณะ มหาวิทยาลัย และประเทศ จากบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษด้านวิชาการและ/หรือวิชาชีพ(๓) กลุ่มความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ในการผลิตบัณฑิตในคณะ/หลักสูตรต่างๆ ได้แก่ โควตาผลิตบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด แผนการฝึกงานด้านการจัดการธุรกิจปลีก ตามความร่วมมือสนับสนุนทุนการศึกษากับบริษัท CPALL จำกัด โควตาทุนชายแดนภาคใต้  (๔) กลุ่มนักศึกษาต่างชาติ หมายถึง การเปิดรับนักศึกษาต่างชาติที่สนใจจะเข้าศึกษาในคณะหลักสูตรต่างๆ โดยดำเนินการรับโดยวิธีรับตรงและรับผ่านความร่วมมือระหว่างคณะ/หลักสูตร กับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ ของจำนวนรับตามแผนการผลิตบัณฑิตประจำปี และ (๕) กลุ่มคัดเลือกตามนโยบายที่มหาวิทยาลัยกำหนด

๑.๒ โควตาโครงการส่งเสริมการสร้างทัศนคติและแรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยการคัดเลือกนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจากการเข้าร่วมโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่อในคณะ/หลักสูตรที่มีความถนัดและสนใจจะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

                            รูปแบบที่ ๒ การรับตรงรอบโควตา (Quota)การคัดเลือกโดยวิธีรับตรงโดยเน้นคนในพื้นที่ ผู้มีคุณสมบัติเฉพาะ เครือข่ายความร่วมมือ และการขยายโอกาสทางการศึกษา ดังต่อไปนี้

                            ๒.๑ การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษารอบโควตา เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการขยายโอกาสทางการศึกษาสำหรับผู้สนใจทั่วไป ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้คะแนนสอบส่วนกลางหรือตามองค์ประกอบการคัดเลือกที่คณะ/หลักสูตรกำหนด ได้แก่ การรับตรงทั่วไป โครงการพิเศษ และโควตาขยายโอกาส ทางการศึกษา

                            ๒.๒ โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข 

                             รูปแบบที่ ๓ การรับตรงร่วมกัน (Admission ๑)  การคัดเลือกโดยวิธีรับผ่านส่วนกลางตามความร่วมมือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาเพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาสำหรับผู้สนใจทั่วไป ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในส่วนภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศโดยใช้คะแนนสอบส่วนกลางหรือตามองค์ประกอบการคัดเลือกที่คณะ/หลักสูตรกำหนด  

                            รูปแบบที่ ๔ การรับผ่านส่วนกลาง (Admission ๒)การคัดเลือกโดยวิธีรับผ่านส่วนกลางตามความร่วมมือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยใช้องค์ประกอบในการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยกำหนดร่วมกัน 

                            รูปแบบที่ ๕ การรับตรงอิสระ (Direct Admission)การคัดเลือกโดยวิธีรับตรงอิสระโดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการใช้องค์ประกอบในการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่คณะ/หลักสูตรกำหนด              

                        ข้อ ๒ วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา

                                คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ กำหนดคุณสมบัติ องค์ประกอบ เกณฑ์ตัดสินคัดเลือกและวิธีการในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาของแต่ละคณะ/หลักสูตร โดยพิจารณาจากรายละเอียดดังนี้

                               ๒.๑ คุณสมบัติของผู้สมัครประกอบด้วยคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะของ แต่ละรอบการคัดเลือก

                               ๒.๒ องค์ประกอบที่ใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือก

                                ๒.๒.๑ วิธีรับรูปแบบที่ ๑ การรับตรงรอบ Portfolio รูปแบบที่ ๒ การรับตรง

รอบโควตา  รูปแบบที่ ๓ การรับตรงร่วมกัน(Admission ๑)  และรูปแบบที่ ๕ การรับตรงอิสระ (Direct Admission)องค์ประกอบการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่คณะ/หลักสูตรกำหนด โดยเลือกจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

                        ๒.๒.๑ คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสม  (GPAX) คะแนนผลการเรียนเฉลี่ย

กลุ่มสาระ (GPA)

                                       ๒.๒.๒ คะแนนทดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT)   

                                       ๒.๒.๓ คะแนนทดสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional Aptitude Test)

                                       ๒.๒.๔ คะแนนทดสอบวิชาสามัญ  ๙ วิชา 

                                       ๒.๒.๕ ผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net)

                                       ๒.๒.๖ ผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติทางด้านอาชีวศึกษา (V-NET) 

                                       ๒.๒.๗ ผลการประเมินวัดระดับความรู้ความสามารถทางวิชาการและผลการประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงงาน/การประกวดแข่งขัน/อื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกำหนด               

                                       ๒.๒.๘ ผลการทดสอบวิชาเฉพาะ ของสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) 

                         ๒.๒.๙ เอกสารประกอบการพิจารณาเฉพาะโควตา

                         ๒.๒.๑๐ ผลการสอบสัมภาษณ์

                      ทั้งนี้ ให้คณะ/หลักสูตร กำหนดค่าน้ำหนัก/ค่าคะแนนขององค์ประกอบที่ใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกที่ใช้ในการพิจารณา

                                ๒.๓ วิธีรับรูปแบบที่ ๔ รับผ่านส่วนกลาง (Admission ๒)เป็นไปตามที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กำหนด ดังนี้ GPAX O-NET(๖ กลุ่มสาระ) คะแนนทดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) คะแนนทดสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional Aptitude Test หรือ PAT)